บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
320
2 นาที
11 กรกฎาคม 2568
เปิดสูตร “Brand Switching” ยอดขายจากลูกค้าหายไปแค่ไหน?
 

การแข่งขันยิ่งสูงยิ่งทำให้ลูกค้ามีโอกาสตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการได้หลากหลาย นำไปสู่หลักการหนึ่งด้านการตลาดที่เรียกว่า “Brand Switching” ซึ่งก็คือการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนการซื้อสินค้าจากแบรนด์หนึ่งไปอีกแบรนด์หนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ผู้บริโภคไม่มีแบรนด์หรือตราสินค้าที่บริโภคเป็นประจำ ทำให้เกิดการ Switch หรือการเปลี่ยนแบรนด์บ่อยๆ
 
คำว่า Brand Switching จะตรงกันข้ามกับ Brand Loyalty ที่มีความหมายถึงการที่ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้านั้นอย่างจริงจัง และไม่มีวันจะเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการจากแบรนด์อื่นเด็ดขาด ถ้าว่ากันตามความจริง แต่ละแบรนด์ก็มุ่งหวังสร้างรายได้จากลูกค้าที่มีการ Brand Switching ก็นำมาสู่การจัดหนักจัดเต็ม ล่อตาล่อใจ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าอยากซื้อหรือเปลี่ยนใจมาซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเรา

 
ตอกย้ำด้วยข้อมูลเชิงตัวเลขที่พบว่าคนในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนใจนี่แหละคือแหล่งรายได้สำคัญของธุรกิจ
  • 70% ของผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อสินค้า ณ จุดขาย
  • 20% ของผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อน
  • 50% ของผู้บริโภคได้เปลี่ยนจากแบรนด์เดิมไปใช้แบรนด์อื่น เนื่องจากอยากลองใช้สินค้าแบรนด์อื่นดูบ้าง
  • 72% ของผู้บริโภคอยากที่จะเปลี่ยนแบรนด์ เพราะเกิดจากประสบการณ์ไม่ดีในการใช้งานครั้งล่าสุด
  • 47% ของผู้บริโภคยอมเปลี่ยนแบรนด์เพราะเจอโปรโมชั่นที่ดีกว่าจากคู่แข่ง
  • 30% ของผู้บริโภคยอมเปลี่ยนแบรนด์เพราะสินค้าไม่มีวางจำหน่าย หรือลำบากในการซื้อ
ถ้าดูจากปัจจัยหลักที่มีผลต่อ Brand Switching จะพบว่า
  1. คุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอ ลูกค้าให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ “เชื่อถือได้” หากมีปัญหา 1-2 ครั้ง อาจทำให้เปลี่ยนใจทันที
  2. ประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) เช่น บริการช้า พนักงานพูดจาไม่ดี หรือช่องทางออนไลน์ใช้งานยาก
  3. ราคาและโปรโมชั่น ส่วนลดแรง ๆ หรือของแถมดี ๆ จากแบรนด์คู่แข่ง มักกระตุ้นให้คนเปลี่ยนใจง่าย
  4. ความรู้สึกเบื่อ ลูกค้าบางกลุ่มชอบ “ลองของใหม่” หรือหาแบรนด์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากกว่าเดิม
  5. อิทธิพลจากรีวิวหรือเพื่อน รีวิวออนไลน์ หรือคำแนะนำจากคนรู้จัก สามารถทำให้คนตัดสินใจลองแบรนด์ใหม่ได้เร็ว
แน่นอนว่าการที่ลูกค้าลดลงย่อมหมายถึงยอดขายที่หายไป แม้ว่า Brand Switching จะเป็นการหมุนเวียนลูกค้าที่เคยใช้อาจหายไปแต่ก็อาจทดแทนด้วยลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยใช้สินค้าหรือบริการของเรา ถ้าธุรกิจไหนสามารถรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้และดึงลูกค้าจากคู่แข่งมาได้มากก็จะหมายถึงยอดขายที่เพิ่มมากตามไปด้วย 
 
ซึ่งในการตลาดก็มีสูตรวัดการ Switching Brand ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์อย่างชัดเจน 
 
Brand Switching Rate (%) = จำนวนผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากแบรนด์เดิมไปแบรนด์อื่น ÷ จำนวนผู้บริโภคทั้งหมดของแบรนด์เดิม × 100
 
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าหนึ่งในเดือนที่ผ่านมามีลูกค้า 1,000 ราย และมี 100 รายที่เปลี่ยนไปซื้อแบรนด์อื่น 
 
ผลคำนวณ Brand Switching Rate ออกมาคือ 100 ÷ 1,000 x 100 = 10% 
 
ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ Brand Switching Rate ยิ่งสูงยิ่งอันตรายเพราะหมายความว่าลูกค้าเรากำลังหนีไปหาแบรนด์คู่แข่ง
 
 
 
ถ้ายังมองไม่เห็นภาพจะลองยกตัวอย่างของธุรกิจที่แข่งกันโดยตรงอย่าง Burger King VS McDonald’s Burger King เคยประสบปัญหาในไทยเรื่องแบรนด์ไม่ชัด คนยังจดจำ McDonald's ได้มากกว่า จนเกิด Brand Switching ไปฝั่งแมคที่มีโปรโมชั่นแรงกว่า และสาขาเข้าถึงง่ายวิธีรับมือของ Burger King คือปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั้งหมด (รีแบรนด์) , เปิดสาขา “Burger King Grill” เน้นเบอร์เกอร์ย่างสดพรีเมียม รวมถึงทำการตลาดผ่าน Delivery Apps ให้มากขึ้น ผลปรากฏว่าด้วยวิธีการเหล่านี้ก็ช่วยดึงกลุ่มลูกค้าบางส่วนกลับมา และเจาะกลุ่มใหม่ที่เบื่อเบอร์เกอร์แบบเดิม เป็นต้น
 
ปัจจุบันทุกธุรกิจมีการแข่งขันที่สูง และยังเสี่ยงกับอีกหลายปัจจัยทั้งกำลังซื้อที่ลดลง ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น วิธีกระตุ้นยอดขายเพื่อหวังให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจมาใช้สินค้าและบริการของเราก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม การรักษา Brand Switching Rate

ไม่จำเป็นว่าต้องจบลงที่เรื่องของโปรโมชันราคาเพียงอย่างเดียว อาจเน้นไปที่คุณภาพ+บริการมากขึ้น การทำธุรกิจยุคนี้ต้องคำนึงเสมอว่าจะลดความเสี่ยงของ Brand Switching ได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกเป็น Brand Loyalty กับสินค้าเรามากขึ้น
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 


บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามส่งด่วน • เกมส์ • กลยุทธ์ • ธุรกิจ
522
“Store Assortment” กลยุทธ์ร้านค้าปลีก ที่เจ้าของ..
453
คิดวิเคราะห์ขายอาหารใน Food Court คุ้มหรือไม่
446
ไฮเปอร์มาร์เก็ต VS ซูเปอร์เซ็นเตอร์! ใครจะรุ่ง ..
418
“Markdown” วิธีใช้ “ป้ายเหลือง” เพิ่มรายได้ร้านส..
397
3 ทหารเสือ เชนร้านสเต็ก พันล้าน
392
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด