บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
13 กันยายน 2566
กะทิชาวเกาะเกือบเจ๊ง! พลิกวิกฤติสร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท
 

“กะทิชาวเกาะ” จากร้านขายมะพร้าวลูกในตลาด กลายเป็นบริษัทกะทิ 10,000 ล้านบาท ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ผ่านวิกฤตมามากมาย ทั้งขาดทุน ตลาดไม่เปิดรับ ด้วยความที่ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้ของครอบครัว “เทพผดุงพร” จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว และ อำพลฟูดส์ ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเมืองไทย 
 
จุดเริ่มต้น กะทิชาวเกาะ 
 

ภาพจาก https://citly.me/Z3FXa

ย้อนกลับไปเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว คุณจรีพร และ คุณอำพล เทพผดุงพร 2 สามีภรรยา เปิดร้านมะพร้าวลูกในห้องแถวเล็กๆ 2 คูหา แยกมหานาค ริมคลองผดุงกรุงเกษม กิจการรุ่งเรืองอย่างมาก ไม่มีคู่แข่ง หลังจากนั้นย้ายร้านไปริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตลาดท่าเตียน ใช้ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมมะพร้าว” เพราะการขนส่งทางเรือสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย 
 
กิจการค้าขายมะพร้าวลูกของคุณจรีพรและคุณอำพลในช่วงนั้น ถือว่ารุ่งเรืองเอามากๆ มีเงินเก็บ ถึงขั้นส่งลูกทั้ง 5 คนไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะพวกเธออยากเห็นลูกๆ ของตัวเองได้รับการศึกษาที่ดีกว่าพวกเธอที่จบเพียงแค่ชั้น ป.4 
 
เมื่อลูกชายเรียนจบจากต่างประเทศ ได้แนะนำให้คุณจรีพรและคุณอำพล เปลี่ยนจากการขายมะพร้าวลูก มาผลิตกะทิสำเร็จรูปแบบพาสเจอร์ไรส์แทน ตอนนั้นคุณจรีพรเชื่อมั่นในตัวลูกชาย จึงยอมเปลี่ยนทั้งที่ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า

ภาพจาก https://citly.me/9yKO2
 
ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ขึ้นในปี 2519 ที่ จ.นครปฐม ผลิตกะทิสำเร็จรูป ปรากฏว่าขาดทุน เพราะคนไทยไม่ตอบรับกะทิสำเร็จรูป ชอบกะทิคั้นสดๆ แต่คุณจรีพรและคุณอำพล ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้ แม้จะเหนื่อยจนแทบจะไม่อยากไปต่อ แต่พยามลุกขึ้นสู้ต่อ ตอนที่ขายไม่ได้ คุณจรีพรเอาไปฝากให้แม่ค้าตามร้านต่างๆ ขาย ไปอ้อนวอนให้ช่วยซื้อหน่อย เขาก็บอกไม่เอา คุณจรีพรไม่ลดความพยายามขอให้แม่ค้าช่วย บอกแม่ค้าขายได้ก็เก็บเงิน ขายไม่ได้ไม่เอาเงิน 
 
ประกอบกับตอนนั้นให้ทดลองใช้ฟรี คุณจรีพรและครอบครัวใช้เวลากว่า 3 ปี กะทิชาวเกาะจึงได้รับการยอมรับ และพัฒนาสินค้าออกเป็นกะทิกระป๋อง และกะทิผง จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว มีรายได้ 8 พันกว่าล้านบาท 
 
กะทิปัง ผลไม้กระป๋องไม่ปัง
 
ภาพจาก www.tcc-chaokoh.com

ชื่อ “กะทิชาวเกาะ” มาจากเกาะสมุยที่ปลูกมะพร้อมมากสุด เดิมจะใช้ชื่อแบรนด์ “สมุย” แต่ไม่สามารถตั้งได้เพราะเป็นชื่อเกาะ แม้ว่ากะทิชาวเกาะจะประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ แต่มีสินค้าหลายตัวที่บริษัทฯ ผลิตขึ้นและเปิดตัวในตลาดไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น น้ำส้มสายชู พัฒนาขึ้นจากน้ำส้มหมักกับมะพร้าว แต่ผู้บริโภคหันไปใช้น้ำส้มกลั่น แม้แต่ผลไม้กระป๋อง เงาะ ลำไย ก็ขายไม่ได้ สู้คู่แข่งไม่ได้เพราะเขาปลูกผลไม้เอง
 
ต่อมาตลาดต่างประเทศมีความต้องการผักผลไม้สด บริษัทฯ จึงได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมา คือ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ขึ้นในปี 2531 รองรับการผลิตผัก ผลไม้สดแช่แข็งส่งออกต่างประเทศ โดยในเวลานั้นทั้ง 2 บริษัททำการผลิตผลไม้ผักแช่แข็งส่งออกไปพร้อมๆ กัน รวมถึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงและประกอบอาหารส่งออกมากมาย ครอบคลุมลูกค้ากว่า 36 ประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เอเชีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น
 

ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/
 
ปี 2536 หลังตั้งโรงงานอำพลฟูดส์ได้ไม่นาน ตลาดต่างประเทศเริ่มลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากอำพลฟูดส์ อ้างว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ เพียงเพราะต้องการนำเข้าสินค้าจากจีนเพราะราคาถูก ทางบริษัทฯ จึงต้องปรับตัว หันมาทำตลาดในประเทศอย่างจริงจัง เพราะช่วงนั้นคนไทยเริ่มเปิดรับกะทิสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้บริษัทฯ มั่นใจในการทำตลาดเมืองไทย 
 
โดยในปี 2538 เริ่มออกผลิตภัณฑ์กะทิชาวเกาะสำเร็จรูป UHT สู่ตลาด เพราะผู้บริโภคต้องการความสดใหม่ ใช้สะดวก เก็บไว้ได้นาน ในช่วงปี 2540-2541 กะทิสำเร็จรูปขายดีเป็นอย่างมาก ทุกครอบครัว รวมถึงร้านอาหารกล้าที่จะใช้อย่างเปิดเผย บริษัทฯ จึงเดินหน้าทำการตลาดกะทิสำเร็จรูปอย่างจริงจังในไทยจนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังแตกไลน์ไปสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำแกงพร้อมปรุง เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
 

ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/
 
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในเครือเทพผดุงและอำพลฟูดส์มีมากมาย อาทิ กะทิ ตราชาวเกาะ, รอยไทย, เครื่องดื่มธัญญาหาร ตราวี-ฟิท, โปร-ฟิท, เครื่องปรุงอาหาร ตรารอยไทย, แม่พลอย, เครื่องปรุงรส ตรากู๊ดไรฟ์, แม่พลอย, น้ำมันมะพร้าวและขนมมะพร้าว ตราชาวเกาะ, คิงไอแลนด์ และ ผลไม้กระป๋อง ตราชาวเกาะ, ยอดดอย, ทีซีซี 
 
รายได้เจ้าของแบรนด์ กะทิชาวเกาะ
 
ภาพจาก www.facebook.com/CHAOKOH.TH/ 

บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (ผลิตเครื่องปรุงอาหารและประกอบอาหาร)
  • ปี 63 รายได้ 6,283 ล้านบาท กำไร 94.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 7,195 ล้านบาท กำไร 891 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 8,067 ล้านบาท กำไร 1,443 ล้านบาท
บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด (ผลิตกะทิคั้น เครื่องดื่มธัญพืช บรรจุกล่อง UHT)

 
ภาพจาก https://citly.me/Mjgfu
  • ปี 63 รายได้ 3,574 ล้านบาท กำไร 82 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 3,953 ล้านบาท กำไร 145 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 3,442 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่ารายได้บริษัทเจ้าของแบรนด์ “กะทิชาวเกาะ” ในปี 2565 หลักพันล้านบาท ถ้านำรายได้ทั้ง 2 บริษัทรวมกันเฉพาะปี 2565 จะมีรายได้กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท กำไรมากกว่า 1.5 พันล้านบาท 
 
สิ่งที่ทำให้แบรนด์กะทิชาวเกาะประสบความสำเร็จในวันนี้ มาจากความขยัน อดทน มุมานะ ไม่ย้อมแพ้ ของคุณจรีพรและคุณอำพลในการค้าขาย ก่อนส่งไม้ต่อให้ทายาทรุ่น 2 และ 3  พัฒนาสินค้าใหม่ๆ รักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ราคาสินค้ายุติธรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าอย่างยาวนาน จึงทำให้ลูกค้าช่วยบอกปากต่อกันต่อ
 
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/seminar/franchise_course.php 
 
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/trademark/ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิง

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
344
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
328
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด