บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
1.3K
2 นาที
23 สิงหาคม 2567
“ค่า Rebate” การตลาดเหนือชั้นของ “โมเดิร์นเทรด” 
 

Modern Trade คือ การขายสินค้าในช็อปสโตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับความนิยมจากลูกค้ามาก มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
  • ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เช่น Central, Robinson, The Mall
  • ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ได้แก่ Lotus’s และ Big C
  • ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) เช่น Tops, Max Value, Villa Market, Home Fresh Mart
  • ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เช่น 7-11, Lotus Express, Family Mart, Jiffy, CJ Express, Big-C Mini
  • ร้านค้าขายสินค้าเฉพาะทาง (Specialty Stores) เช่น Watsons, Boots Eveandboy, Beautrium, Sephora 
  • ตลาดสดและร้านค้าส่ง (Cash and Carry) เช่น Makro

ถ้าไปดูตัวเลขรายได้จะพบว่าธุรกิจนี้กำไรดีเกินคาด ลองยกตัวอย่าง Big-C อ้างอิงจากตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2566 พบว่ามี
  • ร้านค้าปลีกในแบรนด์และโมเดลต่าง ๆ รวมกัน 1,969 สาขา รายได้รวมของปี 2566 อยู่ที่ 114,030 ล้านบาท 
  • กำไรสุทธิ อยู่ที่ 3,709 ล้านบาท ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกันอย่าง โลตัสซึ่งมีสาขารวมกว่า 2,600 แห่ง ก็มีหลากหลายโมเดล
  • ในเครือ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 มีรายได้รวม 126,656 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,176 ล้านบาท
และก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการจะเอาสินค้าของเราไปวางขายในโมเดิร์นเทรดเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
 
1. ค่าเปิด Account ครั้งแรก (เสียครั้งเดียว) เป็นเสมือนค่าแรกเข้า เพื่อแลกกับการรับบริการ จำหน่ายสินค้าบนชั้นวาง หรือ Shop, สรุปรายงานการขายรายเดือน, ดูแลสินค้าและอื่นๆ
 
 
2. Entrance Fee ซึ่งทุกแบรนด์ต้องจ่าย หากจะนำสินค้าเข้าไปวางขาย โดยจะคิดจากจำนวน SKU ของสินค้าที่จะวาง ซึ่งแต่ละร้านค้าปลีกสมัยใหม่จะมีค่าใช้จ่ายต่างกัน เช่น 5,000 บาท / 1-4 SKU หรือ 10,000 บาท / 5-10 SKU เป็นต้น
 
3.ค่า Gross Profit (จีพี) คือ รายได้จากการขายสินค้าของแต่ละแบรนด์ใน Modern Trade จะเรียกเก็บจากเจ้าของแบรนด์สินค้าประมาณ 30-40% จากรายได้จากการขายสินค้า
 
4.Distribution Center (ดีซี) ค่าดีซี เป็นค่ากระจายสินค้า และขนส่งสินค้า ซึ่งในบาง Modern Trade อาจจะหักค่าดีซีจากยอดขายสินค้าของแต่ละแบรนด์ประมาณ 1-3% 
 
แต่สังเกตไหมว่าตามโมเดิร์นเทรดเหล่านี้มักจะมีการจัด “โปรโมชัน” กระตุ้นยอดขายอยู่เสมอ และตรงนี้ก็เป็นอีก 1 ค่าการตลาดแบบเหนือชั้นที่เจ้าของแบรนด์ต้องยอมจ่ายเพิ่มเพื่อให้มียอดขายสินค้าตัวเองเพิ่มขึ้น
 
 
โดยเรียกว่าเป็น “ค่า Rebate” หรือเงินที่เรียกเก็บจากเป้ายอดขายที่ต้องทำให้ได้ตามที่ทางห้างตั้งไว้ ซึ่งจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากน้อยแล้วแต่เพาเวอร์ของซัพพลายเออร์ด้วยว่ามีแค่ไหน ค่า Rebate นี้ โมเดิร์นเทรดมีลูกเล่นทางการตลาดมากมายที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่น หรือการเล่นเรื่องราคา เพื่อผลักดันการขายให้ได้ตามตัวเลขที่สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากซัพพลายเออร์ เป็นส่วนต่างที่อาจจะเรียกอีกอย่างว่า “ค่ารางวัลในการขาย” 
 
ยกตัวอย่าง หากโมเดิร์นเทรดสามารถทำยอดขายได้ตามที่ตกลงกันไว้คือ 1,000,000 บาท จะได้ค่า Rebate 1% ซึ่งก็คือ 10,000 บาท แต่ถ้าหากห้างค้าปลีกสามารถทำตัวเลขได้มากกว่านั้น เช่น ในช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ สามารถทำยอดขายได้ 4,000,000 บาท ก็จะได้ค่า Rebate เพิ่มเป็น 40,000 บาท เป็นต้น
 
 
ซึ่งค่า Rebate นี้ อาจจะออกมาในลักษณะที่จ่ายแบบไม่มีการตั้งเงื่อนไขอะไรเลย ขายมากจ่ายมาก ขายน้อยจ่ายน้อย แปรผันตามยอดขาย หรือการเรียกเก็บในรูปแบบที่ห้างค้าปลีกจะได้ Rebate ก็ต่อเมื่อทำถึงเป้าหมายที่ตั้งร่วมกันไว้
 
การจะให้ค่า Rebate แบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ด้วย หากเป็นแบรนด์ที่ตลาดต้องการ ตัวเลขเปอร์เซ็นต์อาจจะออกมาในลักษณะที่ตกลงกันไว้แบบตายตัวไม่ได้เป็นสเตป เรียกได้ว่า ขายได้มากเท่าไรก็ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ดีลกันไว้
 
 
จะเห็นได้ว่า ModernTrade Marketing มีรูปแบบการตลาดเหนือชั้นหลายอย่าง อาศัยความเป็นเจ้าใหญ่ อำนาจต่อรองเยอะ ใครอยากขายสินค้าได้มากๆ ก็ต้องทำตามเงื่อนไข แต่ในบางกลุ่มสินค้าที่เป็นแบรนด์ใหญ่มากๆ ทางโมเดิร์นเทรดก็อาจต้องไปดีลสินค้าเหล่านี้มาเองเพื่อนำมาวางขาย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจ อำนาจต่อรองระหว่างโมเดิร์นเทรดกับเจ้าของแบรนด์จึงขึ้นอยู่กับว่าฝั่งไหนใหญ่กว่า ฝั่งนั้นก็จะได้เปรียบ
 
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
344
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
328
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด