ดาวเด่นแฟรนไชส์    แฟรนไชส์ the indian tea ลัดฟ้าชาภารตะ สร้างกระแสฮิต
6.8K
12 กรกฎาคม 2553
แฟรนไชส์ "the indian tea" ลัดฟ้าชาภารตะ สร้างกระแสฮิต

 
 ด้วยรสชาติ และชื่อเสียงของ “ชาอินเดีย” อันเป็นที่ยอมรับในหมู่นักดื่มชาอย่างกว้างขวาง ประกอบกับทุกวันนี้ กระแสนิยมทั้งแฟชั่น และวัฒนธรรมอินเดีย กำลังมาแรงในหมู่วัยรุ่นไทย นักธุรกิจหนุ่ม อย่าง “มาโนช อัทมารามานี” ผู้มีสายเลือดภารตะเต็มตัว จึงคว้าเทรนด์ฮิตมาสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ ชาอินเดียเจ้าภาพ ในชื่อ “the indian tea” 
 
เขา เล่าว่า ในหมู่ผู้นิยมดื่มชาจะรู้กันดีว่า ชาอินเดียแท้ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านรส และกลิ่นหอม ซึ่งมาจากใบชา และสมุนไพรหลายชนิด ทว่า สำหรับคนทั่วไปแล้ว จะหาชิมได้ยาก จึงหยิบจุดนี้ มาเป็นแนวทางธุรกิจ ด้วยการนำชาต้นตำรับอินเดียแท้ๆ มาสร้างกระแสนิยม ออกขายแก่ผู้บริโภคในวงกว้าง 
 
ธุรกิจชาอินเดียในชื่อ “the indian tea” เริ่มเมื่อต้นปี 2547 ถือเป็นเจ้าแรกของประเทศ โดยทดลองตลาด ด้วยการเปิดขายแถวหลังการบินไทย กว่า 1 ปีเต็ม เริ่มด้วยชา 10 รส ก่อนที่จะปรับรสชาติให้กลมกล่อมถูกปากลูกค้ามากที่สุด จนเหลือ 5 รส ได้แก่ Masala Milk Tea , Cardamon Milk Tea , Honey Lemon Tea ,Honey Milk Tea และ Black Tea 
 
 “ชาอินเดียของแท้มีกว่า 50 รส แต่ผมทดลองตลาดก่อน 10 รส จนมาลงตัวที่ 5 รส ซึ่งตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะดื่มแบบเพียว ๆ ใส่นม ใส่เครื่องเทศ น้ำผึ่ง ซึ่งการทดลองขายหลังการบินไทยช่วยได้มาก เพราะพนักงานการบินไทย เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ก็ช่วยแนะนำแสดงความคิดเห็น เพราะช่วงแรก ขายไม่ได้เลย ชาอินเดียแท้ๆ เครื่องเทศจะแรง ไม่ถูกปากคนไทย ผมจึงนำคำแนะนำต่างๆมาปรับ” 
 
จุดเด่นของรสชาติชาอินเดีย มาจาก “ใบชา” ที่ต้องนำเข้าจากรัฐอัสสัมของอินเดียเท่านั้น ประกอบกับผงผสมชาที่เป็นสูตรโดยเฉพาะของ “the indian tea” มี 2 สูตร คือ ผง Masala และผง Cardamon ทำมาจากสูตรไพร และเครื่องเทศหลายๆ ชนิด อาทิ อบเชย กานพลู ขิง พลิกไทยดำ เป็นต้น 

 
 
หลังจากทดลองตลาดจนมั่นใจ เขาจึงเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ดำเนินงานภายใต้บริษัท PERFECT DESTINY CORPORATION จำกัด โดยเปิดร้านต้นแบบที่ หลังสวน ซอย 5 วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แก่ วัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน และชาวต่างชาติ โดยรายได้ของร้านต้นแบบ ขายระหว่างพักเที่ยวประมาณ 2 ชม. เฉลี่ยประมาณวันละ 1,000 กว่าบาท 
 
มาโนช อธิบายแฟรนไชส์ แบ่งเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ 1. ราคา 8,000 บาท มีอบรมวิธีการทำ - ใบชา 10 ถุง - เครื่องปรุงต่างๆ 2. ราคา 23,000 บาท ได้ป้าย การอบรม พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 3. ราคา 36,000 บาท ได้คีออส อบรมวิธีการทำ อุปกรณ์ครบชุด 4.ราคา 50,000 บาท เป็นบูท การอบรม และอุปกรณ์ครบชุด และ 5. ราคา 99,000 บาท เป็นบูท อบรม อุปกรณ์ครบชุด ทั้ง 5 ระบบดังกล่าว ไม่มีค่า Royalty Fee ไม่หักเปอร์เซ็นต์การขาย และกำหนดว่า ต้องรับวัตถุดิบใบชา (450 กรัม ราคา 320 บาท ทำได้ 250 แก้ว) และผงผสมชา จากบริษัทฯ เท่านั้น 
 
ระยะเวลาในการคืนทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยของทำเล การบริการของผู้ขาย ส่วนราคาขายปกติ แก้วละ 25 บาท ทว่า ให้สิทธิแฟรนไชซีปรับราคาได้ตามความเหมาะสม โดยแนะนำว่า ควรเริ่มต้นที่แก้วละ 20 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนจริงๆ ต่อแก้วประมาณ 6 บาท หากขายได้วันละ 20 แก้ว จะคืนทุนได้ใน 3 เดือน 
 
นอกจากชาแล้ว ในคีออสยังมีที่ว่างให้วางขายขนมต่างๆ เช่น คุกกี้ ขนมปัง สำหรับกินคู่กับชา ทั้งนี้ ไม่ได้บังคับว่าต้องรับจากบริษัทฯ แฟรนไชซีสามารถหาขนมอื่นๆ มาขายเสริมเองได้ 
 
นักธุรกิจหนุ่มเผยต่อว่า หลังจากเปิดตัวแฟรนไชส์มาได้แค่ 2 เดือน ขณะนี้มียอดจองแน่นอนแล้วกว่า 20 ราย โดยเป้าที่วางในปีนี้ อย่างน้อยขยายถึง 50 แห่ง นอกจากนี้ เตรียมที่ขายมาสเตอร์แฟรนไชส์ด้วย ซึ่ง มีลูกค้าจากดูไบ มาติดต่อแล้ว 
 
 
 
ส่วนการควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์นั้น เขา บอกว่า เป็นจุดที่ให้ความสำคัญสูง เพราะถ้าแบรนด์เสีย จะกลายเป็นจุดอ่อนของธุรกิจทันที ดังนั้น จึงยอมลงทุนในการว่าจ้างกูรูด้านแฟรนไชส์ มาเป็นผู้วางระบบให้ทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นการร่างสัญญา ระเบียบการยกเลิกแฟรนไชส์ เป็นต้น ซึ่งมั่นใจว่า จะสามารถรักษามาตรฐานของแฟรนไชส์ไว้ได้ 
 
“ทุกวันนี้ แฟรนไชส์เกิดขึ้นจำนวนมาก .ซึ่งประมาณ 90% ก็ไปไม่รอด เพราะผู้ขายแฟรนไชส์เน้นปล่อยจำนวนมาก ไม่เก็บค่า Royalty Fee เพื่อจูงใจคนให้เข้ามามากๆ ซึ่งมันผิดหลักการของธุรกิจแฟรนไชส์ ผมจึงเน้นให้ธุรกิจอยู่ได้ ต่อเมื่อแฟรนไชซีอยู่รอดได้” 
 
สำหรับระบบจัดส่งวัตถุดิบถ้าเป็นในเขต กทม. บริการฟรี ส่วนต่างจังหวัดคิดค่าบริการตามแต่ระยะทาง ส่วนการทำเลขาย แนะนำว่า ควรเป็นแหล่งชุมชน ในย่างวัยรุ่น คนทำงาน โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะหาสถานที่เองก่อน ส่วนบริษัทฯ จะช่วยเหลือแนะนำพื้นที่ว่างต่างๆ ซึ่งบริษัทฯ พันธมิตรต่างๆ มาเสนอไว้ให้พิจารณา 
 
ทุกวันนี้ แฟรนไชส์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแห่ออกมาจำนวนมาก มาโนช แสดงความเห็นว่า ไม่กังวลกับการแข่งขันสูง เพราะยอมรับการลอกเลียนแบบย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ยังมั่นใจในจุดเด่นของแฟรนไชส์ชาอินเดีย “the Indian tea” เนื่องจากมีเสน่ห์ที่ความแปลก เป็นเจ้าแรก และสร้างแบรนด์ให้จดจำมาก่อน 
 
แผนการตลาดในอนาคตนั้น จะพยายามออกรสชาติใหม่ๆ สม่ำเสมอ อีกทั้ง ทำตลาดในวงกว้างด้วยการบรรจุขวดส่งขายตามร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทั่วไป และจุดสูงสุด คือ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจดในฐานะผู้นำในวงการชาอินเดีย 
 
โทร.08-6777-4973 
 
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,449
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,291
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
80,968
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,187
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,373
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,366
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด