บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
2 นาที
17 พฤษภาคม 2562
Managing Innovation and Change (Thai Program)


ภาพจาก https://bit.ly/2VGklQw

Managing Innovation and Change (Thai Program) [FO / Online Campus / Weekday/8Week /Term 2-2018 Section 87 ] คือ อีก 1 วิชาที่สร้างลำดับความคิด ด้านนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาของ Business Cycle หรือ ที่เราคงคุ้นเคยได้ยินกับคำว่าวงจรธุรกิจ ที่มีขึ้นและก็มีลง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเมืองนวัตกรรมในอนาคต และด้วยคำนิยาม S Curve Model  ในการสร้างรูปแบบของธุรกิจด้วยนวัตกรรมนั้นเอง
 
ทางผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอความรู้เชิงวิชาการ จากตำราที่ได้เรียนวิชาการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้เกิดแนวคิด ที่ถูกต้องและนำไปบอกเล่ากันต่อไปครับ
 
คำอธิบายรายวิชา (Course Description):
 
ภาพจาก https://pixabay.com

เป้าหมายของหลักสูตรนี้ คือ การศึกษาถึงโครงสร้างของการบริหารนวัตกรรม นักศึกษาที่เรียนจะได้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม ในการสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ธุรกิจในขนาดต่าง ๆ ทุกภาคส่วน สำหรับธุรกิจในปัจจุบัน 
 
อาจกล่าวได้ว่า นวัตกรรมมักจะเกิดขึ้น เพราะความผลิกผันของอุตสาหกรรม (industry disruption) และ การเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน 
 
ด้วยเหตุนี้ วิชานี้ จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้เครื่องมือ ที่เรามักจะมองว่าเป็นทฤษฎีต่างๆ นำมาสร้างสรรค์ความผลิกผันให้แก่อุตสาหกรรม ผ่านมุมมองของธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตั้งรับกับความผลิกผันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้
 
วัตถุประสงค์ผลของการเรียนรู้ 
  1. เพื่อให้สามารถอธิบายถึงความหมายของนวัตกรรม และ เข้าใจถึงความแตกต่างของนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์, นวัตกรรมเชิงรูปแบบธุรกิจ, นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป และ นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด เป็นต้น
  2. เพื่อให้สามารถอธิบายถึงรูปแบบการสร้างความมั่งคั่งเชิงนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ในบริบทที่หลากหลาย และ ความเกี่ยวเนื่องระหว่าง นวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้
  3. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถอธิบายได้ถึงการบริหารนวัตกรรมจากมุมมองของบริษัทที่ดำรงอยู่ใน ปัจจุบันที่ต้องพึ่งพานวัตกรรมในการอยู่รอด อาทิเช่น วงจรชีวิตนวัตกรรม และ การลำเลียงนวัตกรรม
  4. เพื่อให้สามารถระบุอุปสรรค ในการสร้างนวัตกรรม และ กระบวนการและความสามารถขององค์กรเพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรม อาทิเช่น ความสามารถเชิงพลวัตร และ การสำรวจและการแสวงหาผลประโยชน์ เป็นต้น
  5. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้แนวความคิดต่าง ๆ อาทิเช่น นวัตกรรมแบบผลิกผัน และ นวัตกรรมแบบเปิดได้
  6. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและกรอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม อาทิเช่น ทฤษฎีน่านน้ำสีคราม, กรอบธุรกิจแบบแคนวาส, คุณค่าธุรกิจแบบแคนวาส และ กรอบธุรกิจแคนวาสแบบลีน เพื่อบรรลุการสร้างนวัตกรรม
  7. เพื่อเรียนรู้หลักการสร้างสตาร์ทอัพยุคใหม่ จากการพัฒนานวัตกรรม
  8. พัฒนาศักภาพในการนำเสนอ และ “ขาย” แนวความคิดทางธุรกิจเชิงนวัตกรรม อาทิเช่น การใช้วิธีการนำเสนอแบบ NABC (Need, Approach, Benefits, Competition)
ภาพจาก https://pixabay.com
 
ตลอด 8 สัปดาห์ที่ได้เรียนรู้ และปฎิบัติในคลาสเรียน ได้ทดลองใข้เครื่องมือมาประกอบการตัดสินใจ ทำให้เข้าใจการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องมากกว่าเดิม
 
การเรียนรู้จากตำราจะทำให้เรามั่นใจมากขึ้นจากเดิมที่ได้แต่ฟัง จากมุมมองหลายคน จากคนที่สำเร็จแล้ว ก็ไม่ได้ไล่เลียงลำดับ จากบันไดขั้นแรก แต่จะพูดถึงบันไดขั้นสุดท้ายมากกว่าจึงทำให้เหล่า Start Business เข้าใจตนเองผิดว่ากำลังทำ Start-up Models อยู่ก็ได้
 
คนที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจก็มักอยากจะสร้างความแตกต่างไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะครับ แต่องค์ประกอบของธุรกิจมีมากกว่าสินค้าหรือบริการที่ดีหรือแตกต่างจากคนอื่น
 
สิ่งเหล่านี้ จึงต้องตั้งคำถามกับตัวเองใหม่ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
 
ติดตามเรื่องราวดีๆจากบทความของ Thai franchise ได้ทุกวันนะครับ เลือกที่ชอบและที่ใช่พอนะครับ ไม่นั้นจะสับสนไปหมดได้นะครับ 
 
บทความถัดไปจะมาขยสยเครื่องมือที่ใช้ทำนวัตกรรมกันต่อนะครับ
 
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
511
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
375
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
366
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
364
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
350
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด