บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
2 นาที
9 เมษายน 2563
กลุ่ม TCDG การทำงานของคนไทยเพื่อคนไทย
 

ภาพจาก covid19.ddc.moph.go.th/th

ที่ผ่านมาผมและคนกลุ่มหนึ่งที่ทำงานด้านดิจิทัล แต่ละคนต่างมีเจตนาและไอเดียที่ดี ที่สำคัญมีข้อมูลจำนวนมากอยู่ในโลกออนไลน์ ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมาทำงานด้านดิจิทัลเกี่ยวกับเรื่องไวรัส COVID19 ชื่อ Thailand COVID19 Digital Group (TCDG) พื้นที่ตรงนี้เราได้มีการแลกเปลี่ยนและนำข้อมูลมารวมกัน น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น 
 
ซึ่งตอนนี้ได้มีทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมด้วย โดยเราแบ่งออกเป็นหลายเรื่อง อาทิ แอปพลิเคชันในการติดตามกลุ่มเสี่ยง จุดจำหน่ายหน้ากากอนามัยและแอลกอออล์ การประสานงานของเจ้าหน้าที่รัฐกับคนในชุมชน ฯลฯ ได้มีการออกแบบเฟรมเวิร์คทางด้านดิจิทัลขนาดใหญ่ขึ้น อย่างการเก็บข้อมูลคนที่เดินทางเข้าประเทศตรงจุดตรวจคนเข้าเมือง 
 
ในส่วนภาครัฐ AOT เองได้มีแอปพลิเคชันที่ติดตามนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว และยังสามารถระบุตำแหน่งที่นั่งบนเครื่องบินหากบุคคลใดมีการติดเชื้อก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงสายการบิน ที่นั่ง บุคคลรอบตัว และมีใครอยู่ในลำนั้นบ้าง และเรายังได้รับความร่วมมือจาก NECTEC นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพของไทยมาช่วยทำระบบการวิเคราะห์ big data และอื่น ๆ อีกด้วย 
 
เมื่อพูดถึงแอปพลิเคชันแผนที่ที่ระบุตำแหน่งของคนติดเชื้อโควิด-19 อยากให้คนที่จัดทำแน่ใจว่าข้อมูลที่ใช้นั้นเป็นข้อมูบลแบบที่เป็นทางการจริง ๆ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากภาครัฐ เพราะการไประบุตำแหน่งที่ลึกจนเกินไปก็อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ และอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องได้
 
เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำเอาระบบติดตามผู้ป่วยในลักษณะนี้มาใช้ (ยกเว้นจีนที่เขาใช้ไปแล้วเพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมาก) ตอนนี้ได้มีการพูดคุยกับโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของประเทศในการข้อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์คนกลุ่มเสี่ยง
 

ภาพจาก covid19.ddc.moph.go.th/th
 
หากได้รับความร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์จะทำให้ติดตามคนเหล่านั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะคนกลุ่มเสี่ยงไม่จำเป็นต้องลงแอปพลิเคชันใด ๆ แค่รู้เบอร์โทรศัพท์เขาก็สามารถติดตามได้แล้ว แม้ว่าจะเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์แต่ก็ยังสามารถติดตามได้จากหมายเลขบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต จุดนี้เองทางกลุ่มได้ตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันให้เครื่องมือตัวนี้ออกมาโดยเร็วที่สุด 
 
การร่วมมือกันของคนไทยเรากันเอง ไม่ว่าจะเป็นใครหรือกลุ่มใดก็ตาม ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก บางครั้งเราจะรอแต่ทางภาครัฐอย่างเดียวคงไม่ทันการณ์แน่ ๆ ตอนนี้เหล่าคนที่มีความรู้ด้านดิจิทัลได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันมากขึ้น มีการรายงานข้อมูลตำแหน่งข้อมูลของคนที่ติดเชื้อโควิด-19  รายงานการเชื่อมโยงของคนที่ติดเชื้อจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง 
 
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าปัญหาของการทำแผนที่คือการระบุตำแหน่งผู้ป่วยนั้นมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่มาก ข้อมูลที่ปักลงไปในพื้นที่มักเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วมีการทำความสะอาดหรือจัดการเรียบร้อยไปแล้ว ไม่ใช่เหตุการณ์แบบเรียลไทม์จริง ๆ การปักหมุดอยู่อย่างนั้นส่งผลต่อทั้งพื้นที่ตรงนั้น ธุรกิจ และคนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นอย่างแน่นอน จุดที่น่าสนใจในการแจ้งเตือนก็คือพื้นที่ที่มีการพบผู้ป่วยซ้ำ ถือเป็นพื้นที่ที่อันตราย ควรมีการแจ้งเตือนให้ทราบมากกว่า
 
ข้อมูลแบบเรียลไทม์คือสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ เพราะข้อมูลมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลที่แชร์กันบนโซเชียลมีเดียคือข่าวในอดีตที่เกิดไปแล้ว พื้นที่ตรงนั้นได้รับการจัดการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราควรสนใจข้อมูลในปัจจุบันมากกว่าว่าพื้นที่ไหนบ้างที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19
 
ข้อมูลบางอย่างมีความละเอียดอ่อน รัฐเองมีความต้องการเปิดเผยข้อมูลกลางเพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างเป็นระบบ จึงได้มีการร่วมมือกันในการหาวิธีเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด 
 
จึงเกิดเป็นแพลตฟอร์ม www.th-stat.com ช่องทางหลักในการนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในการรายงานข้อมูลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง ผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงฯ https://covid19.ddc.moph.go.th นี่คือผลงานความร่วมมือของภาคประชาชนกับภาครัฐ ที่เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของผมและทีมงาน เราจะรอดด้วยกันครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
511
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
375
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
366
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
364
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
349
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
349
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด