บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
378
2 นาที
19 มีนาคม 2568
สงครามกาแฟในร้านสะดวกซื้อ! ยอดขายดีแค่ไหน
 

ทำไมในร้านสะดวกซื้อไม่ว่าจะแบรนด์ไหน ก็มักมี Shop กาแฟของตัวเอง ถึงขนาดมีแบรนด์กาแฟของตัวเองด้วยซ้ำ
 
เหตุผลก็ง่ายๆ เพราะตลาดกาแฟเมืองไทยมีมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท
 
คิดในมุมของคนทำธุรกิจการจะแชร์เอามูลค่านี้มา ก็คือการสร้างสินค้าที่ดึงดูดลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการให้ได้มากที่สุด
 
 
เราจึงได้เห็นหลายแบรนด์ที่แข่งกันดุเดือดเช่น
  • All Café ใน 7– Eleven
  • จังเกิ้ล คาเฟ่ ของโลตัส โก เฟรช
  • อาริกาโตะ ในท็อปส์ เดลี่
  • Lawson Café ของร้าน LAWSON 108
  • บาว คาเฟ่ ของ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต
ในเรื่องของยอดขาย / รายได้ ยกตัวอย่าง All Café ปี 2567 ที่ผ่านมาผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีกำไรสุทธิ์ 60.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.67% ถ้าเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ในส่วนของบาว คาเฟ่นั้นช่วงหลังก็มีการรุกตลาดเดินหน้าขยายสาขาอย่างเต็มที่เช่นกัน ตั้งเป้าปี 2568 จะเปิดครบ 1,800 สาขาโดยในปีที่ผ่านมารายได้รวมกว่า 44,000 ล้านบาท กำไรเฉลี่ย 2,600 ล้านบาท (มาจากทุกธุรกิจรวมกัน) โดยแต่ละสาขามีลูกค้าเฉลี่ย 800/คน/วัน
 
 
 
หรืออย่างอาริกาโตะในเครือของ CRG ก็เป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่เข้ามาเพิ่มสีสันและหวังดึงรายได้จากตลาดกาแฟ มีเมนูมัทฉะลาเต้เป็นตัวชูโรง รวมถึงการอัพเดทเมนูใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนในการขยายสาขาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
 
แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องไม่ลืมเช่นกันว่าตลาดกาแฟไม่ได้มีแข่งแค่ในร้านสะดวกซื้อ ในตลาดหลักเองก็มีผู้เล่นที่แข็งแกร่งอีกมากอันเป็นตัวแปรสำคัญที่เรียกว่าขับเคี่ยวกันดุเดือด สอดคล้องกับตัวเลขการ “ดื่มกาแฟ” ของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยตัวเลขขยับขึ้นมาใกล้ ๆ 2 แก้ว/วัน/คน หรือมากกว่า 300 แก้ว/คน/ปี จากในอดีตที่ผ่านมาที่ตัวเลขเฉลี่ยอยู่ในระดับ 100 แก้ว/คน/ปี

 
จึงเป็นเหตุผลที่เราจะเห็นแบรนด์ใหญ่อย่าง “คาเฟ่ อะเมซอน” ร้านกาแฟในเครือ ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก หรือโออาร์ ที่ยังเดินหน้าขยายสาขาด้วยโมเดลแฟรนไชส์ต่อเนื่อง ทั้งในปั๊มและนอกปั๊ม โดยเฉพาะอาคารสำนักงาน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ย่านชุมชนต่าง ๆ หลังจากที่เปิดไปแล้วมากกว่า 4,552 สาขา

 
หรือร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ในเครือพีทีจี เอ็นเนอยี ตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 400 สาขาทั่วประเทศ ด้วยการมุ่งขยายสาขาออกไปในต่างจังหวัดและอำเภอ แต่ที่ชัดเจนที่สุดก็คือเครือ CP ที่มีถึง 12 แบรนด์กาแฟ มีหลายเหตุผล โดยหลักๆ จะเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า และครองส่วนแบ่งตลาดกาแฟและเบเกอรี่ให้ได้มากที่สุด
 
จะเห็นว่าแบรนด์กาแฟเครือ CP จะจับกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ทุกระดับรายได้ เริ่มตั้งแต่กาแฟราคาประหยัด อาจสูงกว่ารถเข็นหน่อยก็ All Café ราคากลางๆ KUDSAN Bakery, Jungle Café, Star Coffee ราคาระดับพรีเมียม Bellinee’s Bake & Brew ขณะเดียวกัน CP ก็ยังจับกลุ่มลูกค้าที่ชอบบรรยากาศ ทำงานไปด้วย ดื่มกาแฟไปด้วย ก็มี True Coffee ไว้รองรับ 
 
 
ถึงแม้ว่าบางแบรนด์จะดูแล็กๆ แต่เมื่อนำสาขาของแต่ละแบรนด์มารวมกันจะพบว่ามีจำนวนมากกว่า 10,000 สาขาเลยทีเดียว มากกว่ากาแฟดังหลายๆ แบรนด์รวมกันอย่าง คาเฟ่ อเมซอน, สตาร์บัคส์, กาแฟพันธุ์ไทย, อินทนิล และอื่นๆ
 
ถ้าดูจากภาพรวมทั้งหมดเช่นว่าตลาดกาแฟคือการแข่งขันที่ยังระอุและเป็นสินค้าที่พร้อมสร้างรายได้ดี ในส่วนของการลงทุนปัจจุบันก็มีรูปแบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสำหรับคนต้องการเริ่มธุรกิจได้ทันที

บางแฟรนไชส์เราเริ่มต้นด้วยงบหลักทุนไม่แพงและก็มีเมนูเยอะไม่เฉพาะกาแฟ แถมมีอุปกรณ์ + วัตถุดิบให้พร้อมเปิดร้าน การสอนสูตร สอนเทคนิคการขาย คนลงทุนไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือเรื่องของการตลาดและทำเลในการเปิดร้าน ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญมากของการเปิดร้านกาแฟในยุคนี้
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
344
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
328
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด