ปี 2563 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2563 : 4 งาน (ในประเทศ 4 งาน)

ว่ากันว่า ในปี 2563 จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่มีความยากลำบาก เพราะเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนประเทศ 3 เครื่อง ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชน การบริโภคภายใน และการส่งออก ไม่ทำงาน เหลือเพียงการลงทุนภาครัฐที่พอจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งเรื่องของภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรที่สำคัญตกต่ำ ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่แน่นอนทางการเมือง การทำมาหากินในปี 2562 จึงต้องระมัดระวังและรอบคอบเป็นพิเศษ

ปี 2562 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2562 : 11 งาน (ในประเทศ 11 งาน)

ว่ากันว่า ในปี 2562 จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่มีความยากลำบาก เพราะเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนประเทศ 3 เครื่อง ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชน การบริโภคภายใน และการส่งออก ไม่ทำงาน เหลือเพียงการลงทุนภาครัฐที่พอจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งเรื่องของภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรที่สำคัญตกต่ำ ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่แน่นอนทางการเมือง การทำมาหากินในปี 2561 จึงต้องระมัดระวังและรอบคอบเป็นพิเศษ

ปี 2561 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2561 : 22 งาน (ในประเทศ 22 งาน)

ว่ากันว่า ในปี 2561 จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่มีความยากลำบาก เพราะเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนประเทศ 3 เครื่อง ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชน การบริโภคภายใน และการส่งออก ไม่ทำงาน เหลือเพียงการลงทุนภาครัฐที่พอจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งเรื่องของภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรที่สำคัญตกต่ำ ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่แน่นอนทางการเมือง การทำมาหากินในปี 2560 จึงต้องระมัดระวังและรอบคอบเป็นพิเศษ

ปี 2560 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2560 : 23 งาน (ในประเทศ 21 งาน, ต่างประเทศ 2 งาน)

ว่ากันว่า ในปี 2560 จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่มีความยากลำบาก เพราะเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนประเทศ 3 เครื่อง ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชน การบริโภคภายใน และการส่งออก ไม่ทำงาน เหลือเพียงการลงทุนภาครัฐที่พอจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งเรื่องของภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรที่สำคัญตกต่ำ ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่แน่นอนทางการเมือง การทำมาหากินในปี 2560 จึงต้องระมัดระวังและรอบคอบเป็นพิเศษ

ปี 2559 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2559 : 25 งาน (ในประเทศ 21 งาน, ต่างประเทศ 4 งาน)

ว่ากันว่า ในปี 2559 จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่มีความยากลำบาก เพราะเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนประเทศ 3 เครื่อง ได้แก่ การลงทุนจากภาคเอกชน การบริโภคภายใน และการส่งออก ไม่ทำงาน เหลือเพียงการลงทุนภาครัฐที่พอจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยลบทั้งเรื่องของภัยแล้ง ราคาพืชผลเกษตรที่สำคัญตกต่ำ ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่แน่นอนทางการเมือง การทำมาหากินในปี 2559 จึงต้องระมัดระวังและรอบคอบเป็นพิเศษ

ปี 2558 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2558 : 20 งาน (ในประเทศ 16 งาน, ต่างประเทศ 4 งาน)

เศรษฐกิจไทยกำลังจะเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน โดยครั้งนี้จะเป็นปัจจัยจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าเงิน รัสเซีย และน้ำมัน ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดี ธุรกิจเอสเอ็มอีและแฟรนไชส์ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.7 – 2.7) ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางทรงตัว และปลายปีนี้ ยังมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอีกด้วย

ปี 2557 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2557 : 19 งาน (ในประเทศ 13 งาน, ต่างประเทศ 6 งาน)

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 2557 ต้องบอกว่าเหนื่อยและหนักจริงๆ ๆ ตั้งแต่ค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปีที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์ ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างอเมริกา และยุโรปที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างมีสาระสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในการประมาณการเศรษฐกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทย ภัยธรรมชาติและโรคระบาด ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรม อีกทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่จะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด เรียกว่าลุ้นกันเหนื่อยทีเดียว สำหรับ SMEs ไทย

ปี 2556 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2556 : 14 งาน (ในประเทศ 9 งาน, ต่างประเทศ 5 งาน)

ปี 2556 ถือเป็นปีที่เข้าใกล้ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) เข้าไปทุกที หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความตื่นตัวอย่างมาก การสร้างงานสร้างอาชีพ ยังเป็นนโยบายหลักที่ภาครัฐให้ความสำคัญสม่ำเสมอ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4.0 – 5.0 แต่กระนั้น ธุรกิจ SMEs ยังคงกังวลกับผลกระทบค่าจ้าง 300 บาท โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (300 บาท) ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ ยังเป็นที่ต้องการสำหรับนักลงทุน ที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจแบบเร่งเด่วน และได้รับความนิยมเช่นเคย

ปี 2555 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2555 : 18 งาน (ในประเทศ 14 งาน, ต่างประเทศ 4 งาน)

ในปี 2555 ปีมะโรง หรือปีมังกร เป็นปีที่มีการวิเคราะห์จากนักลงทุนทั้งโลก ว่าอาจจะประสบปัญหาวิกฤตการเงินอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจกับประเทศในทวีปยุโรป เข้าสู่อเมริกา ลามมายังเอเชีย รวมทั้งยังมีการคาดการณ์กันว่า ตลาดหุ้นจะเกิดการผันผวน แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงเป็นปีทองแห่งการลงทุนในไทย เนื่องจาก ผ่านพ้นวิกฤตมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมาแล้ว ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ ยังคงเป็นการลงทุนแบบที่เรียกว่า "เนื้อหอม" อยู่ เพราะเป็นธุรกิจที่สร้างงาน สร้างอาชีพ และสามารถตั้งตัวได้รวมเร็วกว่า ธุรกิจ SMEs อื่นๆ ปี 2555 นี้ คาดว่าธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 20 และเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 มองว่าในช่วง 3 ปีหลังจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาและสร้างฐานแฟรนไชส์ของตนเองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในภาคการตลาด

ปี 2554 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2554 : 14 งาน (ในประเทศ 10 งาน, ต่างประเทศ 4 งาน)

ว่ากันว่า ปี 2554 เป็นปีแห่งการลงทุน หรือ ปีกระต่ายทอง ได้รับอานิสงค์หลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องของการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก สำหรับเม็ดเงินการลงทุนในภาคธุรกิจแฟรนไชส์ จากข้อมูลการประเมินมูลค่าตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยเพิ่มขึ้น จากการขยายตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีความเข้มแข็ง และมีผลประกอบการดีในช่วงสุดท้ายของปี ทำให้มูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 161,016 ล้านบาท รวมทั้งมีอัตราการออกจากตลาด หรือ การล้มเหลวของธุรกิจลดน้อยลง ผลสำรวจปี 2553 อยู่ที่ 12.79% เท่านั้น

ปี 2553 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2553 : 12 งาน (ในประเทศ 9 งาน, ต่างประเทศ 3 งาน)

ปี 2553 ถือได้ว่าเป็นปีที่มีการจัดแสดงงานธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ หลายงานที่สุดในประเทศไทย อาจจะเนื่องมาจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้นักลงทุนชะลอตัวไปพักหนึ่ง แต่พอกลับมาที ต้องบอกว่า ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก เพราะมีกระแสการลงทุนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ยังได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐมากขึ้น อาทิเช่น มีการจัดงาน DBD Expo 2010 มีความร่วมมือกันระหว่างสมาคมแฟรนไชส์ เพิ่มมากขึ้น ประชาชนแห่แหนเข้าชมงานจัดแสดงสินค้าเยอะขึ้น และที่สำคัญ ยังมีสถาบันการเงิน ให้การสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะ เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น

ปี 2552 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2552 : 9 งาน (ในประเทศ 7 งาน, ต่างประเทศ 2 งาน)

ปี 2552 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และปรับตัว หลายๆอย่างที่ผู้ประกอบการ SMEs และแฟรนไชส์ มีอยู่ จะต้องมีการปรับแผนการ และนโยบายการขยายสาขาให้รัดกุม และเข้มงวดมากขึ้น บางธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการตลาดออนไลน์ และการทำการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Social Media มากขึ้น แต่การจัดแสดงงานก็ยังคงเป็นเวทีที่สำคัญ และเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ขาย จะพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เจรจาธุรกิจการค้า กับผู้ซื้อ ได้โดยตรง และเป็นช่องทางที่เปิดกว้างให้กับนักลงทุน ในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อดำเนินงาน สร้างผลกำไรในลำดับต่อไป

ปี 2551 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2551 : 4 งาน (ในประเทศ 4 งาน)

ปี 2551 เป็นปีที่ต่อยอดความสำเร็จจากปี 2550 มีหลากหลายโครงการ และภาครัฐหันมาให้ความสนใจ ในธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์มากขึ้น กอปรกับมีนักลงทุน นำเม็ดเงินลงทุน กลับเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในประเทศ หลากหลายธุรกิจเริ่มเติบโต และมองหาช่องทางใหม่ๆในการขายตลาด และธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง ที่มีผู้ประกอบการ SMEs หลายๆราย ผันตัวเอง จากผู้ประกอบการ เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจอยู่รอด และหลายธุรกิจก็เจ๊งไม่เป็นท่า สิ่งที่คงเหลือไว้ คือเจ้าของธุรกิจตัวจริง เท่านั้น

ปี 2550 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2550 : 3 งาน (ในประเทศ 2 งาน, ต่างประเทศ 1 งาน)

ปี 2550 นับเป็นปีที่เพิ่งผ่านพ้น วิกฤษเศรษฐกิจมาไม่นานนัก หลายๆโครงการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่เพิ่งกลับเข้ามาลงทุนอีกระลอก ทำให้เป็นปีทองแห่งการแสวงหาโอกาสในการลงทุน และธุรกิจแฟรนไชส์ก็เป็นอีกรูปแบบธุรกิจหนึ่ง ที่มีผู้สนใจกระโจนเข้ามาทำธุรกิจมากขึ้น ก็ได้แต่หวังว่า งานแสดงสินค้าและบริการในภาคธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ และเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ เพิ่มมากขึ้น

ปี 2549 งานแสดงแฟรนไชส์ ปี 2549 : 1 งาน (ในประเทศ 1 งาน)

สถานการณ์แฟรนไชส์ปี 2549 ประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนทั้งสิ้น 456 กิจการ สัดส่วนของแฟรนไชส์ไทยมีถึง 375 กิจการ ส่วนการสำรวจธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศพบว่ามีประมาณ 81 ราย ปัจจุบันมีการดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 54 ราย และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาธุรกิจประมาณ 27 ราย ในภาพรวมของระบบธุรกิจแฟรนไชส์มีการเติบโตของมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจ แฟรนไชส์ทั้งประเทศประมาณ 83,000 ล้านบาท

 
ติดต่อฝ่าย *
ชื่อผู้ติดต่อ *
บริษัท/องค์กร/หน่วยงาน *
โทรศัพท์ *
โทรสาร
อีเมล์ *
ข้อความ
 
*