บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
6.0K
1 นาที
27 พฤษภาคม 2562
กลุ่มไทยเบฟฯ ซื้อแบรนด์ไหน ในมือบ้าง?

 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ("ไทยเบฟ") ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ("SGX") วันที่เสนอขายหลักทรัพย์ 30 พฤษภาคม 2549 
 
ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจโดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร เฉพาะแค่ปี 2560 เพียงปีเดียว “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ราชาเทกโอเวอร์ ก็ใช้เงินทุ่มซื้อกิจการต่างๆ ไปแล้ว รวมเบ็ดเสร็จเฉียดๆ 2 แสนล้านบาท และส่วนใหญ่ล้วนเป็นธุรกิจที่เข้ามาเสริมทัพให้กับกลุ่ม “ไทยเบฟ”


ภาพจาก bit.ly/30KSFsJ

เริ่มจากดีลไก่ทอดเคเอฟซี 1.14 หมื่นล้านบาท ตามด้วยการซื้อแกรนด์รอยัลกรุ๊ป เหล้าเบอร์ 1 ในเมียนมา 2.4 หมื่นล้านบาท และล่าสุด ซาเบคโก้ (SABECO) เบียร์เบอร์ 1 ที่เวียดนามอีก 1.6 แสนล้านบาท ล่าสุดพึ่งซื้อกาแฟสตาร์บัคส์ในไทยทั้งหมด
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอธุรกิจที่กลุ่มไทยเบฟฯ ซื้อแบรนด์ กิจการ รวมถึงการซื้อหุ้น มาไว้ภายใต้การบริหารในเครืออาณาจักรกลุ่มเบียร์ “ช้าง” ที่หลายๆ คนรู้จักรกันเป็นอย่างดี โดยมี “เจ้าสัวเจริญ”เป็นหัวเรือใหญ่  
 
1.กลุ่มอาหาร และ เครื่องดื่ม (แอลกอฮอล์ และ ไม่มีแอลกอฮอล์)


ภาพจาก bit.ly/2VOHJXu
  • โออิชิ กรุ๊ป (ปี 2549)
  • Yunnan Yulinquan Liquor โรงเหล้าขาวในจีน (ปี 2552)
  • เสริมสุข (ปี 2554) 
  • F&N (ปี 2556)
  • Pacific Spirit โรงเหล้า 5 แห่งในสก็อตแลนด์ (ปี 2559)
  • KFC 240 สาขา (ปี 2560)
  • Grand Royal Group เหล้าเบอร์ 1 พม่า (ปี 2560)
  • SABECO ไซง่อนเบียร์อันดับ 1 เวียดนาม (ปี 2560) 
  • Genki Sushi แฟรนไชส์ (ปี 2562) 
  • กาแฟสตาร์บัคส์ 372 สาขา (ปี 2562) 
 
2.กลุ่มสื่อและเทคโนโลยี


ภาพจาก bit.ly/2VRi6Fd
  • เอเชีย บุ๊คส์ (ปี 2554)
  • อมรินทร์พรินติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (ปี 2559)
  • GMM Channel (ปี 2560) 
 
3.กลุ่มโรงแรม ค้าปลีก อุตสาหกรรม


ภาพจาก bit.ly/2Wp6eim
  • เครือโรงแรมอิมพิเรียล (ปี 2537) 
  • BJC (ปี 2544) 
  • ยูนิเวนเจอร์ (ปี 2550)
  • B’s Mart เวียดนาม (ปี 2556)
  • เมโทร แคช แอนด์ แครี่ เวียดนาม (ปี 2557)
  • บิ๊กซี (ปี 2559) 
  • TICON ธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม (ปี 2559) 

ภาพจาก bit.ly/2I3dvLd
 
นอกจากแบรนด์ธุรกิจที่กลุ่มไทยเบฟฯ ซื้อมาแล้ว ยังมีแบรนด์ที่เป็นของตัวเองผลิตขึ้นมา เช่น ช้าง อาชา เฟเดอร์บรอย (กลุ่มเบียร์), มังกรทอง แสงโสม แม่โขง รวงข้าว หงส์ทอง เบลนด์ 285 เมอริเดียน พระยา คราวน์ 99 ดรัมเมอร์ (กลุ่มเหล้า) รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “ช้าง” ทั้งน้ำดื่ม โซดา เครื่องดื่มสมุนไรจับใจ 
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
504
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
358
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
356
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
355
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
345
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
340
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด