บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
5.4K
4 นาที
28 พฤษภาคม 2553

10 ข้อพึงระวังสำหรับแผนธุรกิจ

มักพบอยู่เสมอว่าแผนธุรกิจที่นำเสนอนั้น มีข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดที่ส่งผลให้แผนธุรกิจเหล่านี้ถูกปฏิเสธหรือต้องกลับไปแก้ไข

ปัจจุบันแผนธุรกิจถือเป็นเอกสารสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมทั้งจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่มักพบอยู่เสมอว่าแผนธุรกิจที่นำเสนอนั้นมีข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดที่ส่งผลให้แผนธุรกิจเหล่านี้ถูกปฏิเสธหรือต้องกลับไปแก้ไข ซึ่งบางครั้งข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเหล่านี้เป็นเพียงรายละเอียดเพียงเล็ก น้อย แต่กลับทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียโอกาส หรือเสียเวลาในการจัดทำแผนธุรกิจใหม่ อันเป็นการเสียโอกาสในทางธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้นผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อพึงระวังเกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจไว้พอ สังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบว่าแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้น และนำเสนอนั้นมีความสมบูรณ์พียงพอ ที่จะนำเสนอต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมทั้งจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหรือไม่ โดยมีข้อพึงระวัง 10 ข้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากแผนธุรกิจที่ได้นำเสนอ หรือจากตัวผู้ประกอบการที่นำเสนอแผนธุรกิจนั้น โดยพอจะสรุปรายละเอียดของข้อพึงระวังไว้ดังนี้คือ

1.อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือ ผู้เขียนเข้าใจอยู่คนเดียว ถือเป็นประเด็นที่พบกันอยู่ทั่วไปซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับแผนธุรกิจที่ผู้ประกอบ การเป็นผู้เขียนแผนธุรกิจเอง โดยสามารถแยกออกเป็น 2 กรณีคือ กรณีแรกมักพบจากแผนธุรกิจ ที่เป็นธุรกิจเฉพาะด้านหรือธุรกิจทางด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น ดาน Software ด้าน IT ด้าน Nano-technology หรือด้านเคมี เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะมีการใช้ศัพท์ทางเทคนิค ศัพท์ในวงการ หรือตัวย่อต่างๆมากมายซึ่งจะเป็นที่รู้กันเฉพาะคนในวงการหรือผู้อยู่ใน ธุรกิจเท่านั้น โดยเชื่อว่าจะเป็นการแสดงความน่าเชื่อถือว่าผู้ประกอบการมีความรู้จริง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ทำให้เมื่อเจ้าหน้าที่จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักการเงินหรือเรียนมาทางสายบริหารธุรกิจ เมื่ออ่านเนื้อหาในแผนธุรกิจแล้ว มักจะไม่สามารถเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ว่าคืออะไร หรือมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งจากข้อจำกัดดังกล่าวก่อให้เกิดความยุ่งยากในการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจในตัวธุรกิจและรูปแบบดำเนินการ และมักเกิดประเด็นข้อสงสัยต่างๆ จนทำให้เกิดการปฏิเสธต่อผู้ประกอบการไปในที่สุด

ดังนั้นพึงระลึกว่าแผนธุรกิจที่เป็นธุรกิจเฉพาะด้าน หรือธุรกิจทางด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี หรืออาจรวมถึงธุรกิจอื่นใดก็ตาม ควรเขียนรายละเอียดต่างๆให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด แม้จะเป็นคนนอกวงการก็ตาม หรือถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ศัพท์ ทางเทคนิคหรือศัพท์ในวงการหรือตัวย่อต่างๆ ควรมีการอธิบายเกี่ยวกับความหมายของศัพท์ หรือตัวย่อเหล่านั้นประกอบไว้ด้วยให้ชัดเจน กรณีที่สองจะเป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับกรณีแรก แต่เกิดจากการที่ผู้เขียนแผนธุรกิจเขียนแผนขึ้นโดยใช้ความเข้าใจ หรือจากการทำธุรกิจที่เป็นอยู่ของตนเองเป็นหลัก

โดยคาดว่าผู้อ่านจะเข้าใจในสิ่งที่ตนเองเขียนขึ้น แต่พบว่าบ่อยครั้งสิ่งที่เขียนในแผนธุรกิจนั้นไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้ กับผู้อ่านแผนได้ เพราะสิ่งที่สำคัญสำหรับแผนธุรกิจก็คือ ผู้อ่านแผนต้องมีความเข้าใจในตัว ธุรกิจอย่างถูกต้อง ภายหลังหลังที่ได้อ่านแผนธุรกิจแล้ว หรือรวมถึงความชัดเจนของสิ่งที่จะทำหรือดำเนินการ ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรกันแน่ เช่น จะเป็นผู้ผลิตเอง จะเป็นการว่าจ้างผลิต จะเป็นการซื้อสินค้ามาขาย จะเป็นการให้บริการ หรือมีการผสมสานระหว่างการเป็นผู้ผลิตเองในขณะที่รับจ้างผลิตสินค้าให้ผู้ อื่นด้วย เป็นต้น เพราะแต่ละธุรกิจจะมีลักษณะและรูปแบบในการดำเนินการที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นความชัดเจนของการดำเนินการ และลักษณะของการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสื่อสารให้ผู้อ่านแผนเข้าใจ ได้อย่างถูกต้อง

2.ขอเป็นความลับ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มักพบจากแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาหรือธุรกิจที่ เกี่ยวข้องด้านนวัตกรรม เนื่องจากผู้ประกอบการมักแจ้งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาหรือนวัตกรรมที่ใช้ในการประดิษฐ์ หรือผลิตสินค้าที่ตนเองเป็นผู้คิดค้นขึ้นนั้น จะถูกลอกเลียนถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลออกไป ไม่ว่าจะเป็นจากคู่แข่งอื่นในตลาดหรือบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือจากผู้รู้รายละเอียด ซึ่งเป็นคนของธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมถึงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ประกอบการเหล่านี้มักจะไม่ยอมจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาใดๆของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า เป็นต้น กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากเกรงว่าข้อมูลดังกล่าว จะเกิดการรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก

นอกจากนี้แม้แต่ในแผนธุรกิจเองก็ไม่ระบุถึงลักษณะและรายละเอียดต่างๆของ ทรัพย์สินทางปัญญาไว้ด้วยเหตุผลเดียวกัน ทำให้เมื่ออ่านแผนธุรกิจแล้วก็จะไม่มีรายละเอียดใดๆ ที่แสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ว่ามีลักษณะอย่างไร เพราะ โดยข้อเท็จจริงแล้วรายละเอียดของ ทรัพย์สินทางทางปัญญานี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการพิจารณาเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์และศักยภาพของธุรกิจ

และเมื่อสอบถามถึงรายละเอียดจากผู้ประกอบการ ก็มักจะไม่บอกถึงรายละเอียดโดยบอกว่าเป็นความลับของธุรกิจ ทำให้ผู้อ่านแผนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจหรือประเมินค่าของทรัพย์สินทางปัญญานี้ได้ รวมถึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างว่า คิดค้นขึ้นเอง หรือไม่มีอยู่ในตลาดนี้เป็นความจริงหรือไม่ รวมถึงจะเป็นการละเมิดของทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ที่ได้จดทะเบียนก่อนหน้าหรือไม่

ซึ่งท้ายที่สุดก็จะถูกปฏิเสธการให้การสนับสนุนไป และผู้ประกอบการเหล่านี้ก็มักจะตำหนิว่าธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมถึงหน่วยงานของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของการไม่ให้การสนับสนุน แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีนวัตกรรมหรือมีทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่พิจารณาถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้หน่วยงานเหล่านี้รับทราบนั่นเอง

3.ให้ทำนะทำได้ แต่อย่าให้เขียนแผนธุรกิจ ถือเป็นข้ออ้างหรือถือเป็นข้อจำกัดส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการในการจัดทำแผนธุรกิจ คือ บอกว่าตนเองไม่มีความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ แต่ตนเองมีความสามารถที่จะทำธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจมาจากไม่มีความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจจริงๆ หรืออาจจะไม่อยากเสียเงินในการว่าจ้างบุคคลภายนอกเขียนให้ โดยถ้าเป็น ในสมัยก่อนที่แผนธุรกิจยังไม่ถือเป็นเอกสารภาคบังคับ ในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากทางธนาคารหรือสถาบันการเงินก็คงไม่ เป็นไรนัก แต่ในปัจจุบันแผนธุรกิจถือเป็นเอกสารสำคัญ ที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา เกี่ยวกับตัวธุรกิจและตัวผู้ประกอบการ

ดังนั้นถ้าคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ ก็สมควรว่าจ้างบุคคลภายนอกหรือมืออาชีพเป็นผู้ช่วยจัดทำแผนธุรกิจให้ ดีกว่าที่จะเขียนแผนธุรกิจแบบขอไปที หรือไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมายังธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะจะถูกปฏิเสธได้โดยง่าย หรืออีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นและมักจะได้ยินบ่อยๆก็คือ คำพูดจากผู้ประกอบการในลักษณะ “เชื่อผมเถอะ ผมทำได้” เพราะ ปัจจุบันการให้เงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินเกือบทั้งหมด ล้วนแล้วแต่ต้องมีการจัดทำแผนธุรกิจประกอบทั้งสิ้น การยืนยันด้วยคำพูดลอยๆว่าตนเองมีความสามารถที่จะบริหารธุรกิจให้ประสบความ สำเร็จนั้น ไม่มีธนาคารหรือสถาบันการเงินใดที่จะยอมรับ หรืออาจจะพึงระลึกถึงคำพูดนักพนันไว้คือ “ถ้าแทงลม ก็จ่ายลม” หรือจะบอกอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ถ้ากู้ด้วยคำพูด ก็จ่ายให้ด้วยคำพูดเช่นเดียวกัน”

4.นักก๊อปปี้ บ่อยครั้งที่พบว่าแผนธุรกิจที่นำเสนอต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะเป็นการคัดลอกหรือการก๊อปปี้จากแผนธุรกิจรายอื่น แล้วนำมาแก้ไขในรายละเอียดบางอย่างเป็นธุรกิจของตัวเอง เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลธุรกิจ หรือตัวเลขทางการเงิน เป็นต้น โดยแผนธุรกิจที่ใช้ในการคัดลอกหรือก๊อปปี้นี้อาจมาจากตัวอย่างแผนธุรกิจที่ ใช้ในระดับอุดมศึกษา จากที่เผยแพร่ใน Website ของหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือจากสื่อบันทึกต่างๆ เช่น CD Rom ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ที่จัดทำขึ้นเผยแพร่ต่อผู้ประกอบการ เป็นต้น

โดยการคัดลอกหรือการก๊อปปี้แผนนี้ อาจเกิดจากการที่ผู้ประกอบการไม่มีเวลาที่จะจัดทำแผนธุรกิจขึ้นเอง หรือไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคคลภายนอกในการจัดทำ โดยเชื่อว่าแผนธุรกิจที่เผยแพร่จากหน่วยงาน หรือสื่อบันทึกเหล่านี้เป็นแผนธุรกิจที่ดี สามารถที่จะใช้เขียนหรือคัดลอกเพื่อนำเสนอต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ โดยไม่ได้ทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เกี่ยวกับเนื้อหาของแผนธุรกิจที่คัดลอกมา

เนื่องจากในข้อเท็จจริงแล้วแต่ละธุรกิจจะมีข้อจำกัด หรือองค์ประกอบในการทำธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ รูปแบบธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง สินค้าและบริการ เงินลงทุน หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้นทำให้ในแต่ละธุรกิจจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันหรือมีความแตกต่างกัน ออกไป แม้ว่าจะอยู่ในประเภทของธุรกิจเดียวกันก็ตาม ดังนั้นการก๊อปปี้แผนที่ไม่รู้ถึงที่มาที่ไปของธุรกิจ จะทำให้ข้อมูลในแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ และข้อมูลบางอย่างผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงในธุรกิจ

ตัวอย่าง เช่น ในแผนธุรกิจที่ทำการคัดลอกมีการลงทุน 5 ล้านบาท สามารถมียอดขาย 5 แสนบาทต่อเดือน ดังนั้นธุรกิจของตนถ้ามีการลงทุน 1 ล้านบาท ก็ควรมียอดขายประมาณ 1 แสนบาทต่อเดือน เป็นต้น โดยอาจจะมีการแก้ไขตัวเลขต่างๆ โดยการหาร 5 เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริงเลยทางธุรกิจก็เป็น ได้ เพราะข้อจำกัดที่แตกต่างกันของแต่ละธุรกิจตามที่กล่าวมา โดยจากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้ว แผนธุรกิจที่เผยแพร่กันโดยทั่วไป มักอยู่ในระดับปานกลางหรือบางแผนก็อยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีเพียงจำนวนน้อยมากที่อยู่ในระดับดี

เนื่องจากแผนธุรกิจที่ดีหรือมี มาตรฐานจริงๆมักจะไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะ เนื่องจากถือได้ว่าเป็นความลับของธุรกิจเพราะในแผนธุรกิจจะมีการระบุถึง กลยุทธ์ในการแข่งขัน และการดำเนินการต่างๆในธุรกิจซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญ ส่วนแผนธุรกิจที่เปิดเผยอยู่นั้นอาจเป็นแผนธุรกิจที่เขียนขึ้นโดยนักศึกษา เพื่อประกอบการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท หรือเป็นแผนที่เขียนขึ้นในลักษณะของโครงร่างตัวอย่างเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงการวางแผนหรือหัวใจในการดำเนินการที่ถูกต้อง รวมถึงขนาดของแผนธุรกิจที่ยาวบ้างสั้นบ้าง ตามแต่ลักษณะหรือวัตถุประสงค์ของแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้น

แต่ มิใช่ว่าการคัดลอกหรือการก๊อปปี้แผนจะทำไม่ได้หรือมิใช่สิ่งดีเสมอไป เพราะอย่างน้อยก็ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการในการจัดทำ แผนธุรกิจลงได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือควรเลือกแผนที่ธุรกิจที่ดูดีหรือพอจะมีมาตรฐาน และใกล้เคียงกับธุรกิจของตนเอง อีกทั้งควรจะมีการ C&D คือ Copy and Development ด้วย อย่าเอาแต่ C&C คือ Copy and Copy แผนเพียงอย่างเดียว
 

อ้างอิงจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
532
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
451
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
383
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
376
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
364
มิติใหม่ บริหารร้านอาหารให้รวยนาน ปี 2025
355
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด