บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.5K
3 นาที
30 มิถุนายน 2565
ปัญหาแฟรนไชส์ 7 ข้อที่คุณจะเจอ!
 

แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการดำเนินธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาในการก่อร่างสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นนั้นจะตอบโจทย์และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน พูดง่ายๆ คือ ธุรกิจอาจไม่โดนตลาด อีกทั้งการซื้อแฟรนไชส์มีทางเลือกในการประกอบธุรกิจที่ตัวเองสนใจมากมาย เพราะมีหลากหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จักของผู้คน เจ้าของแบรนด์มีการฝึกอบรม จึงทำให้มีความเสี่ยงน้อย มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเปิดร้านเอง
 
แต่รู้หรือไม่ว่า แม้แฟรนไชส์จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง บริษัทแฟรนไชส์ช่วยเหลือในเรื่องของการทำตลาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการซื้อแฟรนไชส์จะมีเส้นทางสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะมีอุปสรรคและความท้าทายมากมาย
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะชี้แนะให้เห็นภาพของปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์ หรือขอรับสิทธิแฟรนไชส์ ตลอดจนการบริหารแฟรนไชส์ให้ทราบ
 
1.ระยะเวลาในการให้สิทธิแฟรนไชส์ยาวนาน
 

ในระบบแฟรนไชส์นั้น แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีเปรียบเสมือนหุ้นส่วนความสำเร็จด้วยกัน แบรนด์แฟรนไชส์จะต้องเหมาะสมกับผู้ได้รับสิทธิ และแฟรนไชส์ซีจะต้องเหมาะสมกับแบรนด์ด้วย ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มีข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์ยาวนานถึง 10-15 ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์จะใช้ระยะเวลาในการอนุมัติการให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่ละรายยาวนาน 4-5 ปี ต้องเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสมกับแบรนด์มากที่สุด
 
วิธีแก้ปัญหา
 
เพื่อเร่งกระบวนการให้สิทธิแฟรนไชส์เร็วขึ้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครแฟรนไชส์ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตามข้อกำหนดของแฟรนไชส์ซอร์ อาจช่วยให้กระบวนการอนุมัติให้สิทธิเร็วขึ้น บางทีผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจใช้เวลานี้พิจารณาและประเมินอีกครั้งว่าแฟรนไชส์ที่เลือกเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่
 
2.ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง
 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อมในเรื่องของเงินลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), ค่าออกแบบตกแต่งร้านก่อนเปิด, ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน ซึ่งไม่รวมค่าสิทธิของยอดขายรายเดือน
 
อาทิ KFC มีค่าแฟรนไชส์ 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ + ค่าออกแบบตกแต่งร้าน 1.4-2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ แมคโดนัลด์ มีค่าแฟรนไชส์ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ + ค่าออกแบบตกแต่งร้าน 1.2-2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์แมคโดนัลดื ยังต้องจ่ายค่าสิทธิ (Royalty Fee) 4% ของยอดขายรายเดือนให้แฟรนไชส์ซอร์ ส่วน Subway เรียกเก็บ 12.5% ของยอดขายรายสัปดาห์สำหรับ Royalty Fee และ Marketing Fee 
 
วิธีแก้ปัญหา
 
ระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายค่าสิทธิและค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ และจะต้องบริหารจัดการธุรกิจตามที่แฟรนไชส์วอร์ถ่ายทอดให้ทุกอย่าง ไม่ใช่รอรับเงินปันผลอย่างเดียวเหมือนกรณี "ดารุมะ ซูชิ" ที่หลอกขายแฟรนไชส์ และคูปองทิพย์ แต่ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษาข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด 
 
3.ควบคุมมาตรฐานแบรนด์ได้น้อยลง
 

แม้ว่าแฟรนไชส์จะเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีจำนวน 2,000 กว่าสาขา แต่ถ้าสาขาใดสาขาหนึ่งทำเสียชื่อเสียง หรือมีสิ่งแปลกปลอมในเมนูอาหาร ก็จะส่งผลเสียต่อแบรนด์แฟรนไชส์ทั้งหมด แม้จะมีปัญหาเกิดขึ้นในไม่กี่สาขาเท่านั้น แต่สามารถแฟรนไชส์อื่นๆ อาจได้รับผลกระทบ ลูกค้าอาจจะหลีกเลี่ยงการเข้าใช้บริการ เพราะเป็นแบรนด์เดียวกัน

วิธีแก้ปัญหา
 
แต่ละสาขาแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด รสชาติ รวมถึงการให้บริการลูกค้า หรือถ้าเป็นปัญหาใหญ่จริงๆ ก็โทรปรึกษากับแฟรนไชส์ซอร์ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
 
4.มีอำนาจในการตัดสินใจไม่มากนัก
 

เป็นเรื่องะรรมดาที่แฟรนไชส์ซีจะมีอำนาจในการตัดสินใจน้อยลง เพราะต้องปฏิบัติตามระบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น แต่ละสาขาต้องมีเมนูเหมือนกัน จัดโปรดมชั่นพร้อมๆ กัน มีบริการเหมือนกัน หรือกระทั่งเปิด-ปิดร้านเวลาเดียวกัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะพัฒนาเมนูใหม่ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเองไม่ได้
 
วิธีแก้ไขปัญหา
 
หากแฟรนไชส์ซีมีไอเดียในการทำธุรกิจใหม่ๆ หรือพัฒนาเมนูอาหาร เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน ก็อาจสามารถโทรติดต่อไปยังสำนักงานใหญ่หรือแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง อธิบายมุมมองและเหตุผลในการสร้างรายได้เพิ่ม เหมือนกรณีเมนูร้านฟาสต์ฟู้ด เช่น Big Mac, KFC bucket, Foot long และ  Filet-o-Fish ล้วนเป็นเมนูที่พัฒนาขึ้นโดยแฟรนไชส์ซี
 
5.กฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่
 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่หากต้องการเปิดร้านแฟรนไขส์ที่นั่น เพราะแต่ละสถานที่จะมีกฎระเบียบแตกต่างกัน เช่น ในห้างสรรพสินค้าอาจมีค่าใช้จ่ายแตกต่างจากข้างนอก รวมถึงการเปิด-ปิดร้านต้องเป็นไปตามระเบียบของทางห้าง ตรงนี้อาจส่งผลกระทบยอดขายและรายได้ของผู้ซื้อแฟรนไชส์
 
วิธีแก้ปัญหา
 
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องทำความคุ้นเคยและศึกษาดูว่า กฎระเบียบของสถานที่แห่งนั้น มีความเหมาะสมสำหรับแบรนด์แฟรนไชส์หรือประเภทแฟรนไชส์ที่เตรียมจะเปิดหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
 
6.อัตราการลาออกของพนักงานสูง
 

ประเทศไทยอาจไม่มีปัญหา แต่สำหรับร้านอาหารแฟรนไชส์ในอเมริกา ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะในแต่ละปีร้านฟาสต์ฟู้ดต่างๆ มีอัตราการลาออกของพนักงานสูงมาก รวมถึงการเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงเพิ่มขึ้น เช่น แมคโดนัลด์ เมื่อเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่ทำตาม พนักงานก็ลาออก เพราะธุรกิจร้านอาหารทั่วไปมีความต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 
 
วิธีแก้ปัญหา
 
ต้องมีสวัสดิการให้กับพนักงานที่เหมาะสม กำหนดแผนจูงใจพนักงานเพื่อรักษาพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการลดหยุด โบนัสพิเศษ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม รวมถึงสวัสดิการอื่นๆ 
 
7.คู่แข่งและการอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน
 

ภาพจาก https://bit.ly/3I231ue

ปัญหาสุดท้ายของแฟรนไชส์ คือ ความอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน เช่นตลาดแฟรนไชส์ในอเมริกา เชื่อหรือไม่ว่า Chick-fil-A ทำรายได้ต่อสาขามากกว่า McDonald's และ Starbucks รวมกันในปี 2020 
 
สาเหตุที่แต่ละสาขาของ Chick-fil-A ทำรายได้มากกว่า เพราะ Chick-fil-A ทำการเปิด 1 สาขาในพื้นที่ แต่จะมีร้าน McDonald's หรือ Starbucks ทุกๆ 6 แห่งในพื้นที่ และ Subway ทุกๆ 10 แห่งในพื้นที่ ด้วยจำนวนร้านค้าที่น้อยลงของ Chick-fil-A แต่ละพื้นที่จึงทำให้ร้านมีเมนูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้มาใช้บริการ
 
สำหรับคนที่เปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ (โดยเฉพาะฟาสต์ฟู้ด) ในสหรัฐอเมริกา ไม่ควรคาดหวังรายได้ที่ยั่งยืนจากการจดจำแบรนด์และชื่อเสียง แต่ควรตระหนักถึงส่วนแบ่งการตลาด และรู้ว่าร้านอื่นที่มีชื่อและมีเมนูเดียวกันอยู่ใกล้กันแค่ไหน
 
วิธีแก้ปัญหา
 
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ ควรศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจด้วยว่า จะมีความโดดเด่นในด้านไหนที่แตกต่างจากคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเมนู ความหลากหลายสินค้า รสชาติ การให้บริการ เป็นต้น
 
นั่นคือ 7 ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับฝั่งผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
Franchise Tips
  1. ระยะเวลาในการให้สิทธิแฟรนไชส์ยาวนาน
  2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง
  3. ควบคุมมาตรฐานแบรนด์ได้น้อยลง
  4. มีอำนาจในการตัดสินใจไม่มากนัก
  5. กฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่
  6. อัตราการลาออกของพนักงานสูง
  7. คู่แข่งและการอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน
อ้างอิงข้อมูล 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
2,992
ปัญหาระดับชาติ! #แฟรนไชส์จีนบุกไทย พร้อมซัพพลายเ..
643
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
588
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
489
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
485
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
476
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด