บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
6.2K
2 นาที
19 กุมภาพันธ์ 2557
รู้เขารู้เรา....ก่อนเข้าสู่ AEC ตอน ฟอร์มดีและห่วงโซ่ธุรกิจ..กำหนดชะตาธุรกิจได้

ในตอนที่แล้วได้เปิดประเด็นปัญหาของคนไทยในฐานะประชากรอาเซียน ว่าค่อนข้างอ่อนด้อยกว่าประชากรอาเซียนของอีก 9 ประเทศเขาตรงเรื่องศักยภาพการใช้ภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง แถมด้วยยังไม่สนใจภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างภาษา บาฮาซา หรือมาเลย์ ที่ใช้พูดกันอยู่ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย  บรูไน และตอนใต้ของประเทศไทย
 
นี่ยังไม่นับรวมภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาพม่า ที่คนของเขาเข้ามาทำงานในประเทศไทยอยู่มากมายฟังและพูดภาษาไทยรู้เรื่องเป็นอย่างดี  และยังมีภาษาเวียตนามที่เศรษฐกิจรวมถึงการพัฒนาประเทศของเขาจี้หลังไทยมาแบบหายใจรดต้นคอ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วคนไทยจะแข่งขันกับเขาในตลาดแรงงาน และตลาดการค้าที่เปิดเสรีต่อกันได้แค่ไหน  และเราต้องเร่งใช้เวลาที่เหลืออีก 3 ปีนี้  ฝึกฝนคนของเราให้มีความสามารถเฉพาะตนในการพูดภาษาอังกฤษ  ภาษาของคู่เจรจาการค้าและภาษาอื่นๆในอาเซียน   ให้พูดกับเขาได้รู้เรื่องไปแล้ว

ครั้งนี้จะขอยกเรื่อง “ ห่วงโซ่ธุรกิจ” มาเป็นหัวข้อที่ SMEs ไทยพึงต้องเตรียมตัวศึกษาหาข้อมูลไว้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้ไม่พลาดพลั้งในการดำเนินธุรกิจหากจะมุ่งตลาดนอกประเทศไม่ว่าจะเรื่องส่งออกสินค้า  หรือย้ายฐานการผลิตสินค้าไปอยู่ในประเทศที่ต้นทุนค่าแรงถูกกว่า  มีวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมได้มากกว่า ฯลฯ
 
เนื่องด้วยไม่ว่าในหลักการของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน หรือ AEC จะดูสวยหรูว่าต่อไปนี้เราทั้ง 10 ประเทศจะรวมตัวกันเสมือนดังแผ่นดินเดียว  เป็นฐานการผลิตสินค้าให้กันและกันและจับมือกันค้าขายเป็นตลาดเดียวกันอย่างไรก็ตาม  แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ  ความเป็นรัฐประเทศของแต่ละประเทศนั้นยังคงอยู่   ดังนั้นผลประโยชน์ของประเทศตนย่อมสำคัญกว่า  

เมื่อเป็นเช่นนี้มาตรการกีดกันสินค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีศุลกากร [ Non Tariff  Barrier : NTB ] ที่แต่ละประเทศคู่ค้า  จะสรรหาวิธีการนำออกมาใช้หรือหาเหตุเป็นข้ออ้างไม่ให้สินค้าของประเทศอื่น  เข้าสู่ตลาดในประเทศของตนได้โดยสะดวก ย่อมมีแน่นอน  เช่น   วิธีการง่ายๆแค่เรื่อง   ทำให้รถขนสินค้าเสียเวลารอผ่านด่านบริเวณพรมแดนนานเป็นพิเศษสินค้าถึงมือลูกค้าช้ากว่ากำหนด  หรือกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องมาตรฐานสินค้าที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดประเทศอาเซียนที่ขณะนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขอนามัยและคุณภาพสินค้า

และที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง “ ข้อตกลงถิ่นกำเนิดสินค้า” ที่ชี้ชัดลงตรงเรื่องของสัดส่วนของต้นทุนการผลิตสินค้าที่กำหนดไว้ว่า  สินค้านั้นต้องมีต้นทุนผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศของตนเอง 40 %  ใช้ต้นทุนจากประเทศอาเซียนอื่น  60 %  เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานเดียว ที่ทำหน้าที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน  เรียกว่า ฟอร์ม ดี นี้ได้
 
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ นี้  (Preferential Certificate of Origin) คือเอกสารสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจข้ามชาติ  โดยทำให้ผู้ซื้อสามารถมีสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนๆไขของแต่ละความตกลง ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 02-547-4753, 02-547

เรื่องของข้อตกลง “ ถิ่นกำเนิดสินค้า ” นี้สัมพันธ์อย่างยิ่งกับเรื่อง “ ห่วงโซ่ธุรกิจ” เพราะถิ่นกำเนิดสินค้า จะกำหนดว่าสินค้าชนิดนั้นใช้วัตถุดิบและแรงงานของประเทศตนมีมูลค่าที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตเป็นสัดส่วนอย่างน้อย  40  เปอร์เซ็นต์ไหม ใช้วัตถุดิบและแรงงานของประเทศกลุ่มอาเซี่ยนกี่เปอร์เซ็นต์   นำเข้ามาจากประเทศนอกอาเซี่ยนกี่เปอร์เซ็นต์  

เนื่องด้วยการที่ผู้ประกอบการส่งออกจะได้รับสิทธิได้รับหนังสือรับรองฟอร์ม ดี  เพื่อไปใช้แนบใบ invoice ให้ลูกค้าของตน  สำหรับลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0% นั้น มีเงื่อนไขชัดเจนว่า ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าตามพิกัดสินค้าใด  จะนำสินค้าเข้าไปขายในประเทศอาเซียนอื่น  ต้องมีสัดส่วนเป็นการให้ประโยชน์เฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันนี้เท่านั้น 
 
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว  ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก  ต้องรู้ละเอียดว่าในห่วงโซ่ธุรกิจของตน  ควรใช้วัตถุดิบต้นน้ำ  กลางน้ำ  ปลายน้ำ  รวมถึงแรงงานและพลังงานจากแหล่งไหน จึงจะทำให้สินค้าของตนมีองค์ประกอบครบ จนได้รับสิทธิได้ใบฟอร์มดี จากกรมการค้าต่างประเทศ  

อีกทั้งต้องพยายามสืบค้น สะสม ข้อมูล มาตรการกีดกันทางการค้าที่ เป็น NTB ของประเทศที่เรามุ่งหวังจะส่งสินค้าเข้าไปขายว่ามีอะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน [ Supply Chain ] ของเราเอง อันจะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุดทางด้านการยกเว้นภาษี ค้าขายสะดวกราบรื่น ปลอดพ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  [ Non  Tariff  Barrier : NTB ] ที่ประเทศคู่ค้าของตนนำมาใช้
 
เรื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องดิ้นรนขวนขวายหาความรู้ปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความทันสมัย  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการสืบค้น  และเก็บข้อมูลห่วงโซ่ธุรกิจของตน   ตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบว่ามีที่ไหนผลิตบ้าง ต้นทุนราคาเป็นอย่างไร  กระบวนการผลิตวัตถุดิบเป็นอย่างไร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ใช้แรงงานเด็กหรือกดขี่ค่าแรงงานเด็กสตรีและคนชราหรือไม่  ให้โอกาสกับแรงงานพิการหรือไม่ 
 
มาถึงขั้นตอนการนำวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า

จุดนี้สัมพันธ์กับเรื่องของข้อตกลง “ ถิ่นกำเนิดสินค้า ” เพราะสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันในอาเซียนนั้น ถูกกำหนดว่าต้องมีมูลค่าเกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือนำเข้าจากประเทศอาเซียน
 
อื่นด้วยกัน เนื่องด้วยการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าหรือการลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ เป็นการให้ประโยชน์เฉพาะประเทศในกลุ่มนี้เท่านั้น 
 
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ต้องรู้ละเอียดว่าในห่วงโซ่ธุรกิจของตน  ควรใช้วัตถุดิบต้นน้ำ  กลางน้ำ  ปลายน้ำ  รวมถึงพลังงานจากแหล่งไหน อีกทั้งต้องพยายามสืบค้น สะสม ข้อมูล มาตรการกีดกันทางการค้าที่ เป็น NTB  ของประเทศที่เรามุ่งหวังจะส่งสินค้าเข้าไปขายว่ามีอะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน [ Supply Chain ] ของเราเอง อันจะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุด   ค้าขายสะดวกราบรื่น  ปลอดพ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  [ Non  Tariff  Barrier : NTB ] ที่ประเทศคู่ค้าของตนนำมาใช้

อ้างอิงจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
498
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
333
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด