ดาวเด่นแฟรนไชส์    ปลื้ม! ร้านดุ๋ง เด้ง ได้ -พาทีฟุ้งนั่งบริหารนกแอร์ที่ไหนก็ได้
4.6K
2 ตุลาคม 2558
ปลื้ม! ร้าน "ดุ๋ง เด้ง ได้"-"พาที" ฟุ้งนั่งบริหาร "นกแอร์" ที่ไหนก็ได้


"การบริหารงานสายการบินไม่จำเป็นต้องนั่งในออฟฟิศ ทำงานและประชุมที่ไหนก็ได้ โดยสั่งงานผ่านมือถือ ยูทูบ อินเตอร์เน็ต และไอแพด"

ผู้บริหารนกแอร์ "พาที สารสิน" ติดใจธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว หลังเปิด "ดุ๋ง เด้ง ได้" 3 ปี ยอดขายถล่มทลายเดือนละกว่า 1 ล้านบาท คืนทุนได้ภายในปีที่ 2 ย้ำลั่นธุรกิจสายการบินนกแอร์ยังกำไรงาม ปี 53 กำไรปลิ้น 618 ล้านบาท สูงสุดรอบ 6 ปี

นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์ ในฐานะเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ "ดุ๋ง เด้ง ได้" เปิดเผยว่า การรุกเข้ามาทำธุรกิจร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรือ "ดุ๋ง เด้ง ได้" ด้วยเงินลงทุน 3 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 100 ตารางเมตร ที่ศูนย์การค้าสยามฟิวเจอร์ทาวน์เซ็นเตอร์ ทองหล่อ 4 ซอยสุขุมวิท 55 กับกลุ่มเพื่อนๆ 5 คน เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ถึงวันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด มียอดขายเติบโตต่อเนื่องขึ้นทุกปี โดยปีแรกมียอดขายเดือนละ 600,000-700,000 บาท แต่ปัจจุบันมียอดขายเดือนละมากกว่า 1 ล้านบาท และสามารถคืนทุนได้ในปีที่ 2 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด

"ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว ทั้งที่ไม่เคยทำธุรกิจนี้มาก่อน ทำแต่ธุรกิจสายการบิน น่าจะมาจากความเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวไอเดียใหม่ รูปแบบใหม่ ที่ใช้เนื้อออสเตรเลีย เนื้อวากิว นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย สำหรับที่ใช้ทำสเต๊กมาทำก๋วยเตี๋ยว และหมูดำคูโรบูตะ นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตลาดเมืองไทยยังไม่มีใครทำมาก่อน แม้จะมีราคาแพงถึงชามละ 60 บาท

สำหรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อธรรมดา, ชามละ 135-160 บาท สำหรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อออสเตรเลีย, ชามละ 250 บาท สำหรับก๋วยเตี๋ยวเนื้อวากิว และชามละ 210 บาท สำหรับก๋วยเตี๋ยวหมูดำคูโรบูตะ แต่ลูกค้าก็ยังให้การตอบรับดี โดยเฉลี่ยวันธรรมดา มีลูกค้าหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการในร้านที่มีอยู่ เพียง 20 โต๊ะ ประมาณ 200 คน วันเสาร์-อาทิตย์ มากกว่า 500 คน และบางวันมีการต่อคิวยาวเหยียดอยู่หน้าร้านนานถึง 20 นาที"

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จครั้งนี้นอกจากความแปลกใหม่แล้ว โดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมาจากความอร่อย และความหลากหลายของเมนูอาหาร มากกว่าชื่อของ "พาที สารสิน" ซึ่งที่ร้านไม่ได้ขายเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเรือ แต่ขายก๋วยเตี๋ยวน้ำตก น้ำใส ต้มยำ และเมนูอื่นๆ รวมถึงขนมหวานต่างๆภายใต้แบรนด์ "ดุ๋ง เด้ง ได้" ด้วย นอกจากนี้ยังขายทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู นำเข้าจากต่างประเทศและในประเทศ พร้อมบริการเดลิเวอรี่ ส่งถึงบ้านภายใต้หมายเลข 0-2392-1417 เชื่อว่าราคาไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ "ดุ๋ง เด้ง ได้" คือ กลุ่มเอและบี รวมถึงกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง และไม่สนใจเรื่องราคา

 

นายพาที กล่าวว่า สำหรับแผนขยายการลงทุนและขยายสาขาเพิ่ม ในพื้นที่กรุงเทพฯคงไม่ขยายสาขา 2 เพราะต้องการให้สาขานี้เป็นสาขาต้นแบบ (ออริจินอล) ที่ใครอยากกินก๋วยเตี๋ยวเรือ "ดุ๋ง เด้ง ได้" ต้องมาที่นี่ที่เดียว
หากจะขยายคงลุยตลาดต่างจังหวัดและต่างประเทศเป็นหลัก แต่ก็ยังคงเป็นแค่แผน ยังไม่ลุยขยายในเร็วๆนี้

ส่วนที่หลายคนมองว่า ผมมัวแต่มานั่งขายก๋วยเตี๋ยว ทำไมไม่เอาเวลาไปนั่งบริหารสายการบินนกแอร์ ให้มีผลประกอบการและผลกำไรที่ดีขึ้น อยากจะบอกว่าในโลกไซเบอร์ (Cyberworlds) การบริหารงานสายการบินไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานในออฟฟิศ สามารถทำงานและประชุมที่ไหนก็ได้ โดยสั่งงานผ่านโทรศัพท์มือถือ ยูทูบ (Youtube) อินเตอร์เน็ต ไอโฟน และไอแพด ได้หมด

"การทำงานยุคนี้ไม่เหมือนยุคเก่าที่ต้องนั่งทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศ ไม่เห็นอะไรเลย การบริหารงานต้องนั่งเทียน รอผลวิจัยอย่างเดียว ซึ่งงานของนกแอร์ คือ งานบริการ คู่แข่งคือตัวเอง ผมเชื่อว่าการออกไปนั่งทำงานข้างนอก ได้เห็นพฤติกรรมคน ความต้องการของคน ก็สามารถเอาไอเดียต่างๆที่เห็นจากข้างนอกมาปรับใช้ได้ และการทำตลาดหากไม่เห็นของจริงจะทำอะไรได้ นอกจากก๊อบปี้คนอื่นเขา ขอยืนยันว่าที่ผ่านมาการบริหารงานของนกแอร์มีผลประกอบการและผลกำไรเติบโตมาตลอด และปี 53 เป็นปีที่มีผลกำไรสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ดำเนินธุรกิจมา

โดยทำได้ถึง 618 ล้านบาท จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะทำผลกำไรได้ 200 ล้านบาท ถือว่าเกินเป้าหมายถึง 3 เท่า ขณะที่รายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดทำได้ถึง 3,900 ล้านบาท จากปีแรกที่ดำเนินธุรกิจแอร์ไลน์มีผลกำไร 64 ล้านบาท จะขาดทุนอยู่ปีเดียวคือปี 51 เพราะเจอวิกฤติน้ำมัน ที่ทุกสายการบินก็ประสบปัญหาหมด ซึ่งนกแอร์ยังดีที่สามารถฝ่าวิกฤติมาได้"

นายพาที กล่าวว่า ปี 54 นกแอร์ตั้งเป้ารายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดไว้ที่ 5,000 ล้านบาท มีผลกำไร 216 ล้านบาท หลังอัดงบทำตลาดทุกรูปแบบ 30-40 ล้านบาท แต่ที่ปี 53 ทำผลกำไรได้สูงที่สุด เพราะเป็นปีที่นกแอร์ ไม่มีโลว์ซีซั่นเลย โดยมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารกว่า 80-85% ในทุกเส้นทางบิน

 

ส่วนที่การบินไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) กับไทเกอร์แอร์เวย์ส จากประเทศสิงคโปร์ ในการจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์แอร์เวย์ส เพื่อมาให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ทั้งที่นกแอร์เป็นบริษัทลูกและให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำอยู่แล้ว ไม่ได้มองว่าเป็นการแข่งขัน หรือไทย ไทเกอร์จะมาฆ่านกแอร์ แต่กลับมองว่า ตลาดสายการบินต้นทุนต่ำเป็นตลาดที่ใหญ่มาก

โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ดูจากช่วงแรกที่เปิดให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการเพียงแค่ 4-5 ล้านคนต่อปี แต่วันนี้มีมากถึง 14-15 ล้านคน ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะประชากรไทยมีมากกว่า 64 ล้านคน.

อ้างอิงจาก  ไทยรัฐ
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,634
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,346
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,060
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,302
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,399
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,451
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด