ดาวเด่นแฟรนไชส์    เถ้าแก่หญิงพีดีเฮ้าส์ มาลี สุวรรณสุต จากรับเหมาสู่แฟรนไชส์รับส...
8.5K
30 กันยายน 2555
เถ้าแก่หญิงพีดีเฮ้าส์ มาลี สุวรรณสุต จากรับเหมาสู่แฟรนไชส์รับสร้างบ้าน




"พีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น" เจ้าของแฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านรายแรกภายใต้แบรนด์ "พีดีเฮ้าส์" และ "เอคิวโฮม" เป้าหมายที่ต้องก้าวไปให้ถึงคือการเปิดสาขาให้ครบ 50 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีหน้า จากนั้นจะเริ่มขยายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว

เส้นทางเติบโตของพีดีเฮ้าส์ ที่เริ่มจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเมื่อปี 2531 จากนั้นปรับไลน์มาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านเต็มตัว ล่าสุดคือแฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านที่เข้าสู่ปีที่ 3 นอกจาก "พี่ป๋อง-สิทธิพร สุวรรณสุต" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารพีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ดูแลนโยบายและทิศทางองค์กร ยังมีอีกคนที่มีส่วนสำคัญอยู่เบื้องหลังทุก ๆความ สำเร็จของพีดีเฮ้าส์ คนนั้นก็คือ "พี่เล็ก-มาลี สุวรรณสุต" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารพีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น ที่มีสถานะเป็นภรรยาคู่ใจ "ประชาชาติธุรกิจ" ถ่ายทอดบทสัมภาษณ์พิเศษถึงวิธีคิดวิธีบริหารในฐานะเถ้าแก่หญิงพีดีเฮ้าส์

ลูกหม้อ "สหพัฒน์กรุ๊ป"

เธอเล่าว่า ก่อนมาเป็นเถ้าแก่แฟรนไชส์ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ เริ่มต้นงานแรกที่ บมจ.สหยูเนี่ยนในกลุ่มสหพัฒน์ ด้านตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่จะส่งออก รุ่นบุกเบิกตั้งโรงงานรองเท้าไนกี้ ถือว่าเป็นคนลุย ๆ ไม่กลัวงานหนัก เพราะระหว่างทำงานก็ซื้อของมาขายผ่อน เปิดร้านราดหน้าหม้อดินไปด้วย

ขณะที่คุณสิทธิพร (สามี) เรียนจบมาก็เป็นนายช่างรับจ้าง (ลูกจ้างชั่วคราว) ของโครงการสร้างงานชนบท (กสช.) ทำอยู่ 1-2 ปีก็ไปเป็นเซลส์ที่บริษัทรับสร้างบ้านซีคอน ขายบ้านได้เดือนละ 7-10 หลัง แต่ลาออกเพราะได้งานราชการเป็นนายช่างสุขาภิบาลที่คลองหลวง ปทุมธานี กระทั่งประมาณปี 2531 ก็เริ่มเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างควบคู่กัน เริ่มจาก หจก.ปทุมดีไซน์และการก่อสร้าง ปี 2533 ก็ตั้งเป็นบริษัทชื่อ "ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป" และลาออกจากงานราชการมาดูแลรับเหมาอย่างเดียว

แต่ธุรกิจมีขึ้นก็มีลง จากอดีตที่เคยมีงานในมือกว่า 60 ไซต์ มีโฟร์แมน 22 คน มาเจอกับวิกฤตฟองสบู่ปี 2540 ต้องลดพนักงานกว่า 60 คน เหลือ 20 คน...เป็นสิ่งที่เสียใจที่สุดในชีวิตการทำธุรกิจ

"วิกฤตตอนนั้นที่ประคองตัวผ่านมาได้ เพราะได้เพื่อน ๆ คุณสิทธิพรในชมรม นายช่าง สมัยทำงานนายช่างสุขาภิบาล แนะนำงานรับเหมาราชการให้ และได้ซัพพลายเออร์ (ร้านเฮ่งย่งสูง) ช่วยไว้" ทุกวันนี้จึงมี 3 ส่วนที่ไม่ลืมเลย หนึ่งคือคู่ค้า สองคือพนักงาน สามคือหุ้นส่วน


 
ทำวิจัยองค์กรตั้งแต่ปี"43 ย่าง เข้าปี"43 ก็เริ่มฟื้น และตัดสินใจทำรับสร้างบ้านเต็มตัว เพราะราชการบางทีก็เจอขาใหญ่ ช่วงนั้นก็จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำวิจัยองค์กรไปด้วย ประเมินผลพนักงาน ประมวลภาพภายในองค์กร วางผังองค์กร 5 ปีนับจากปี 2542-2547

ปรากฏ ว่าผลงานวิจัยตอนนั้นมีคนรู้จักบริษัทรับสร้างบ้านน้อยมาก ! ระดับจุดทศนิยมเลย กลายเป็นจุดเริ่มของการรวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โดย "สิทธิพร-มาลี" ร่วมเป็นกรรมการในยุคแรกของการก่อตั้ง

ต่อมาเมื่อทำ ธุรกิจแฟรนไชส์รับสร้างบ้านกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการตัดสินใจครั้งสำคัญ กล่าวคือทั้ง 2 คนได้แตกตัวออกมาจัดตั้งสมาคมใหม่ในนาม "สมาคมไทยรับสร้างบ้าน" มีผลให้วงการรับสร้างบ้านมี 2 สมาคมเคียงคู่กันจนถึงปัจจุบัน

กลับมาที่ความเคลื่อนไหวของพีดี เฮ้าส์ กับคำถามที่ว่า จากธุรกิจรับสร้างบ้านที่บริษัทเป็นผู้ลงทุนเอง อะไรที่ทำให้พีดีเฮ้าส์เปลี่ยนแนวมาเป็นระบบแฟรนไชส์

"การลงทุนเองมีข้อจำกัดเรื่องการเติบโต ตอนเริ่มทำแฟรนไชส์เสียงปรามาสเยอะกว่าเชียร์นะ แต่ยิ่งเป็นแรงฮึด"

คุมจัดซื้อ-ล็อกวัสดุ "ราคาเดียว" "พี่ เล็ก-มาลี" เล่าว่า สิ่งที่รับผิดชอบในพีดีเฮ้าส์ คืองานเบื้องหลัง ดูแลงานจัดซื้อ กิจกรรม ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะภารกิจหลักคือดูแลงานจัดซื้อจัดจ้างให้กับแฟรนไชส์มือใหม่ ในนามบริษัทในเครือ "พีดี สยามซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส" ปริมาณออร์เดอร์เฉลี่ยเดือนละเกือบ 20 ล้านบาท จากงานที่อยู่ระหว่างก่อสร้างกว่า 200 หลัง

หน้าที่คือเป็นคนเจรจา ต่อรองราคากับผู้ผลิตจากส่วนกลางหรือเจ้าของสินค้าโดยตรงให้แฟรนไชส์ไปซื้อ กับร้านเอเย่นต์ในพื้นที่ให้เขาสามารถซื้อวัสดุได้ในราคาเดียวกับที่บริษัท สั่งซื้อ เป็นราคาแบบ วันไพรซ์ทั่วประเทศ แต่ค่าขนส่งจะคิดตามระยะทาง เป็นโมเดลธุรกิจแบบเดียวกับที่ "ราคาบ้าน" พีดีเฮ้าส์ก็ขายราคาเดียวทั่วประเทศ แต่คิดค่าขนส่งชิ้นส่วนเสา-คานสำเร็จรูปต่างกันตามระยะทาง เพราะโรงงานผลิตชิ้นส่วนอยู่ในจังหวัดราชบุรี

แต่ก็มีบ้างบางรายการ ที่บริษัทดีลราคาให้ แต่แฟรนไชส์สั่งซื้อเองจากร้านค้าในพื้นที่ เช่น ปูน หลังคา ฯลฯ เพราะถัวราคาสินค้าและค่าขนส่งแล้วถูกกว่า

"การที่ แฟรนไชส์ได้ราคาวัสดุแบบวันไพรซ์ทำให้เขาได้เปรียบคู่แข่ง เพราะรับสร้างบ้านอย่างเดียวมาร์จิ้นไม่เกิน 5-8% แต่พอมาเป็นแฟรนไชส์ได้ซื้อราคาวัสดุแบบวันไพรซ์ อาจจะได้มาร์จิ้นเพิ่มอีก 1-1.5% ถ้างานก่อสร้างผิดพลาดน้อย"


รู้เขารู้เรา เพิ่มสาขาถือหุ้น 100%


 
ตัวอย่าง กรณีจัดโปรโมชั่นลดราคาบ้าน 10% วิธีบริหารคือถ้าเป็นสาขาในภาคใต้ที่มีค่าขนส่งสูงกว่า จะให้จัดโปรโมชั่น ลด 5% เพราะต้องเผื่ออีก 5% ไว้สำหรับค่าขนส่ง แต่ภาคกลางและภาคอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานชิ้นส่วนจะลด 10% เป็นต้น

ถอดรหัสแนวคิดจาก ประสบการณ์ที่ทำแฟรนไชส์รับสร้างบ้าน "มาลี" พบว่า เป้าหมายใหญ่ที่จะมี 50 สาขาทั่วประเทศนั้น จำเป็นที่พีดีเฮ้าส์จะต้องมีสาขาที่ลงทุนเองควบคู่ไปด้วย อย่างน้อยต้องมีสัดส่วน 20% หรือประมาณ 12-13 สาขา เพื่อให้ "รู้เขารู้เรา" ต้นทุนทั้งหมดทั้งมวลระหว่างเครือข่ายสมาชิกแฟรนไชส์กับพีดีเฮ้าส์

ก่อน หน้านี้จึงทยอยเพิ่มจำนวนสาขาที่บริษัทถือหุ้น 100% ด้วยการแลกหุ้นกับผู้ร่วมทุน อาทิ มีการ "แลกหุ้น" โดยสาขานครราชสีมาเดิมพีดีเฮ้าส์ถือหุ้นใหญ่ ก็โอนหุ้นที่ถือทั้งหมดให้กับหุ้นส่วนที่เป็นผู้จัดการสาขา เพื่อแลกกับหุ้นในสาขาอุดรธานีและขอนแก่น

ส่งผลให้ปัจจุบันพีดี เฮ้าส์มี 10 สาขาที่ถือหุ้น 100% อาทิ สาขาอุดรธานี ขอนแก่น ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ รังสิต ตลิ่งชัน ฯลฯ และอีก 5 สาขาที่ถือหุ้น 60-80%

สำหรับเงื่อนไขการลงทุนแฟรนไชส์ "มาลี" บอกว่า ใช้เงิน 2.5-3 ล้านบาท ถ้ายอดขาย 20 ล้านบาท/ปี จะคืนทุนได้ภายใน 1 ปี 2 เดือน แต่โดยเฉลี่ยคือ 1 ปีครึ่ง-2 ปี สัญญาแฟรนไชส์เป็นระยะยาว 15 ปี แต่มีเงื่อนไขทบทวนการต่อสัญญาทุก 5 ปี เพื่อประเมินผล ขณะเดียวกันก็ให้แฟรนไชส์ทบทวนว่าจะโอนหรือขายสิทธิ์ต่อหรือไม่

บทเรียนธุรกิจ "แฟรนไชส์" แล้วกว่า 2 ปีที่ผ่านมาแฟรนไชส์ถามว่ามีแตกแถวหรือไม่ ?

"มีครั้งเดียว ตอนที่ปรับค่ารอยัลตี้ฟีสำหรับแบบบ้านพิเศษที่ต้องออกแบบใหม่ จาก 5% เพิ่มเป็น 6% เพราะแต่ละงานใช้เวลามาก บางครั้งต้องไปหาลูกค้า 7-8 รอบ ตอนแรกแฟรนไชส์บางส่วนไม่ยอม ตอนสุดท้ายคุยกันรู้เรื่อง เพราะมีแฟรนไชส์อีกส่วนที่เขาไม่ขัดข้อง"

ถามถึงเป้าหมายการเข้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ "พี่มาลี" ยอมรับว่าแม้บริษัททำธุรกิจอย่างโปร่งใส มีบัญชีเดียว จ่ายภาษีอย่างถูกต้อง และแฟรนไชส์ทุกรายก็มีบัญชีเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำมาตลอด แต่สถานะบริษัทยังไม่แข็งแรงมากพอ ต้องรอให้มีสาขาที่บริษัทถือหุ้นเอง 100% 13-14 สาขาก่อน เพราะโจทย์ที่จะเข้าตลาดคือ... ผลกำไรและทรัพย์สิน ยอดขายจริง ๆ 500 ล้านบาท ก็เข้าได้แล้ว แต่ผลกำไรถ้าได้ปีละ 5-10 ล้านบาท ยังน้อยไป เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯอาจจะไม่มีใครซื้อหุ้น รอให้บริษัทเปิดตลาดต่างประเทศก่อน แล้วค่อยกลับมาดูอีกที...ก็ยังไม่สาย

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ดาวเด่นแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวบรวมขนมปัง 20 บาท มาเอาใจคนอยากมีร้าน
156,537
ชานมไข่มุกปลุกตลาด 7 พันล้าน เทรนด์‘ไต้หวันกลับซ..
99,314
กาแฟสด ชาวดอย ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ ความคล่องต..
81,015
เนสท์เล่ ปูพรมร้านไอศกรีมลงทุนเอื้ออาทร สานฝันคน..
77,245
ปั่นแหลก น้ำผลไม้สด แซงโค้งเข้าวินสร้างอาชีพ
76,394
“เคพีเอ็นพลัส” แฟรนไชส์อะไหล่มอ’ไซด์ ลั่นขยาย100..
54,403
ดาวเด่นแฟรนไชส์มาใหม่
ดาวเด่นแฟรนไชส์อื่นในหมวด