บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
454
2 นาที
30 ตุลาคม 2567
เศรษฐกิจไทยอ่วม! หนี้ท่วม เอาตัวรอดยาก
 

ปี 2567 มีความท้าทายหลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ประสบปัญหาหนัก ถึงขนาดที่ใครๆ ก็บอกว่า “ถ้ามีงานประจำทำก็อย่าเพิ่งลาออก ให้เกาะงานไว้จะดีกว่า” ไปดูตัวเลข 7 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจไทยปิดกิจการไปแล้วรวมมูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับธุรกิจที่ปิดกิจการสูงสุด ได้แก่ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และอาหาร
 
ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมก็ไม่น้อยหน้ามีข้อมูลระบุว่าในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 2567 มีการแจ้งเลิกทะเบียนโรงงาน 667 แห่ง กระทบการจ้างงาน 17,674 คน หากหาร 6 เดือนจะเท่ากับยอดปิดเดือนละ 111 แห่ง หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็มียอดการปิดมากถึง 86% และจากตัวเลขตรงนี้กระทบไปถึงพนักงานที่ต้องออกจากระบบไปราว 50,000 คนกันเลยทีเดียว
 
หากดูในความเป็นจริงธุรกิจหากเดินหน้าดี มีกำไรก็คงไม่มีใครอยากปิดกิจการ ต้องมีเหตุผลอะไรที่มากพอที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้เหนื่อยและท้อจนไปต่อไม่ได้ ลองมาดูกันว่าเหตุผลข้อไหนที่น่าจะทำให้หนักใจได้มากสุด
 
1.คนเป็นหนี้ ไม่มีกำลังซื้อ
 

เมื่อคนเราเป็นหนี้มากขึ้นนั่นหมายถึงกำลังซื้อที่หดหาย อะไรที่เคยควักเงินซื้อง่ายๆ ก็จะไม่ง่ายอีกต่อไป เมื่อประชาชนรัดเข็มขัดประหยัดการใช้จ่ายเท่ากับธุรกิจต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ถ้าดูตามตัวเลขจะพบว่ากำลังซื้อในภาคธุรกิจลดฮวบ 30-40% กระทบทั้งธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ยิ่งเป็นธุรกิจรายเล็กสายป่านไม่ยาวงานนี้ก็เลือกปิดกิจการซะดีกว่า จึงเกิดภาพร้านค้าปลีก-ค้าส่งภูธร เริ่มถอดใจ ยอมยกธงขาว ทยอยปิดตัวไปหลายราย หรือแม้แต่ร้านค้าร้านอาหารหลายแห่งก็ปิดตัวลงจำนวนมากเช่นกัน
 
2.ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
 

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมีกำไรน้อยลงคือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทุกอย่าง สวนทางกับยอดขายที่ลดลง หากไปดูว่ามีต้นทุนอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง ไล่เรียงกันตั้งแต่ต้นทุนราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ และการขนส่ง และค่าสาธารณูปโภค แน่นอนว่าต้นทุนเหล่านี้มีผลต่อยอดขาย สวนทางกับเรื่องรายได้ของคนที่ลดลงกำลังซื้อที่น้อย ถ้าจะเพิ่มราคาให้สูงก็กลายเป็นขายได้ยากคนไม่อยากซื้อ แต่พอไม่เพิ่มราคาขายก็ทุนหายกำไรหดไปตามๆกัน
 
3.ผลกระทบจากการปรับค่าจ้างแรงงาน 
 

ในมุมมองเจ้าของกิจการการปรับค่าแรงขึ้นคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ยิ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กนี่คือปัญหาใหญ่มาก ซึ่งหากตามนโนบายของภาครัฐที่จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ สมมติฐาน เมื่อคิดจากวันทำงาน 26 วัน จะได้ว่า ค่าใช้จ่ายนายจ้างด้านแรงงานเพิ่มขึ้น16,942 บาทต่อคนต่อปี หรือประมาณ 1,412 บาทต่อคนต่อเดือน หากสถานประกอบการจ้างงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนด 30 คน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4,065,990 บาท หากต้องคิดถึงการต้องปรับค่าจ้างตามลำดับขั้นสำหรับลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างเกิน 400 บาท ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอาจถึง 5 ล้านบาทต่อปี
 
4.ทุนจีนบุกไทย
 

นี่คือปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบกับธุรกิจในปีนี้มาก ซึ่งการเข้ามาของสินค้าจากจีนทำให้ตัดราคาสินค้าในเมืองไทย คนก็แห่ไปใช้บริการ ไหนจะของที่มีให้เลือกเยอะกว่า ราคาถูกกว่า และที่สำคัญทุนจีนที่เข้ามาเมืองไทยมีตั้งแต่สินค้าชิ้นใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ จนถึงสินค้าชิ้นเล็กอย่างเสื้อผ้า เครื่องประดับ ไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม

เอาแค่เรื่องใกล้ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มตอนนี้ก็มีหลายแบรนด์จีนเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยไล่ตั้งแต่ MIXUE , WeDrink , Zhengxin Chicken , Cotti Cofee รวมไปถึง TEMU ที่เป็นแพลตฟอร์มสินค้าออนไลน์ด้วย ก่อนหน้านี้ที่ฮือฮาก็เห็นจะเป็น “กางเกงช้าง” ที่ทำมาแข่งกับของไทย แถมราคาถูกกว่า หรือแม้แต่ชามตราไก่ ที่ขายราคาต่ำกว่าทุน 3-5 เท่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการและโรงงานเซรามิกในลำปาง ได้รับกระทบอย่างหนักด้วย
 
5.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
 

เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวเป็นความท้าทายต่อการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งขยายตัวได้เพียง 2% ในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ภาวะตลาดการเงินโลกเกิดความผันผวน ยังรวมถึงปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวสูงมาก ยิ่งตอกย้ำให้ธุรกิจส่งออกมีปัญหาไม่นับรวมปัญหาจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ยังไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในทุกประเทศที่ต้องวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
 
หลายปัญหาที่กล่าวมาอาจเป็นผลกระทบแบบสะสมที่สุดท้ายแล้วก็แก้ปัญหาไม่ได้จนต้องหาทางออกด้วยการปิดกิจการ ซึ่งในปี 2568 ที่จะมาถึงนี้ก็คาดว่าปัญหาเหล่านี้จะยังไม่หมดไป ดังนั้นการทำธุรกิจใด ๆก็ตามต้องวิเคราะห์และมีแผนสำรองในการทำธุรกิจที่ชาญฉลาด ในวิกฤติยังมีโอกาส ขณะที่หลายธุรกิจได้ปิดตัวไปแต่ก็มีหลายธุรกิจที่เปิดตัวใหม่และมีกำไรได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องวิสัยทัศน์ในการบริหารเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
494
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
349
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
348
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
348
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
336
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
331
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด