บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
264
2 นาที
1 กรกฎาคม 2568
กล้าต่อยอด! Brand Extension พาธุรกิจพ้นวิกฤตยอดขายตก
 

Brand Extension เป็นกลยุทธ์การขยายไลน์สินค้าให้มีหลากหลายประเภท เป็นการสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้กับธุรกิจ และกระจายความเสี่ยงในกรณีที่สินค้าเดิมเริ่มมียอดขายไม่แน่นอน ที่สำคัญการทำ Brand Extension ช่วยทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ในวงกว้างมากขึ้นด้วย
 
จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นว่าหลายธุรกิจเอาชื่อแบรนด์ที่คนรู้จัก มียอดขายดีไปต่อยอดเป็นสินค้าใหม่ จุดเด่นของกลยุทธ์นี้คือจะช่วยลดเวลา และงบประมาณในการปั้นแบรนด์ใหม่ แต่จะมีข้อเสียคือ ถ้าสินค้าใหม่ทำออกมาไม่ดี ก็อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวม
 
ทำไมต้องใช้ Brand Extension?
  • ลดความเสี่ยงในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพราะลูกค้าคุ้นเคยกับชื่อแบรนด์เดิมอยู่แล้ว
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาด การใช้ชื่อแบรนด์เดิม ลดค่าใช้จ่ายในการสร้างแบรนด์ใหม่ และการทำการตลาดง่าย
  • เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ เพราะการมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้
  • สร้างความหลากหลายให้กับแบรนด์ สามารถเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจได้
แต่คำว่า Brand Extension ก็ไม่ได้หมายถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่แต่เพียงอย่างเดียวนี่คือกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้หลากหลายมี 7 ประเภทด้วยกันคือ


ภาพจาก https://bit.ly/3TilR6U
  1. เปลี่ยนรูปแบบลักษณะสินค้า (Product Form) เช่น Google เปิดตัวโทรศัพท์มือถือที่ชื่อว่า Google Pixel หรือ Snickers ออกสินค้าตัวใหม่คือไอศครีมแท่ง
  2. สินค้าที่เข้าคู่กัน (Companion Product) เช่น Colgate ที่เดิมมีแต่ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันและได้ขยายผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นแปรงสีฟันภายใต้ชื่อแบรนด์เดิม
  3. ความเชี่ยวชาญของธุรกิจ (Company Expertise) เช่น Sony จากผู้ผลิต Sony Walkman และได้ขยายออกมาเป็นโทรศัพท์มือถือ ลำโพง สมาร์ทวอช หูฟัง และอื่นๆ
  4. ความแตกต่างของแบรนด์ (Brand Distinction) เช่น Apple ที่สร้างผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายประเภท ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจนกลายเป็นแบรนด์ด้านเทคโนโลยีอันดับต้นๆของโลก
  5. ศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของแบรนด์ (Brand Prestige) เช่น BMW ที่ประสบความสำเร็จกับการผลิตรถยนต์และขยายไปสู่การผลิตมอเตอร์ไซค์ , การผลิตเครื่องแต่งกายและนาฬิกา
  6. ขยายส่วนประกอบ (Component Extension) แฟนต้า มิรินด้า ที่มีหลากหลายรสชาติและหลากหลายกลิ่น
  7. แสดงความเป็นไลฟ์สไตล์ (Leveraging a Lifestyle) เช่น รถยนต์ Jeep ที่เหมาะกับกิจกรรมท่องเที่ยวประเภท Outdoor ก็มีผลิตภัณฑ์อื่นที่เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์นี้ เช่น มีด เต้นท์ รถจักรยาน เป็นต้น
ถ้าดูตัวเลขในด้านความสำเร็จของแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้ ก็มีตัวอย่างน่าสนใจเช่น 

ภาพจาก www.facebook.com/DysonTH
  • Dyson จากเครื่องดูดฝุ่น สู่ไดร์เป่าผม เครื่องฟอกอากาศ ผลสำรวจผู้บริโภคปี 2025 พบว่า 78% ของคนที่ใช้เครื่องดูดฝุ่นยินดีซื้อสินค้า personal care ของ Dyson
  • Oishi (โออิชิ) จากร้านอาหารญี่ปุ่น ไปสู่ชาเขียวพร้อมดื่ม ก็มีกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดด
  • โก๋แก่ จากถั่วทอดธรรมดา สู่หลากหลายรสและแพ็กเกจใหม่ ยอดขายเพิ่มกว่า 4.3 เท่า จาก 600 ล้านกลายเป็น 2,600 ล้านบาท
  • กาแฟพันธุ์ไทย แตกแบรนด์จากร้านกาแฟสู่ก๋วยเตี๋ยวเรือพันธุ์ไทย ใช้ชื่อเสียงของแบรนด์สร้างฐานลูกค้าให้ธุรกิจใหม่ ช่วยประหยัดงบด้านการตลาดและทำให้แบรนด์ใหม่เป็นที่รู้จักได้เร็วขึ้น
หรือในด้านแฟรนไชส์เราก็เห็นหลายแบรนด์ที่นำ Brand Extension มาใช้ยกตัวอย่างเช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวที่มีหลาย แบรนด์ในเครือเช่น ชายสี่พลัส , ชายใหญ่ข้าวมันไก่ , พันปีบะหมี่เป็ดย่าง หรืออย่างห้าดาวก็มีหลายแบรนด์ในเครือเช่นไก่ห้าดาว , ไฮพอร์ค , เป็ดเจ้าสัว , ข้าวมันไก่ไห่หนาน เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์ Brand Extension คล้ายๆ กับการสร้างอาณาจักรธุรกิจให้มีหลายสินค้าที่ครอบคลุมในทุกความต้องการลูกค้าและขยายโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น 
 
 
ในอีกมุมหนึ่งก็อาจวิเคราะห์ได้เช่นกันว่า Brand Extension คือการหว่านแหเพื่อดึงเอาลูกค้าจากทุกกลุ่มมาเป็นรายได้ให้ธุรกิจยิ่งมีแบรนด์ที่แตกต่างก็ยิ่งครอบคลุมทุกความต้องการ แต่ก็มีหลายเสียงที่บอกว่าวิธีนี้อาจไปขัดขาตัวเอง ทำให้ยอดขายสินค้าในบางชนิดลดลง แต่ถ้ามองในเชิงธุรกิจเรื่องนี้ก็คงไม่มีผลสักเท่าไหร่ เป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า Cannibalization ยอมขัดขาตัวเองแต่สุดท้ายผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้ก็เข้าสู่บริษัททั้งหมด
 
การนำ Brand Extension มาใช้ส่วนใหญ่จึงให้ผลดีมากกว่าผลเสียแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและอย่าให้แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมจนเกินไป ซึ่งอาจสร้างผลเสียที่กระทบไปถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์หลัก ยิ่งในยุคโซเชี่ยลทรงพลังแบบนี้อะไรที่คนพูดถึงในแง่ลบหรือแง่บวกกระจายไปไว การทำตลาดไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ต้องระวังเอาไว้ให้ดีด้วย
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามส่งด่วน • เกมส์ • กลยุทธ์ • ธุรกิจ
448
คิดวิเคราะห์ขายอาหารใน Food Court คุ้มหรือไม่
386
“Store Assortment” กลยุทธ์ร้านค้าปลีก ที่เจ้าของ..
383
ไฮเปอร์มาร์เก็ต VS ซูเปอร์เซ็นเตอร์! ใครจะรุ่ง ..
374
“Markdown” วิธีใช้ “ป้ายเหลือง” เพิ่มรายได้ร้านส..
348
3 ทหารเสือ เชนร้านสเต็ก พันล้าน
348
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด