30K
13 พฤศจิกายน 2552

Thailand Franchise Quality Award 2009 โครงการมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์

รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้ดำเนินการในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 30 ปีมาแล้ว (เริ่มจากปี 2522) และถือว่าเป็นรูปแบบธุรกิจที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค  ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งผู้ให้การอนุญาตหรือแฟรนไชส์ซอร์สามารถขยายธุรกิจของตนได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้รับการอนุญาตหรือแฟรนไชส์ซี ก็ได้ประโยชน์จากการมีรูปแบบธุรกิจที่ได้รับพัฒนา และพิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว

รวมทั้งได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคเชิงระบบและทักษะทางธุรกิจจากแฟรนไชส์ซอร์  ทำให้สามารถเข้าสู่ตลาดกระจายสินค้าและให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นรูปแบบธุรกิจที่ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต่างมีความสัพพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในเชิงระบบปฏิบัติการ  ทางธุรกิจ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกื้อหนุนกันภายใต้กระบวนการทางธุรกิจเดียวกัน

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่เป็นของคนไทยจริงๆ นั้น  เริ่มเกิดขึ้นในระยะหลังๆ โดยมีการนำกลยุทธ์ในการขยายสาขาแบบแฟรนไชส์มาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ของคนไทยจำนวนไม่น้อยกว่า 408 กิจการ คลอบคลุมหลากหลายกว่า 11 ประเภทธุรกิจ  โดยมีสาขารวมกันทั้งสิ้นกว่า 21,500 สาขา มีมูลค่าทางการตลาดรวมกันกว่า 77,097 ล้านบาท  

แม้ว่าธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะเป็นที่รู้จักและคุ้นหูมานาน  แต่ความเข้าใจของคนทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจดังกล่าวถือว่ายังน้อย    ในส่วนของผู้ประกอบการเองที่สนใจจะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ก็ยังขาดความชัดเจนในรายละเอียด  และไม่มั่นใจว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและบริการจากธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว  จึงได้ทำการศึกษาข้อมูลในเชิงลึก และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ขึ้น รวมถึงการจัดทำเครื่องหมายตรามาตรฐานแฟรนไชส์ พร้อมการจัดพิธีมอบรางวัลมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นขึ้นด้วย

ทั้งนี้ได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ตามแนวทางเกณฑ์การตัดสินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) สำหรับใช้สร้างกลไกการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้การพัฒนาในภาคธุรกิจแฟรนไชส์ถูกทิศทางและชัดเจน รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน หรือเป็นช่องทางให้มีการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ที่จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและความน่าเชื่อถือของธุรกิจแฟรนไชส์

ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สู่ความเป็นมาตรฐานด้านการจัดการระบบแฟรนไชส์และผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยให้สามารถแข่งขันได้กับธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศอย่างมีทิศทาง และถูกต้องต่อเนื่องต่อไป


ความเป็นมาโครงการมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นถือว่าเป็นรูปแบบทางธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ  ที่ช่วยให้สามารถขยายธุรกิจและช่องทางในการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพสูงรูปแบบหนึ่ง  ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้อง (เช่น  ผู้ประกอบการ  ผู้บริโภค  รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น) และเกิดการรับรู้ที่ดีถึงความสามารถขององค์กรที่ส่งมอบสินค้าและบริการที่มี “คุณภาพ”

รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยนับว่ามีความลงตัวกับรูปแบบ และวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเป็นอย่างดี  การที่จะสร้างองค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความเข้มแข็ง จำเป็นต้องได้รับการพัฒนามาตรฐานระบบปฏิบัติการและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสามารถในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กรเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อลูกค้าในด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการอยู่เสมอ ซึ่งจะสามารถผลักดันให้องค์กรเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน

แนวคิดและองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาด้าน “คุณภาพ” นั้นได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ  เริ่มตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) การบริหารจัดการคุณภาพ (Quality Management System)  ซึ่งวิธีการและกระบวนจัดการทางคุณภาพจะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า และสภาวะการแข่งขันจนเข้าสู่ยุคการบริการจัดการองค์กรที่เป็นมาตรฐาน โดยมีพื้นฐานแนวคิดทางเทคนิคและกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ตามแนวทางมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (The Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA) ซึ่งแนวคิดและกระบวนการดังกล่าวได้รับการยอมรับและนำไปใช้กว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย คือ มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานอันทรงเกียรติ เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการทุกด้านและการมีผลการประกอบการที่ดี

เกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากลนี้  ได้รับการพัฒนาและจัดทำขึ้นเพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้ปฏิบัติในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจผู้ประกอบการของไทย โดยมีค่านิยมและกรอบแนวคิดต่างๆ ที่ “มุ่งเน้นผลลัพธ์ ไม่ใช่เน้นที่วิธีการ” ตามแนวทางของเกณฑ์การตัดสินมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ ได้แก่ การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์  ความเป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นที่ลุกค้า  การเรียนรู้ขององค์กร  การให้ความสำคัญกับพนักงานและลูกค้า  ความคล่องตัวและการมุ่งเน้นที่อนาคต  การจัดการเพื่อนวัตกรรม การจัดการโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง ความรับผิดชอบต่อสังคม การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์  การสร้างคุณค่าและมุมมองในเชิงระบบ  ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละประเภท และแต่ละขนาดสามารถพัฒนากระบวนการและวิธีการปฏิบัติงาน เฉพาะตามแต่ละสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจของตน ซึ่งสามารถพัฒนาขีดความสามารถในเชิงการจัดการเทียบเท่ากับองค์กรที่ยอมรับกันว่ามีคุณภาพในระดับสากล


วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์

วิสัยทัศน์ :

“มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ เป็นมาตรฐานอันทรงเกียรติ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเป็นมาตรฐาน ในการบริหารจัดการที่ถูกต้องขององค์กรแฟรนไชส์ และมีระดับความ สามารถในด้านธุรกิจทัดเทียมระดับมาตรฐานสากล”

วัตถุประสงค์ :

  1. สนับสนุนการนำแนวทางมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ไปใช้ในการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน
  2. แสดงถึงการยอมรับระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ให้กับองค์กรแฟรนไชส์ที่มีการจัดการระดับมาตรฐานสากล
  3. กระตุ้นให้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามกระบวนการในวงการธุรกิจแฟรนไชส์
  4. แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานในการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์


ประโยชน์ต่อองค์กรแฟรนไชส์ซอร์

องค์กรแฟรนไชส์ซอร์ ทุกประเภท ทุกขนาด ที่นำเกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐานสากลไปเปรียบเทียบกับระบบบริหารจัดการของตน จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอน เริ่มจากการตรวจประเมินตนเอง ผู้บริหารจะทราบถึงสภาพที่แท้จริงว่าระบบการบริหารจัดการของตนยังขาดตกบกพร่องในเรื่องใด จึงสามารถกำหนดวิธีการและเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 

และเมื่อองค์กรปฏิบัติตามแผนจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความพร้อมและตัดสินใจสมัครรับการประเมินมาตรฐาน องค์กรจะได้รับการตรวจประเมินด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาอาชีพ ที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินโดยเฉพาะ และไม่ว่าองค์กรจะผ่านเกณฑ์และได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์หรือไม่ก็ตาม องค์กรจะได้รับรายงานป้อนกลับซึ่งระบุจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อการนำไปวางแผนปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป 

องค์กรที่ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จะเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ และมีสิทธิ์ใช้ตราสัญลักษณ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ซึ่งสื่อถึงความมีมาตรฐานสากลในระบบบริหารจัดการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร  รวมทั้งมีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในต่างประเทศ โดยการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จและเปิดโอกาสให้มีการเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ เพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

 

ตราสัญลักษณ์ : เครื่องหมายถูกสีทอง ตั้งอยู่บนรูปอาคารขนาด เล็ก กลาง  และใหญ่

ความหมาย : มาตรฐานแฟรนไชส์ เป็นมาตรฐานอันทรงเกียรติ ที่พึงปรารถนาของทุกองค์กรแฟรนไชส์ เพราะเป็นเครื่องหมายแห่ง  ความเป็นมาตรฐานในด้านธุรกิจแฟรนไชส์  ทั้งในด้านการบริหารจัดการ และการบริการ รวมไปถึงทุกองค์ประกอบของการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

องค์ประกอบ : เครื่องหมายถูก สื่อถึงความถูกต้อง การเป็นมาตรฐาน การเป็นที่ยอมรับทั่วไป อันเป็นที่พึงปรารถนาของทุกองค์กร อาคาร ที่มีขนาดแตกต่างกัน สื่อถึงกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีขนาด เล็ก กลาง และใหญ่  ซึ่งอยู่ภายใต้ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

 
 

 สรุปรายชื่อผู้ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐาน (แบบ Logo)

 
94 Coffee 
 Beauty Buffet 
 Billion Coffee
       
   
Daddy Dough
 
Dairy Farm
       
     
Dr.Orawan Holistic Institute 1988 
 
       
   
G.M. Tour & Travel
Giffarine 
Gourmet Delight 
       
   
Kristie France
 
LDC Dental 
 
       
 
Moly Care
     
Princess Beauty
       
     
Spicchio   
 
The Coffee Maker
       
   
To-Sit
   
Union Plus
       
เจียงลูกชิ้นปลา
       
โรงเรียนสปามรดกไทย
 




สรุปรายชื่อผู้ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐาน
(แบบ List)

1.  94 Coffee
2.  Beauty Buffet 
3.  Billion Coffee  
4. 
Chester Grill  
5. 
Clay Works  
6. 
Coca Restaurant
7.  Daddy Dough                                           
8.  Dairy Farm 
9. 
DD Mart 
10.
Double A 
11. Dr.Orawan Holistic Institute 1988 
12.
EZ's International Franchise 
13.
Fascino  
14. G.M. Tour & Travel  
15. Giffarine  
16. Gourmet Delight 
17.
Hot Spa 
18. Kristie France  
19. LDC Dental 
20.
Mobile Steak   

21.  Moly Care
22. 
Neo Suki
23. 
PD House
24.  Princess Beauty 
25. 
Smart Brain  
26. 
Smart English 
27.  Spicchio
28.  The Coffee Maker
29. 
The Pizza Company
30.  To-Sit
31. 
True Coffee
32.  Union Plus
33. 
Win-Sent Center Service
34. 
Wizard 
35.  เจียงลูกชิ้นปลา
36. 
โชคดีติ่มซำ 
37. 
บ้านไร่กาแฟ
38.  โรงเรียนสปามรดกไทย
39.  
สิเรียม บิวตี้ เซ็นเตอร์


เผยโฉม 26 พฤศจิกายน 2552 นี้  ในงานมอบรางวัล “Thailand Franchise Quality Award 2009”
รางวัลมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ประจำปี 2552   มีจำนวนทั้งสิ้น 8 มาตรฐาน  และมาตรฐานพิเศษ 1 มาตรฐาน มีรายละเอียดดังนี้


มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์  (8 มาตรฐาน)

  1. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมประจำปี 2552
    (The Best Franchise of The Year Award 2009) ได้แก่
    The Pizza Company
     
  2. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านวิสัยทัศน์
    (Excellence Franchise Leadership Award) ได้แก่
    Coca Suki
     
  3. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านยุทธศาสตร์องค์กร
    (Excellence Franchise Strategic Management Award) ได้แก่ 
    Moly Care
     
  4. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านการสร้างสรรค์ลูกค้า
    (Excellence Franchise Customer & Marketing Focus Award) ได้แก่
    Win-sent Center Service
     
  5. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านการพัฒนาองค์ความรู้
    (Excellence Franchise Knowledge Management Award) ได้แก่ 
    G.M. Tour Travel 
     
  6. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านทรัพยากรบุคคล
    (Excellence Human Resources Management Award) ได้แก่
    โชคดีติ่มซำ
     
  7. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านการบริหารจัดการ
    (Excellence Franchise Process Management Award) ได้แก่
    True Coffee
     
  8. มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ดีเด่นด้านผลประกอบการ
    (Excellence Franchise Business Performance Award) ได้แก่ 
    Chester's Grill

มาตรฐานพิเศษสำหรับผู้สนับสนุนวงการแฟรนไชส์  (1 มาตรฐาน)

  1. มาตรฐานสื่อสร้างสรรค์ธุรกิจแฟรนไชส์  (Special Media Commendation Award)
    ได้แก่ 
    หนังสือพิมพ์ผู้จัดการราย 360 องศา รายสัปดาห์
เอกสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
(คลิกที่รูปภาพ ชมขนาดใหญ่)
 
      

      
 

 
อ่านต่อ
ข่าวคราวและความเคลื่อนไหวงานมอบตราสัญลักษณ์แก่ผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์

อ่านข่าวอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์  www.thaifranchisecenter.com/info/
 

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ © ของThaiFranchiseCenter.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,082
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
3,307
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,842
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,357
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
970
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
916
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด