บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การโฆษณา ประชาสัมพันธ์
11K
5 นาที
11 ตุลาคม 2555
ธุรกิจประชาสัมพันธ์ (Public Relation) กับ AEC

การประชาสัมพันธ์ (Public Relationship หรือ PR) เป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่มีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูล และภาพ ลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ นอกเหนือจากการโฆษณา การขายตรง และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายอื่นๆ สำหรับเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์


อาทิ การจัดทำสื่อโฆษณาขององค์กร (Corporate Advertising) การให้สัมภาษณ์สื่อสิ่งพิมพ์ การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นลักษณะรูปเล่ม หรือแผ่นพับเกี่ยวกับองค์กร การจัดทำประเด็นข่าวสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์ เพื่อเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ และการจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือ CSR เป็นต้น ทั้งนี้นอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุแล้ว การจัดทำ PR ผ่านสื่อออนไลน์ก็เป็นช่องทางก็มี การใช้แพร่หลายมากขึ้น

นอกจากนี้ การทำ PR ยังมิใช่แต่เพียงการสื่อต่อสาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำ PR ภายในองค์ เพื่อสื่อความให้แก่พนักงานในองค์กรให้เข้าใจจุดมุ่งประสงค์ของ องค์กรร่วมกัน
 
ธุรกิจประชาสัมพันธ์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญในการช่วยแนะนำ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ และในบางกรณียังเป็นช่องทางในการชี้แจงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทให้เป็นที่เข้าใจต่อสาธารณะ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ประชาสัมพันธ์กับคนในองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในองค์กร ซึ่งการประชาสัมพันธ์มิได้จำกัดอยู่แค่การทำประชาสัมพันธ์ในกลุ่มบริษัทหรือองค์กรเอกชนเท่านั้น

แต่ได้ขยายไปในหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งมีการทำประชาสัมพันธ์ถึงโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐจัดทำขึ้น และรวมถึงการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยปกติแล้วบริษัทและหน่วยงานภาครัฐจะมีหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของตนเอง
 

 
อย่างไรก็ดี การแข่งขันในโลกการค้าที่มีความเข้มข้นและซับซ้อนมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศทำให้มีความต้องการใช้บริษัทประชาสัมพันธ์ที่มีความชำนาญเข้ามาช่วยวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการทำประชาสัมพันธ์ให้แก่บริษัทหรือภาครัฐ 
 
บริษัทที่ทำธุรกิจประชาสัมพันธ์จะมีความเชี่ยวชาญ และมีความคล่องตัว โดยงานประชาสัมพันธ์จะครอบคลุมในการจัดทำแผนงานประชาสัมพันธ์ กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ โดยผ่านเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาทิ จัดทำประเด็นข่าวและบทความประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่สื่อมวลชน จัดงานแถลงข่าว การจัดงาน PR Event เพื่อแสดงสินค้า และรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร (News Clipping) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา เช่น การทำ CSR (Corporate Social Responsibility) แนวคิดในการทำกิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม การบริจาค (Charitable Donation) การสนับสนุนองค์กรต่าง (Sponsorship) และช่องทางที่กำลัง เป็นที่นิยมในการใช้เป็นสื่อการประชาสัมพันธ์ขณะนี้ คือ สัมคมออนไลน์ หรือ Social Networking 
 
สำหรับธุรกิจประชาสัมพันธ์ขณะนี้ นับเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งจากบริษัทเอกชนและองค์กรภาครัฐ โดยเฉพาะการใช้บริการประชา สัมพันธ์ขององค์กรภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาไทยมีการจัดงานระดับนานาชาติอยู่หลายงาน เช่นในเดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมร่วมคณะ กรรมาธิการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียใต้ครั้งที่ 24 ที่กรุงเทพมหานคร การประชุมทางวิชาการด้านการท่องเที่ยวสีเขียวขององค์การการท่องเที่ยว โลก (UNWTO) ที่จังหวัดเชียงใหม่ และการจัดประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออกหรือ World Economic Forum on East Asia (WEF) ครั้งที่ 21 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการใช้ บริการบริษัทประชาสัมพันธ์กันอย่างเข้มข้น

โดยบริษัทประชาสัมพันธ์มีทั้งบริษัทที่เป็นคนไทยและบริษัทต่างชาติ ซึ่งบริษัทที่เป็นของคนไทยบางรายได้มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ทำ ธุรกิจประชาสัมพันธ์ระดับโลก ซึ่งธุรกิจประชาสัมพันธ์ก็มีการแข่งขันที่สูงไม่แพ้ธุรกิจอื่นๆ เช่นกัน ในแต่ละปีจะมีบริษัทที่ทำธุรกิจประชาสัมพันธ์เปิดใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง 
 
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มตลาดของธุรกิจประชาสัมพันธ์ในไทยในระยะข้างหน้า คงจะต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 โดยอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งเปิดให้สามารถเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ (Skilled Labour) ได้อย่างเสรี เป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง 
 
ปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจประชาสัมพันธ์ไทยมีการตื่นตัวเรื่อง AEC ค่อนข้างมาก โดยมีการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ และมองหาโอกาสการ ขยายตลาดไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันมากขึ้น สำหรับผลจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น จะมีทั้งผลกระทบต่อธุรกิจประชาสัมพันธ์ทั้งในด้านบวก อาทิ โอกาส ในการเติบโตทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่ด้านลบนั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งผลกระทบต่อธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยหรือเงื่อนไขในการทำ ธุรกิจของแต่ละผู้ประกอบการ

ภาวะตลาดธุรกิจประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
 
ธุรกิจประชาสัมพันธ์จัดเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากความต้องการใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมการขายและ แนะนำ บริการ หรือภาพลักษณ์ของบริษัทที่มีมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีความเข้มข้น บริษัทเหล่านี้จึงต้องใช้ช่องทางประชาสัมพธ์ในการที่จะนำเผยแพร่สินค้า หรือบริการ และภาพลักษณ์ของบริษัทออกสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้รวดเร็ว ดังนั้น การประชาสัมพันธ์จึงได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้กันค่อนข้างมากในขณะนี้ 
 
ทั้งนี้ นับได้ว่าตลาดธุรกิจประชาสัมพันธ์ของไทยมีการพัฒนามากขึ้น และมีการเติบโตค่อนข้างมาก ซึ่งบริษัทประชาสัมพันธ์ของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง เห็นได้ว่าบริษัทประชาสัมพันธ์ของไทยบางแห่งเป็นที่รู้จักในระดับโลก จากรายงานของ The Holmes Report ได้จัดอันดับบริษัทที่ประกอบธุรกิจประชาสัมพันธ์ทั่วโลกในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยดูจากรายได้ในปี 2553 พบว่า บริษัทประชาสัมพันธ์ของคนไทย (บริษัทสัญชาติไทย) ติดอันดับที่ 146 และจากจำนวน 250 อันดับที่ถูกจัดขึ้นมีบริษัทจากไทยประเทศเดียวในสมาชิกอาเซียน ที่ติดอันดับ โดยบริษัทประชาสัมพันธ์ที่ติดอันดับใน 250 อันดับ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ และบริษัทจากสหภาพยุโรป 
 
ภาวะธุรกิจประชาสัมพันธ์ก็มีการแข่งขันที่รุนแรง แต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการที่จะสามารถดำรงอยู่ในธุรกิจนี้ คงต้องมีความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ มีกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้า และมีผลงานความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ 
 
สำหรับภาพรวมของตลาดประชาสัมพันธ์ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 7.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 1,850 ล้านบาท โดยการเติบโตของธุรกิจประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการใช้บริการประชาสัมพันธ์ของบริษัทรายใหญ่ที่ต้องการใช้เพื่อสื่อความกับสาธารณะภายหลังจากการฟื้นฟูโรงงาน จากน้ำท่วม และการใช้ประชาสัมพันธ์ของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆของรัฐบาลเช่นกัน ขณะที่ในช่วงที่เหลือของปี 2555 นี้ ยังมีปัจจัยหนุนหลายประการที่ช่วยให้ตลาดประชา สัมพันธ์ในปี 2555 มีมูลค่าสูงขึ้นมาอยู่ที่ 5,800-5,950 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 9.0-12.0 สูงขึ้นจากที่เติบโตประมาณร้อยละ 5.5 ในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยได้รับปัจจัยหนุนจากงานประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ซึ่งมีการจัดงานระดับนานาชาติอยู่หลายรายการ และการจัดงานของภาคเอกชน

ธุรกิจประชาสัมพันธ์ (Public Relation) กับ AEC 2558
 
การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจประชาสัมพันธ์สามารถเติบโตได้ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ และโอกาสในการที่จะขยายฐานลูกค้าในประเทศ ซึ่งตลาดในระยะข้างหน้าจะไม่ใช่เพียงแค่การเข้าถึงฐานลูกค้าคนไทย 60 ล้านคน เท่านั้น แต่ในอนาคต ตลาดธุรกิจประสัมพันธ์อาจสามารถสื่อสารไปถึงผู้บริโภคอาเซียน 10 ประเทศที่มีจำนวนรวมกันประมาณ 600 ล้านคน หรือมีขนาดใหญ่ขึ้นถึง 10 เท่าจากปัจจุบัน 
 
ดังนั้น AEC น่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ที่จะขยายฐานการเติบโตทางธุรกิจ โดยโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นสามารถแบ่งเป็น 2 ตลาด ได้แก่ 
 
ตลาดในประเทศ 
 
สำหรับผลจาก AEC ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนของนักลงทุนทั้งจากประเทศสมาชิกอาเซียนและการลงทุนจากประเทศที่ไม่ ใช่สมาชิกอาเซียน ซึ่งการเข้ามาลงทุนของต่างชาติที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นนั้น น่าจะส่งผลในด้านบวกต่อธุรกิจประชาสัมพันธ์ในประเทศ ซึ่งการที่บริษัทเหล่านี้เข้ามาลงทุนในไทย ทำให้ความต้อง การใช้บริการบริษัทประชาสัมพันธ์นั้นน่าจะมีเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบริษัทใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาตั้งในเมืองไทย ยิ่งต้องการสร้างภาพลักษณ์และต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัทให้เป็นที่ รู้จักแพร่หลายอย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย 
 
นอกจากนี้ AEC ยังเปิดโอกาสให้บริษัทประชาสัมพันธ์จากต่างชาติสามารถเข้ามาตั้งธุรกิจในไทยและยังได้เปิดโอกาสให้เกิดการควบรวมระหว่างบริษัท ธุรกิจประชาสัมพันธ์ต่างประเทศและบริษัทประชาสัมพันธ์ไทย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ซึ่งอาจมีผลต่อบริษัทประชาสัมพันธ์ไทยที่ไม่มีพันธมิตร คงจะต้องมีการปรับตัวการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ 
 
จุดแข็งของบริษัทประชาสัมพันธ์ในประเทศและจุดที่ต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของบริษัท


 
อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัทประชาสัมพันธ์ไทย คาดว่าจะมีเพียงเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทประชาสัมพันธ์ไทยจะมีจุดแข็ง ในเรื่องของความเข้าใจสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค ความต้องการและค่านิยมของกลุ่มลูกค้าในประเทศ อีกทั้งยังมีพันธมิตรเครือข่ายที่เชื่อมโยงและจำเป็นต่อธุรกิจประชา สัมพันธ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สถานีโทรทัศน์ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประชาสัมพันธ์ในประเทศที่ดีกว่าบริษัทต่างชาติ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจไทยอาจจะต้องมีการ พัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของตน

โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพการทำงานของตนให้เป็นระดับสากล การเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิดตัวในไทยเหล่านี้ เพื่อ ที่จะช่วยให้การสื่อสารการทำงานได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น และจะช่วยให้สามารถสื่อสารสิ่งที่ลูกค้าต้องการประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของลูกค้า 
 
ตลาดต่างประเทศ 
 
สำหรับ AEC ที่จะมีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปขยายฐานธุรกิจ ได้ ทั้งนี้ แม้ว่าภายใต้ข้อตกลงการเปิดเสรีภาคบริการจะไม่ได้มีธุรกิจประชาสัมพันธ์รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายธุรกิจประชาสัมพันธ์ไปยังตลาดอาเซียน โดยอาจเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ 
 
บริษัทประชาสัมพันธ์ไทยมีความแข็งแกร่งและเป็นที่รู้จักทั่วโลก และที่ผ่านมาสามารถที่จะเข้าไปบริหารงานประชาสัมพันธ์ในเวทีระดับโลกมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักประกันของผู้ประกอบการในการที่จะใช้ความแข็งแกร่งในจุดนี้ทำตลาดในประเทศอาเซียน ทั้งนี้การเข้าไปทำธุรกิจประชาสัมพันธ์ในตลาดอาเซียนอาจเข้าไปพร้อมกับลูกค้าเดิมที่เป็นบริษัทในไทยซึ่งออกไปลงทุนทำธุรกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเป็นประตูสู่การสร้างฐานธุรกิจในประเทศอาเซียน 
 
สำหรับตลาดประชาสัมพันธ์ในประเทศอาเซียนนั้น หลายๆประเทศ การใช้บริษัทประชาสัมพันธ์ในประชาสัมพันธ์ของภาคธุรกิจและรัฐบาลนั้นมีความเข้ม ข้น อาทิ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีกิจกรรมของธุรกิจประชาสัมพันธ์ที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการจัดงานประชุมระดับโลกมากมาย ซึ่งนับว่าเป็นตลาดการจัดประชุมสัมมนา หรือ Mice (MICE ย่อมาจาก Meetings Incentive Conventions Expositions) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ และที่ประเทศสิงคโปร์มีบริษัทที่ทำธุรกิจประชาสัมพันธ์ระดับโลกมาตั้งสำนักงานใหญ่ อยู่มากมาย

อีกทั้งยังมีบริษัทประชาสัมพันธ์ขนาดกลางและเล็กเป็นจำนวนมาก จึงนับได้ว่าตลาดในสิงคโปร์มีการแข่งขันด้านธุรกิจประชาสัมพันธ์ที่รุนแรง การที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้าไป ขยายฐานธุรกิจในสิงคโปร์คงจะเผชิญความท้าทายอย่างหนัก 
 
ในขณะที่ธุรกิจประชาสัมพันธ์ในประเทศมาเลเซียมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีสมาชิกประมาณ 1,000 รายใน Institute of Public Relations Malaysia ซึ่งมีทั้งบริษัทประชาสัมพันธ์ที่เป็นของต่างชาติและของมาเลเซียเอง

สำหรับโอกาสในการขยายตลาดของธุรกิจประชาสัมพันธ์ น่าจะเป็นประเทศในกลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้ยัง เป็นตลาดใหม่ต่อธุรกิจประชาสัมพันธ์ ซึ่งยังมีโอกาสที่จะสามารถขยายฐานธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจจากไทยนั้น จะมีความได้เปรียบในเรื่องของความใกล้ชิดภาษา และวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายต่อการเข้าไปทำตลาด ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นที่สนใจของบริษัทที่ทำธุรกิจประชาสัมพันธ์ต่างชาติรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก นอกจากจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทเอกชนแล้ว กลุ่มลูกค้าที่สำคัญน่าจะเป็นกลุ่มรัฐบาล ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่เปิดใหม่ ความต้องการที่จะประชาสัมพันธ์ประเทศให้เป็นที่ยอมรับจากต่างชาติน่าจะ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 
 
โดยประเทศในกลุ่ม CLMV ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ คือ พม่า ซึ่งภายหลังจากที่รัฐบาลพม่ามีการเปิดประเทศและปฏิรูปประชาธิปไตย ได้มีนักลงทุนจากหลายๆ ประเทศสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในพม่า แต่ธุรกิจประชาสัมพันธ์ในพม่ายังนับว่าค่อนข้างใหม่ ความต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำประชาสัมพันธ์จึงมีอยู่มาก 
 
อย่างไรก็ดี การที่ผู้ประกอบการธุรกิจประชาสัมพันธ์จะเข้าไปขยายฐานการลงทุนในประเทศอาเซียน คงจะต้องมีการเตรียมความพร้อม นอกเหนือจากการทำความเข้าใจลักษณะการดำเนินธุรกิจในประเทศนั้นๆ แล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการได้ อาทิ การศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งต้องยอมรับว่า ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศนี้ (รวมถึงไทย) มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และประเพณีอยู่พอสมควร ซึ่งการที่จะทำธุรกิจประชาสัมพันธ์ในประเทศ นั้นๆ คงจะต้องมีการศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ในการทำประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายได้ 
 
นอกจากนี้ การศึกษาภาษาท้องถิ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความแตกต่างทางภาษาเป็นความท้าทายของผู้ประกอบธุรกิจประชา สัมพันธ์ที่ต้องการรุกตลาดไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน การเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และจะช่วยแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ 
 
สรุป 
 
ธุรกิจการประชาสัมพันธ์ในปี 2555 นี้ คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดประมาณ 5,800-5,950 ล้านบาท ล้านบาท โดยธุรกิจประชาสัมพันธ์นั้นได้แรงขับเคลื่อนมา จาก 2 ตลาดสำคัญ ได้แก่ บริษัทเอกชน และองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการประชาสัมพันธ์เป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจและรวมถึงระดับประเทศ ในปัจจุบันบริษัทใหญ่ๆ หลาย แห่งได้ใช้บริษัทประชาสัมพันธ์ในการบริหารและวางแผนการประชาสัมพันธ์ เช่นเดียวกับรัฐบาลที่มีความต้องการใช้บริษัทประชาสัมพันธ์มากขึ้น 
 
อย่างไรก็ดี ในระยะเวลาต่อจากนี้ไปธุรกิจประชาสัมพันธ์มีปัจจัยขับเคลื่อนทางธุรกิจใหม่เกิดขึ้น คือ ตลาดประชาสัมพันธ์ในอาเซียน การรวมกลุ่มเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 คาดว่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการในการที่จะขยายฐานธุรกิจไปยังประเทศที่ยังมีช่องว่างในการทำตลาด

เช่น กลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นประเทศที่ธุรกิจประชาสัมพันธ์ยังมีผู้เล่นที่ไม่สูงมากนัก และตลาดยังมีแนวโน้มการเติบโตที่สูง อย่างไรก็ดี การที่ผู้ประกอบการบริษัทประชาสัมพันธ์ต้องการที่จะใช้ โอกาสของ AEC ในการที่จะขยายฐานธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น คงจะต้องมีการเตรียมความพร้อม ศึกษาและเข้าใจลักษณะการดำเนินธุรกิจของคนในชาตินั้น ทั้งศึกษาวัฒนธรรม และภาษาท้องถิ่น เพื่อง่ายต่อการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศนั้นๆ 

อ้างอิงจาก KSMECare
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
513
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
379
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
367
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
366
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
350
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด