บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
283
2 นาที
22 กรกฎาคม 2568
เปิดร้านเองรุ่ง แต่แฟรนไชส์ร่วง! จุดพลาดที่เจ้าของมองข้าม
 

บางธุรกิจเปิดแล้วขายดีมาก มีลูกค้าสนใจใช้บริการเยอะยอดขายต่อวันหักลบต้นทุนแล้วมีกำไรชัดเจน ซึ่งถ้าดูเคล็ดลับของร้านที่ขายดีจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ
  • ทำเลที่ตั้งดีมีกลุ่มลูกค้าของตัวเอง
  • สินค้าคุณภาพดี / บริการดี
  • การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ / การบริหารจัดการในร้านทำได้ดี
  • แยกบัญชีธุรกิจกับบัญชีส่วนตัวอย่างชัดเจน
  • เน้นการทำตลาด / ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
  • มีบุคลากรและทีมงานที่มีคุณภาพ

และพอเห็นร้านไหนขายดี บางทีลูกค้าก็อยากลงทุนบ้าง หลายครั้งที่เราถามว่าขายแฟรนไชส์ไหม? คำตอบก็คือ “ไม่” ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่ามีหลายเหตุผล ได้แก่
  1. ต้องการควบคุมคุณภาพแบบ 100% 
  2. ได้กำไรต่อสาขาที่สูงกว่า ไม่จำเป็นต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ใคร 
  3. สามารถรักษาแบรนด์ให้แข็งแรง ค่อยๆเติบโตและสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ดีกว่า
  4. มีเงินทุนมากพอไม่ต้องรีบร้อน เพราะร้านที่ขายดีส่วนใหญ่มีกำไรสะสมเยอะ ไม่จำเป็นต้องรีบขยายสาขา
มาดูกันอีกด้านว่าทำไมร้านที่ขายดีก็ไม่ได้การันตีว่าพอเป็นแฟรนไชส์แล้วจะต้องขายดี เนื่องจากสูตรสำเร็จของการเปิดร้านด้วยตัวเอง กับการขยับมาเป็นแฟรนไชส์นั้นมีรายละเอียดที่ต่างกัน ถ้าอยากเปลี่ยนธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ก็ต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี โดยมีขั้นตอนเบื้องต้นได้แก่
  1. ศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนแฟรนไชส์ว่ามีระบบและขั้นตอนอย่างไร
  2. การสร้างร้านต้นแบบ หรือมีการขยายสาขาอย่างน้อย 2-3 แห่ง
  3. การจดทะเบียนแฟรนไชส์ทั้งเรื่องเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ เป็นต้น
  4. การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Operation Manual) ที่เป็นเหมือนพิมพ์เขียวของระบบงานทั้งหมด
  5. พัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบอย่างมีคุณภาพ
ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้แล้วก็จะนำไปสู่ขั้นตอนอื่น เช่น การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ , การนำเสนอขายแฟรนไชส์ , วิธีการส่งเสริมด้านการตลาดแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เป็นต้น
 
 
แต่ทุกเรื่องที่พูดมาจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าธุรกิจของเรา “ยังมีกำไรไม่มากพอ” ยกตัวอย่างถ้าเปิดร้านขายอาหารกำไรสุทธิก่อนจะเป็นแฟรนไชส์ควรอยู่ที่ 25% เพราะระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน แฟรนไชส์ซีจำเป็นต้องจ่ายค่า Marketing Fee และ Royalty Fees ให้กับแฟรนไชส์ซอ หมายความว่ารายได้ของแฟรนไชส์ซีเองต้องหักออกในส่วนนี้ออกด้วยรวมแล้วประมาณ 7%
 
ถ้าแฟรนไชส์ซอมีกำไร 25% เมื่อเราลงทุน (แฟรนไชส์ซี) ต้องหัก Marketing Fee + Royalty Fees อีก 7% จะมีกำไรแท้จริงอยู่ที่ 18% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าเพียงพอให้การลงทุนมีกำไรได้ เพราะตัวเลขนี้คือกำไรสุทธิที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับ ซึ่งระยะเวลาคืนทุนของแฟรนไชส์ซีจะเป็นเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ “งบลงทุน” ในเบื้องต้น
 
เช่น แฟรนไชส์ซีใช้งบในการลงทุนรวม 360,000 บาท สิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือวิธีการบริหารจัดการร้าน , การฝึกอบรม , การพัฒนาบุคลากร , การส่งเสริมด้านการตลาด , การสอนสูตรเมนู และถ้าร้านมียอดขายอยู่ที่ 200,000 บาท กำไรของแฟรนไชส์ซีจะได้อยู่ที่ 18% ต่อเดือนหรือประมาณ 36,000 บาท จึงมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 10 เดือน 
 
อย่างไรก็ดีตัวเลขต้นทุนอาจผันแปรได้เช่นถ้าเราไม่มีต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ก็สามารถตัดรายจ่ายนี้ออกไป หรือถ้าบริหารจัดการสต็อคได้ดีลดการสูญเสียวัตถุดิบ (food waste) ได้มากต้นทุนวัตถุดิบเราอาจลดลง ก็จะไปเพิ่มที่ผลกำไรได้มากขึ้นด้วย
 
ถ้าดูจากข้อมูลเหล่านี้สำหรับธุรกิจไหนที่มั่นใจว่าตัวเองขายดี และต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต และเลือกระบบแฟรนไชส์มาช่วยขยายกิจการ ก็จำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับระบบแฟรนไชส์ ซึ่งถ้าเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง จากร้านขายดีก็จะกลายเป็นแฟรนไชส์ที่ขายดีและขยายสาขาได้เร็วมากด้วย
 

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2568
3,765
ชมงาน TFBO 2025 แฟรนไชส์จากเกาหลี - ร้านสะดวกซัก..
2,752
3 ทหารเสือแฟรนไชส์กาแฟสด “อเมซอน - พันธุ์ไทย - อ..
804
Zhengxin Chicken Steak แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน โตเงียบ..
789
รวยฟ้าผ่า ป้าเจนนี่ Auntea Jenny กว่า 9,100 สาขา..
779
ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ใหญ่แค่ไหน ในสายตาโลก!
604
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด