ดาวเด่นแฟรนไชส์    “เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100 สาขา ฟุ้งเครื...
54K
21 มกราคม 2553
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ'ไซด์ ลั่นขยาย100 สาขา ฟุ้งเครือข่ายยอดทะลุเป้า


 
 
“เคพีเอ็นพลัส” เจ้าตำรับแฟรนไชส์อะไหล่มอเตอร์ไซด์ ลุยขยาย 100 สาขาภายในปีนี้ ตั้งเป้าปูพรมทั่วประเทศให้ได้ 400 สาขา ชี้ธุรกิจนี้เป็นการปฏิวัติวงการค้าอะไหล่ จยย. ตัดวงจรระบบโชวห่วยขายสินค้าปลอม ด้อยคุณภาพให้ก้าวสู่มาตรฐาน ฟุ้งเครือข่ายเปิดแค่ 4 เดือน ยอดขายทะลุเป้า ไม่เกินปีคืนทุนแน่! 
 
นายณัฐวุฒิ เภาโบรมย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคพีเอ็นพลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มเคพีเอ็น เปิดเผยถึงสถานการณ์ของ ร้าน “เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์จำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ (จยย.) รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ว่า จากเริ่มเปิดแฟรนไชส์สาขาแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2546 เป็นต้นมา ขณะนี้มีสาขาที่เปิดเพิ่มแล้ว 18 สาขา และเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการก่อสร้างร้านอีก 63 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีแผนจะเปิดให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 8 สาขา และปัจจุบันมีผู้สนใจยื่นขอซื้อแฟรนไชส์กว่า 600 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาคุณสมบัติ 
 
ทั้งนี้ มีแผนว่าภายในปี 2547 นี้ จะขยายสาขาให้ครบ 100 สาขา หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะใน เดือนมิถุนายนนี้จะเปิดได้แน่ๆ 80 สาขา ดังนั้น เมื่อถึงสิ้นปีคงเกินเป้าที่ตั้งไว้แน่นอน และในระยะยาวจะขยายให้ได้ครอบคลุมเกือบทุกอำเภอของประเทศจำนวน 350 –400 สาขา เป็นในกรุงเทพฯ 20% และต่างจังหวัด 80% คาดว่าจะสำเร็จในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 
 
ชี้ “เคพีเอ็นพลัส” ปฏิวัติค้าอะไหล่ จยย. 
 
นายณัฐวุฒิ เผยอีกว่า ตลาดธุรกิจรถจักรยานยนต์ (จยย.)ของประเทศไทย มียอดสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รถ จยย. หนึ่งคันมีความต้องการอะไหล่ 2,000 – 4,000 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 4 หมื่นล้านบาท แต่เดิมร้านค้าที่จำหน่ายอะไหล่จะนำสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน หรือของปลอมมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้า บริษัทเคพีเอ็นฯ จึงเข้าปฏิวัติวงการค้าอะไหล่รถ จยย. ด้วยการเปิดขายในรูปแบบแฟรนไชส์แก่ผู้สนใจเข้าร่วมทุนในราคาเบื้องต้นประมาณ 2.5 ล้านบาท โดยบริษัทฯ เข้าไปเป็นคนกลางที่จะติดต่อกับผู้ผลิตสินค้าโดยตรง และกระจายสินค้าไปยังร้านเครือข่าย ทำให้ร้านค้าได้สินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก สามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ได้ รวมทั้งนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารร้านให้เกิดคุณภาพมาตรฐาน เช่น การจัดสต๊อกสินค้า ระบบบัญชี และการตลาด เป็นต้น 
 
ทั้งนี้ ภายในร้านเคพีเอ็นพลัส มีสินค้าอะไหล่รถ จยย. ที่นิยมในตลาดอยู่ 6,000 รายการ และในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มเป็น 8,000 รายการ โดยการนำสินค้าแต่ละตัวเข้ามาในร้าน จะต้องผ่านการพิจารณาของฝ่ายวิเคราะห์ ซึ่งจะดูในด้านคุณภาพ และราคาสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้น ร้านแฟรนไชส์นี้ จึงมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสูง
 
 
 
ฟุ้งร้านเครือข่ายยอดขายทะลุเป้า 
 
สำหรับผลการดำเนินกิจการของร้านแฟรนไชส์ที่ล้วนเพิ่งเปิดมา 3-4 เดือนนั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เนื่องจากเป้าที่บริษัทฯ ตั้งไว้เดิมให้ร้านเครือข่ายมีรายได้เดือนละประมาณ 1 แสนบาท ผลปรากฏว่า โดยเฉลี่ย 70 เปอร์เซ็นต์มีรายได้เดือนละ 1 –3 แสนบาท บางร้านถึง 4 แสนบาท โดยยอดจำหน่ายมีตัวเลขสูงขึ้นถึงเดือนละ 30% เชื่อว่า ผู้ลงทุนจะคืนทุนได้ภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี ส่วนร้านค้าอีก 30 % ยอดขายก็ถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ และเนื่องจากบริษัทฯ มีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับทราบได้ว่าแต่ละร้านค้า มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการตลาดอย่างไร จึงสามารถส่งทีมงานเข้าไปให้คำปรึกษา เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านเหล่านี้ เชื่อว่า จะช่วยให้กลุ่มนี้สามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเช่นกัน 
 
และสำหรับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์แต่ยังขาดเงินลงทุน บริษัทฯ ได้ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี แบงก์) ในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อในการทำธุรกิจ ในวงเงินสูงสุด 70-80% ของเงินลงทุนทั้งหมด 
 
รุกการตลาดเต็มสูบ งัดสารพัดโปรโมชั่น 
 
ด้านการตลาดของเคพีเอ็น พลัสนั้น เน้นทั้งการขายปลีกให้แก่ผู้ใช้รถ จยย. ทั่วไป และขายส่งให้แก่บรรดาอู่ซ่อมรถ จยย. ซึ่งจะมีราคาพิเศษให้ลูกค้ากลุ่มนี้ อีกทั้งกลุ่มลูกค้าอู่ซ่อมรถจะสั่งสินค้าครั้งละจำนวนมากๆ จึงมีโปรโมชั่นเป็นบัตรสะสมแต้ม สามารถนำมาแลกสินค้า เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้เป็นการกระตุ้นยอดขายอีกทางหนึ่ง 
 
นอกจากนั้น เคพีเอ็นฯ ได้ร่วมกับบัตรเครดิตอิออน ออกบัตร “เคพีเอ็นพลัส อิออน” เพื่ออนุมัติสินเชื่อให้แก่อู่ซ่อมรถที่ต้องการซื้อสินค้า โดยจะได้รับเครดิต 52 วัน ในวงเงิน 50,000 – 10,000 บาท 
 
สำหรับแผนงานในปีนี้ นอกจากเร่งขยายสาขาให้ได้ตามเป้าแล้ว จะทำการตลาดในระดับประเทศมากยิ่งขึ้น โดยตั้งงบประชาสัมพันธ์ทางตรง ในสื่อต่างๆ ไว้ที่ 40 ล้านบาท และอีก 20 ล้านบาทสำหรับประชาสัมพันธ์ทางอ้อม เช่น เป็นผู้สนับสนุนกีฬา และคาดว่าปีหน้าจะขยายงบด้านนี้ให้สูงขึ้นอีก เมื่อแบรนด์ของแฟรนไชส์เป็นที่รู้จักกันดีแก่ประชาชนทั่วไป
 
นอกจากการขยายแฟรนไชส์ในประเทศแล้ว ยังมีแผนขยายแฟรนไชส์ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย , อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีตลาดที่พร้อม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าในปีหน้า จะเห็นผลชัดเจน สำหรับรายได้ของบริษัทฯ จากธุรกิจแฟรนไชส์นี้ ในปีนี้คาดว่าจะอยู่ราว 200-300 ล้านบาท นอกจากนั้น กลุ่มเคพีเอ็น มีแผนจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 3 นี้ด้วย
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,536
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,312
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,013
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,237
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,393
แฟรนไชส์ชาไข่มุก ไอ-ฉะ ตอบโจทย์เพื่อคนอยากมีธุรก..
52,261
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด