บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    แอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์
265
2 นาที
9 พฤษภาคม 2568
รวม 10 แอปหางาน! สร้างรายได้เพิ่มขึ้นทันที
 

รายได้เฉลี่ยของคนที่ทำงานประจำ 15,000 – 20,000 บาท บางคนรับจ้างรายได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 – 500 บาท แต่ค่าครองชีพทุกวันนี้ปรับตัวสูง รายได้ที่มีไม่พอกับรายจ่าย การหารายได้เพิ่มคือสิ่งที่ต้องการ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้การหารายได้เพิ่มเป็นเรื่องง่าย แต่ละแอปก็มีจุดเด่นในตัวเอง เคล็ดลับการเลือกก็ต้องให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของตัวเองด้วย
 
1. Upwork 
 
ภาพจาก https://www.upwork.com/

เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมโยงธุรกิจและมืออาชีพอิสระ ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นตลาดฟรีแลนซ์ที่ใหญ่สุดในโลก มีฟรีแลนซ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ถึง 12 ล้านคนและลูกค้า 5 ล้านคนทั่วโลก เหมาะสำหรับการสร้างรายได้เสริมจากงานหลัก วิธีการใช้งานเริ่มจากลงทะเบียนในแพลตฟอร์ม กรอกประวัติส่วนตัว ทักษะ โดยมีงานให้เลือกเยอะมาก ข้อสำคัญคือหากมีการจ้างต้องทำสัญญาจ้างงานผ่านแอปเท่านั้น
 
2. Survey Junkie
 

ภาพจาก https://bit.ly/4d8s4eV

เป็นแอปที่หาเงินได้จากการทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจ มีวิธีการสมัครสมาชิกที่ง่ายและสามารถเริ่มทำแบบสอบถามเพื่อสะสมคะแนนได้ทันที เมื่อคะแนนสะสมถึงขั้นต่ำที่กำหนด ก็สามารถแลกเป็นเงินสดหรือบัตรของขวัญได้ ซึ่งผู้สนใจใช้งานแอปนี้ต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่าหากต้องการถอนเงินสดออกมาต้องมีแต้มสะสม 500 คะแนนขึ้นไป
 
3. Daywork
 
ภาพจาก https://daywork.co/

เป็นบริการจัดหาคนทำงาน/พนักงาน พาร์ทไทม์ให้กับบริษัท ห้างร้าน รวมถึงออแกไนซ์ต่างๆที่ต้องการกำลังคนเข้าไปช่วยงาน โดยเน้นไปที่รูปแบบการทำ งานพาร์ทไทม์ ซึ่งมีกว่า 700 บริษัทที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์ม และมีกว่า 600,000 ผู้ใช้งานที่พร้อมรับมอบงาน เป็นบริการที่ครบจบในที่เดียวได้ประโยชน์ทั้งนายจ้างและผู้ที่ต้องการหางานสร้างรายได้เพิ่ม
 
4.TEMP
 
ภาพจาก www.temp.in.th

แอปพลิเคชันสำหรับหางานพาร์ทไทม์ในร้านอาหารและคลังสินค้า สามารถเลือกเวลาที่สะดวกในการทำงานได้ เช่น อาจสมัครงานเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงที่มีเวลาว่าง วิธีการใช้งานคือกรอกข้อมูลในแอพพลิเคชั่นให้เรียบร้อย  แล้วทำแบบทดสอบความเข้าใจ เมื่อถึงถึงกำหนดวันที่ต้องไปทำงานแอพจะส่งข้อความไปแจ้งเตือน โดยค่าจ้างจะจ่ายในรูปแบบของเครดิต ซึ่ง 1 เครดิต = 1 บาทที่จะโอนเข้าบัญชีในวันถัดไปหลังจากทำงานนั้นๆ
 
5. FreelanceBay
 

ภาพจาก www.freelancebay.com

เว็บไซต์ศูนย์กลางสำหรับคนที่ต้องการหาฟรีแลนซ์มืออาชีพเชื่อมต่อกับผู้ว่าจ้างและฟรีแลนซ์มากกว่า 50,000 คน เน้นงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมต้องการหาความอิสระในการทำงาน แต่มีความเชี่ยวชาญในความรู้ด้านที่ถนัดพร้อมผลงานที่ดี หากผู้ประกอบการสนใจและต้องการว่าจ้าง ก็สามารถเข้ามาดูความสามารถ และผลงานของผู้สมัครได้ทันที
 
6. Onboardfreelance
 
เป็นอีกแพลตฟอร์มหางานพาร์ทไทม์เพื่อสร้างรายได้ สามารถสร้างโปรโฟต์ในแอพพลิเคชัน พร้อมอัพโหลดผลงานส่วนตัวแนบไปกับใบสมัคร เพียงแค่นี้ก็สามารถประกาศหางาน Freelance ได้ทันที นอกจากนี้ทางแอพพลิเคชันต์ยังการันตีถึงความน่าเชื่อถือของผู้ว่าจ้าง และมีบทความดีๆให้อ่านเป็นความรู้ รวมถึงอีกหลายฟังก์ชันน่าสนใจที่มีประโยชน์ต่อผู้ต้องการใช้งานเป็นอย่างมาก
 
7. Freelancer
 

ภาพจาก www.freelancer.com

ในเว็บไซต์นี้ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งจะมีงานดีๆ มานำเสนอและต้องการหาคนทำงานอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นคือมีการประมูลงาน เพื่อให้ได้งานและได้คนที่มีโปรโฟล์ เข้ากับงานได้มากที่สุด รวมถึงเป็นการสู้กันในเรื่องของค่าแรงที่เหมาะสมระหว่างคนต้องการทำงาน แม้จะเหมือนเป็นเว็บไซต์ที่การแข่งขันสูง แต่คุณภาพของงานและรายได้ถือว่าน่าสนใจมาก 
 
8. Thaifreelanceagency
 
ภาพจาก https://bit.ly/44v3z9j

เป็นเว็บไซต์ที่รวมงานฟรีแลนด์คุณภาพ หาคนมาทำงาน ทั้งพาร์ทไทม์และประจำ โดยมีงานหลากหลายรูปแบบให้เลือกได้ตามทักษะและความเหมาะสม ถือเป็นเว็บไซต์หางานที่คนให้ความสนใจมาก มียอดเข้าชมมากกว่า 100,000คน ครบจบทั้งหางานและหาฟรีแลนซ์ สมัครใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
 
9. Fiverr
 
ภาพจาก https://www.fiverr.com/

แพลตฟอร์มหางานพาร์ทไทม์และประจำที่ก่อตั้งโดยชาวอิสราเอล ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ระดับโลกมีบริษัทใหญ่ให้ความสนใจเข้ามาหาฟรีแลนซ์ไปทำงานด้วยกันจำนวนมากสำหรับการค้นหาและจ้างงานฟรีแลนซ์ มีหลากหลายสายงาน 
 
ปัจจุบัน Fiverr ให้บริการฟรีแลนซ์ในกว่า 160 ประเทศ และผู้ว่าจ้างที่เข้ามาหาฟรีแลนซ์ที่เป็นแบรนด์ใหญ่ๆ ก็มีทั้งลอรีอัล, ไบท์แดนซ์ และยูนิลีเวอร์ เป็นต้น
 
10. Fastwork
 
ภาพจาก https://fastwork.co

ในแพลตฟอร์มนี้ได้รวมอาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน รวมแล้วมากกว่า 90 หมวดหมู่ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ต้องการหางานฟรีแลนซ์และงานประจำ โดย Fastwork.co มีฟรีแลนซ์ที่ผ่านการคัดกรองคุณภาพแล้วกว่า 50,000 คน อีกทั้งยังการันตีด้วย 150,000 กว่าชิ้นงานที่สำเร็จจากบริษัทชั้นนำที่มาตามหาฟรีแลนซ์ร่วมงาน
 
ทั้งนี้ในแต่ละแอปก็มีรายละเอียดที่แตกต่าง และการหารายได้จากแอปอาชีพเสริมเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางหนึ่ง 
 
ถ้าต้องการความมั่นคงได้แท้จริง จำเป็นต้องมีวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพแบ่งเงินเก็บ เงินออม และเงินบางส่วนสำหรับการลงทุนเพื่อเสถียรภาพทางการเงินที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป
 
ขอบคุณข้อมูล:
 
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
517
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
394
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
370
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
369
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
355
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด