บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
9.6K
2 นาที
26 ธันวาคม 2553

แนวทางในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์สำหรับ SMEs (ตอน2)


 "การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์" ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการลดต้นทุน

          หลักการทั่วไปของการแก้ไขปัญหา หรือการทำอะไรให้ดีขึ้นมีแนวคิดไม่ต่างจากหลักคำสอนของพุทธศาสนา "อริยสัจ 4" ที่ประกอบด้วย ทุกข์ คือ ความไม่สบายอกไม่สบายใจ สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และมัคค์ คือ การปฎิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งถ้าเป็นในเรื่องของโลจิสติกส์ คงต้องเริ่มจากการรู้ตัวเองเสียก่อนว่าธุรกิจของตนมีจุดอ่อน หรือปัญหาตรงไหนที่ต้องแก้ไข ที่เรียกว่า "การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์" นั่นเอง

ในหนังสือเล่มนี้ได้แบ่งหลักการ "การวิเคราะห์ต้นทุน" ที่สามารถนำมาใช้กับโลจิสติกส์ไว้ 4 แบบด้วยกัน คือ

  1. การวิเคราะห์ต้นทุนตามลักษณะแหล่งกำเนิด  อาทิ ค่าวัสดุ ค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยในการดำเนินธุรกิจ
     
  2. การวิเคราะห์ต้นทุนตามพฤติกรรมต้นทุน โดยแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ที่มีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงหรือผันแปรตามระดับกิจกรรมหรือปริมาณการผลิต เช่น ค่าก่อสร้างโรงงาน ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น และต้นทุนผันแปร (Variable Cost) ที่มีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรมหรือจำนวนสินค้าและบริการที่ผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
     
  3. การวิเคราะห์ต้นทุนตามลักษณะของค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct Cost) ที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการนั้นๆ โดยตรง และค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect Cost) ที่ไม่สามารถแยกแยะว่าเกิดจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใด
     
  4. การวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรม เป็นวิธีการคำนวณต้นทุนแบบใหม่ตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วง โซ่อุปทาน เป็นต้นทุนต่อหน่วยสินค้า ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในธุรกิจปัจจุบัน เพราะสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากร ที่เรียกว่า "ต้นทุน" ในทางบัญชี โดยการหาปริมาณงานของแต่ละกิจกรรม เป็นจำนวนชิ้นงาน / จำนวนครั้งในการให้บริการที่เสร็จสิ้นในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การออกใบสั่งซื้อ การประกอบชิ้นงาน การจัดเก็บสินค้าในโกดัง เป็นต้น

          ต้นทุน (Cost) หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ อาจจะอยู่ในรูปของเงินสด และ หรือทรัพย์สินอื่นๆ อาศัยเงินทุนจากเจ้าของ ผู้ถือหุ้น ตลอดจนเงินกู้ยืม โดยมุ่งหวังกำไรเป็นค่าตอบแทน

          ต้นทุนต่อหน่วย =  ต้นทุนทั้งหมดของกิจกรรม / ปริมาณการปฎิบัติงาน

          จากการรู้ถึง "สถานะต้นทุน" นำมาสู่ "การควบคุมและติดตาม"

          การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์จะทำให้ได้เห็นถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในระบบ โลจิสติกส์ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นของแต่ละผลิตภัณฑ์ แต่ละลูกค้า แต่ละกิจกรรมหรือหน่วยผลิตภัณฑ์ก็ตาม สิ่งสำคัญต่อไปที่ผู้ประกอบการจะต้องทำคือ การควบคุมและติดตามประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งในการศึกษาได้นำเสนอวิธีการที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ 3 วิธีด้วยกันคือ

วิธีการกำหนดต้นทุนมาตรฐาน (Standard Costs) วิธีการกำหนดมาตรฐานผลิตภาพหรือมาตรฐานการเพิ่มผลผลิต (Productivity Indicators) และวิธีการใช้แผนภูมิควบคุมทางสถิติ (Statistical Process Control Chart)

  1. การควบคุมต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยต้นทุนมาตรฐาน (Standard Costs) เป็นการหาค่าต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วยในแต่ละกิจกรรม สำหรับนำไปเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานปัจจุบันรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ต้นทุนมาตรฐานอาจได้ข้อมูลจากผลการศึกษา (Study) ต่างๆ การใช้มาตรฐานระดับอุตสาหกรรม (Industrial Standard) การใช้ข้อมูลในอดีต หรือการสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
     
  2. การกำหนดดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการเพิ่มผลผลิตหรือผลิตภาพ (Productivity Indicators) ยังคงเป็นการวัดแต่ละกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ โดยประสิทธิภาพที่พูดถึงจะวัดจากความสามารถในการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อให้ ได้ผลผลิต ซึ่งก็คือ ปริมาณของผลผลิตที่ทำได้ หารด้วย ปริมาณของปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป
     
  3. การควบคุมกิจกรรมโลจิสติกส์ด้วยแผนภูมิควบคุมคุณภาพ (Statistical Process Control Chart) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อติดตามผลผลิตของกระบวนการผลิต ให้แน่ใจว่ากระบวนการผลิตยังคงอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ทางสถิติ (In-statistical Control) ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตออกมาอยู่ในสภาวะปกติที่สามารถประมาณหรือคาดการณ์ได้ แนวคิดของการควบคุมคือ การนำเอาผลผลิต หรือผลลัพธ์ของกระบวนการ หรือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพเข้ามาสู่ระบบการวัดผล หากอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ถือว่า กระบวนการผลิตอยู่ในสภาวะการณ์ที่ควบคุมได้

อ้างอิงจาก บิสิเนสไทย
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
501
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
353
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
351
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
339
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
336
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด