บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    ช่องทางทำกิน
280
2 นาที
13 พฤษภาคม 2568
เศรษฐกิจจีนชะลอตัว จนต้องเอาแฟรนไชส์ขายต่างประเทศ?


ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา จีนเคยเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เริ่มเผชิญกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น หนี้สินสะสมของภาคอสังหาริมทรัพย์ อัตราการบริโภคที่ไม่ฟื้นตัวตามคาด รวมถึงแรงกดดันจากภายนอก เช่น ความตึงเครียดทางการค้า และการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากในจีนต้องเร่งปรับตัว 
 
หนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยม คือ การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และค้าปลีก เพราะมองเห็นโอกาสใหม่ในตลาดต่างประเทศที่ยังมีศักยภาพการเติบโตสูง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดในจีน
 
ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว
 
  1. ตลาดในประเทศอิ่มตัว
    • เมืองใหญ่ๆ เต็มไปด้วยร้านค้าซ้ำๆ รูปแบบเดิม เช่น ชานม ร้านอาหารฟิวชัน
    • การแข่งขันดุเดือด ทำให้ต้นทุนสูง กำไรลด
  2. ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง
    • หลังโควิด คนจีนระวังเรื่องการเงินมากขึ้น 
    • ความเชื่อมั่นในอนาคตลดลง โดยเฉพาะปัญหาที่จะตามมาจากสงครามการค้าระหว่างประเทศ
  3. ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ลุกลาม
    • บริษัทใหญ่ เช่น Evergrande และ Country Garden ล้มละลายหรือผิดนัดชำระหนี้ ทำให้หลายเมืองเล็กๆ ในจีนไม่มีการลงทุนใหม่ กระทบอัตราการจ้างงานและการใช้จ่ายของประชาชน 
  4. ว่างงานสูง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
    • คนรุ่นใหม่มีรายได้ไม่แน่นอน ในปี 2023 มีรายงานว่า อัตราว่างงานคนอายุ 16–24 ปีเกิน 20% ส่งผลให้กลุ่มนี้ ซึ่งเคยเป็นกำลังซื้อหลักในเมืองใหญ่ เริ่มใช้จ่ายน้อยลง 
ทำไมธุรกิจจีนยังขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ?

  1. กระจายความเสี่ยงจากเศรษฐกิจภายใน เมื่อตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัวหรือไม่แน่นอน การออกไปหาตลาดใหม่จึงเป็นทางออก เช่น แบรนด์ชานมจีนขยายไปสหรัฐฯ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ตะวันออกกลาง
  2. แรงขับจากเงินทุนและเทคโนโลยี บริษัทจีนมีความพร้อมทั้งในด้านเงินลงทุน เทคโนโลยี และโครงสร้างการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ในต้นทุนต่ำ
  3. สร้างแบรนด์ระดับโลก (Global Branding) การขยายแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์จีนให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล โดยอาศัยต้นทุนวัตถุดิบต่ำ ขายสินค้าราคาถูก จับกลุ่มลูกค้าทั้งพรีเมียมและแมส 
  4. ได้เปรียบเรื่อง Supply Chain และนวัตกรรม แบรนด์จีนสามารถออกแบบ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถขยายแฟรนไชส์ได้ไวและมีประสิทธิภาพ
มาดูกันว่าที่ผ่านมามีธุรกิจแฟรนไชส์จีน แบรนด์ไหนบ้าง บุกตลาดในประเทศไทยแล้ว 
 
  1. Mixue (มี่เสวี่ย) มีมากกว่า 200 สาขาในไทย ถือเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก McDonald's
  2. Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มีกว่า 150 สาขา
  3. Bing Chun (ปิงฉุน) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มี 14 สาขา
  4. CHA i ENJOY แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 1 สาขา
  5. JIAN CHA Tea เจี้ยนชา แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 11 สาขา
  6. Naixue ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
  7. Chagee ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
  8. ChaPanda ร้านชานม มี 2 สาขา 
  9. ไหตี่เลา (Haidilao) เชนร้านหม้อไฟจีน มี 10 สาขา บริการลูกค้าที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างรอคิว ตั้งแต่ของว่าง ไอศกรีม ทำเล็บ
  10. ไก่ทอดเจิ้งซิน ร้านไก่ทอด สเต็ก บาร์บีคิว ไอศกรีม ราคาเริ่มต้น 15 บาท มี 4 สาขา
  11. ไก่ทอด Wallace ร้านไก่ทอดเสิร์ฟทั้งตัวพร้อมแฮมเบอร์เกอร์ มี 4 สาขา 

สรุป เศรษฐกิจจีนอาจไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต อีกทั้งยังเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งภายในและภายนอก แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ยังมีบางอุตสาหกรรมเติบโต เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), เซมิคอนดักเตอร์, รถยนต์ไฟฟ้า (EV), เทคโนโลยีอวกาศ 
 
ส่วนการที่แบรนด์จีนขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดีหรือแย่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการ “ปรับกลยุทธ์” เพื่อเติบโตในตลาดโลก กระจายความเสี่ยง และสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
3,121
ปัญหาระดับชาติ! #แฟรนไชส์จีนบุกไทย พร้อมซัพพลายเ..
671
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
601
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
506
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
494
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
483
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด