บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.0K
2 นาที
13 มิถุนายน 2562
การบริหารความเสี่ยง Professional Risk Management
 
ภาพจาก https://bit.ly/2WDRjBO

อยากเขียนเรื่องนี้มากเลยนะครับ เพราะหลายๆองค์กรหรือ SME ส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้ เคยเขียนเรื่อง Business Cycle ไปในหลายบทความแต่คนไม่เจอจะไม่รู้เลยว่าเรื่องนี้ คือ เรื่องที่ธุรกิจต้องเจอแน่นอนไม่ช้าก็เร็วตามอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้  https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=4507
 
ระบบ Safety ที่ดีของเครื่องบิน คือ จะต้อง มีอะไรบ้างที่เรารู้กัน ต้องมีเครื่องยนต์สำรองอย่างน้อย 2 เครื่องยนต์ เพื่อลดความเสี่ยงจากสิ่งที่อาการเครื่องบินขัดคร่อง อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจได้ให้กับผู้โดยสารไปด้วย ธุรกิจก็เช่นกัน
 
จำเป็นต้องมี 2 เครื่องยนต์ เพราะสามารถที่จะลดภาระความเสี่ยงได้ แต่การลดความเสี่ยงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้เจอประสบการณ์มาก่อนแล้วใช่ไหม ? ข้อนี้น่าสนใจมากนะครับกับ SME ที่ต้องสร้างระบบการบริหารความเสี่ยง ใครอยู่ในสายโรงงานผลิตอาหารเคยได้ยินคำว่า “ HACCP “ มันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกัน 
 
ภาพจาก https://bit.ly/31DS5xw

HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis Critical Control Point หมายถึง การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร

ทุกๆส่วนของอุตสาหกรรมก็มีส่วนของความเสี่ยงมาเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้นในบทความนี้จะเล่าถึงความเสี่ยง จะอยู่ในส่วนที่ 9 ในแผนธุรกิจ : หัวข้อการวางแผนความเสี่ยง Risk management plan 
 
ปัจจัยความเสี่ยงที่ใช้ในการกำหนดระดับความเสี่ยงระดับประเทศ อาจจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
  1. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic Risk)
  2. ความเสี่ยงทางการเมือง (Political Risk)
  3. ความเสี่ยงของระบบการเงิน (Financial System Risk)
อยากให้เห็นภาพกว้างๆก่อนของธุรกิจ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความเสี่ยงของการเงินในหัวข้อความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งใช้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ และเงินบาท เป็นเงินสกุลหลักที่ใช้ในการดำเนินการ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คือความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการเนื่องจาก 

 
ภาพจาก https://bit.ly/2wQreQt
  • การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลให้ธุรกิจประสบปัญหาทางด้านการเงิน 
  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นความเสี่ยงที่ธุรกิจสามารถบริหารจัดการได้ 
  • การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนช่วยทำให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์รายได้และ  
ต้นทุนเพื่อการวางแผนธุรกิจ และส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน แนวทางของบริษัทฯ ในการลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น บริษัทฯ ได้บริหารความเสี่ยงโดยการใช้เครื่องมือทางการเงินดังนี้
  1. ควบคุมปริมาณการขายสินค้าล่วงหน้า มีการทำสัญญาซื้ออัตราแลกเปลี่ยน -ล่วงหน้าไว้บางส่วน  
  2. มีการวางแผนใช้เงินสกุลต่างประเทศที่ได้จากการส่งออกไปชำระค่าวัตถุดิบและวัสดุหีบห่อที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการบริหารด้วยวิธีป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า     
เราคงจำได้ว่าปี 40 หลายๆบริษัทเจอผิดของฟองสบู่แตก แบบไม่ทันต้องตัวหลายบริษัทถึงขั้นหมดตัวกันเลย    มันจึงเป็น  1 ปัจจัยที่มีผลกระทบจากภายนอกเข้ามาหาเราแบบไม่ได้มีแผนรองรับ

และต้องยอมรับสภาพแบบนั้นกันใช่ไหม เมื่อไม่ยอมเราต้องรู้อะไรกันบ้าง เราควรต้องรู้เป้าหมายขององค์กรเราก่อนเลย สิ่งที่อยากให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจเรื่องการรับรู้ความเสี่ยงอะไรบ้างขององค์กรเรา
 
โดยการประเมินความเสี่ยง และหาวิธีจัดการความเสี่ยง Basic เลยนะครับ  รับรู้ต้นทุนขององค์การที่เราเรียกว่า Fix Cost ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คงที่ ค่าพนักงาน ค่าเช่า และอีกส่วน คือ Variable Cost คือ ค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบต่างๆ ผลิตมากก็ค่าใช้จ่ายมาก การวางแผนจึงสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ จากต้นทุนที่แปรผัน การพยาการณ์ยอดขายต้องคำนวณให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่จะต้องผลิต มันจึงต้องเข้าใจในเรื่องของ Business Cycle


ภาพจาก https://pixabay.com
 
ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำเข้าสู่ตลาด (Introduction stage)
  1. ยอดขายจะต่ำ หรือ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
  2. ต้นทุนสูง( ผลิตน้อย )
  3. กำไรน้อยมาก( ต้นทุนสูง )
  4. การจัดจำหน่ายอยู่ในขอบเขตจำกัด
ขั้นที่ 2 ขั้นเจริญเติบโต (Growth stage) มีลักษณะคือ
  1. ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว( สินค้าเริ่มติดตลาด )
  2. กำไรสูงขึ้น ตามยอดขาย( ผลิตมากและเรียนรู้มาก )
  3. คู่แข่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ( คู่แข่งขันเริ่มเห็นว่าตลาดขยายตัว )
  4. มีการกระจายการจัดจำหน่ายให้กว้างขึ้น ( ตลาดขยายตัว )
ขั้นที่ 3 ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity stage)


ภาพจาก https://pixabay.com

ยอดขายเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุดและจะเริ่มลดลง เนื่องจากตลาดใกล้ถึงจุดอิ่มตัวและมีคู่แข่งขันมากมีลักษณะดังนี้ คือ
  1. ยอดขาย และ กำไร จะสูงถึงจุดสูงสุด และเริ่มลดลง
  2. ต้นทุนลดลง(ผลิตมาก)
  3. เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย(เพื่อขายให้ได้มากขึ้น)
  4. ปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ(เพื่อยืดระยะเวลาให้สินค้าอยู่ในตลาดนานขึ้น)
ขั้นที่ 4 ขั้นตกต่ำ (Decline stage) มีลักษณะ ดังนี้
  1. ยอดขายลดลงมาก(สินค้าไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป)
  2. กำไรลดลง(ขายได้น้อย/ผลิตน้อย)
  3. คู่แข่งลดลง(ออกจากอุตสาหกรรมหรือเปลี่ยนแปลงสินค้า)
ทางออกของธุรกิจ คือ  


ภาพจาก https://pixabay.com
  • เลิกกิจการหรือเลิกผลิต(ขาย)สินค้าที่ไม่มีกำไร
  • เปลี่ยนตลาดหรือเปลี่ยนส่วนตลาด แก้ไขปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ทำไมถึงย้ำ เรื่องนี้ เพราะขายองค์การขายดี แต่ไม่มีแผน ไม่ได้เอากำไรไปต่อยอด เอาไปทำสิ่งที่ไม่ถนัดก็จะเกิดปัญหาภาระหนี้สิ้นมากกว่ารายได้  และ SME เมืองไทยส่วนใหญ่เจอสภาวะเช่นนี้
    
เพราะไม่ได้ออกแบบธุรกิจมาก่อนเริ่มต้น เรียนรู้จากสิ่งที่ตัวเองรู้และเข้าใจจากการเป็นลูกจ้างองค์การนั้นๆเคยทำงานในมุมเดิม อยากให้มองมุมกว้างมากขึ้น หรือ วิเคราะห์ปัญหาขององค์เก่าก่อนจะดีอย่างมากตวามเสี่ยงในบทนี้อยากให้เข้าใจเรื่องวงจรของธุรกิจก่อน เพราะเกือบทุกๆธุรกิจจะต้องเป็นเช่นนี้


อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
506
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
365
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
363
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
358
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
346
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
341
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด