ดาวเด่นแฟรนไชส์    แฟรนไชส์ร้านอุปกรณ์ปลูกผัก รายได้งาม
11K
25 เมษายน 2558
แฟรนไชส์ร้านอุปกรณ์ปลูกผัก รายได้งาม


 
หลายปีที่ผ่านมา จะเห็นภาพการทำสวนในเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก นอกจากคนเมืองจะมีผักสดๆ ที่ดีต่อสุขภาพไว้รับประทานแล้ว หน่วยงานสำคัญของประเทศยังมองว่า เป็นการเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารด้วย คนที่สนใจทำเกษตรในเมือง มักมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์กันอยู่เสมอ และยังเป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์สำหรับปลูกผักในเมืองด้วย

เช่นเดียวกับชาวเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา 4 คน ที่ร่วมกันตั้งกลุ่ม Urban Cultivator ต่อมาได้เปิดร้านค้าอุปกรณ์ปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือน และได้ขายแฟรนไชส์ในนาม “Living Produce Aisle” ในเวลาต่อมา โดยมีร้านตั้งอยู่ที่ถนนแฮมิลตัน เมืองเยลทาวน์

เอริค สโลน ประธานของบริษัท Urban Cultivator บอกว่า ในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ยอดขายเติบโตถึง 4 เท่า ทำรายได้หลายล้านบาท โดย Urban Cultivator เป็นบริษัทที่แตกแขนงมาจากบริษัท BC Northern Lights ที่ชำนาญด้านปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และได้แชร์ความรู้และทรัพยากรในการทำงานกับ Urban Cultivator

รายได้หลักของ Urban Cultivator เป็นรายได้จากตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชุดแปลงปลูกผักขนาดกะทัดรัดสำหรับครัวเรือนขนาดเท่าอ่างล้างจาน ชุดอุปกรณ์ขนาดใหญ่สำหรับกิจการภัตตาคารที่จะมีระบบควบคุม แสงไฟ น้ำ และอากาศอัตโนมัติ รวมทั้งยังขายอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น หลอดไฟ ดินอัดก้อน เมล็ดพันธุ์ด้วย
 

ธุรกิจร้านแฟรนไชส์ของ Urban Cultivator ใช้เงินเริ่มต้นเพียง 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าสัปทานสิทธิ์ปีละ 2%  หากเทียบกับร้านกาแฟแล้วมีต้นทุนต่ำกว่ามาก
โดยโทนี วิลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์จาก Bouhton Law Associate วิเคราะห์ว่า แฟรนไชส์ของ Urban Cultivator ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับปลูกเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ด้วย

ทาร์เรน วอล์ฟ ดาวิน แมกเกรเกอร์ และ ไมเลส โอมานด์ ได้ร่วมกันก่อตั้งกิจการเมื่อปลายปี 2010 อีก 6 เดือนต่อมาได้ออกรายการทีวี และเป็นจุดเชื่อมโยงให้อาร์เลน ดิกกินสัน ให้งบประมาณ 400,000 บาท เพื่อทำการตลาดแลกกับการได้ถือหุ้น 20% ในบริษัท ปัจจุบันเขาดูแลงานด้านการสื่อสารของบริษัท

 หนึ่งในลูกค้าของ Urban Cultivator คือร้านอาหารชื่อดัง Pear Tree ซึ่งสก็อตต์ เจเกอร์ ผู้ถือหุ้นร่วม บอกว่า เขามีชุดปลูกขนาดใหญ่ตั้งไว้ในโรงรถ สามารถปลูกสมุนไพรเมืองหนาวได้ หากต้องการผักแปลกๆ ก็สามารถปลูกได้ เช่น ผักกาดหวานเล็ก ก็เลือกต้นเล็กๆ ขนาดหนึ่งนิ้วหรือครึ่งนิ้วสดๆ มาปรุงสลัด แน่นอนว่าไม่มีเกษตรกรที่ไหนปลูกผักแบบนี้มาขาย

เห็นภาพแบบนี้แล้ว คนไทยไม่ต้องอิจฉาชาวแวนคูเวอร์ที่มีร้านอาหารพิถีพิถันและเลือกวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพได้เอง เพราะหากใครอยากทำแบบนั้นบ้าง ก็สามารถไปหาซื้ออุปกรณ์ปลูกผักในงานสมุนไพร หรืองานเกษตรแฟร์ในบ้านเราได้เช่นกัน

อ้างอิงจาก kasetmodern.com
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,534
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,312
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,013
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,237
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,393
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,398
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด