บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
397
2 นาที
27 มกราคม 2568
ธุรกิจปี 2025 ต้องเปลี่ยน “Pain Point” แก้ปัญหาของขายยาก! ลูกค้าไม่อยากซื้อ!
 

Pain Point คือ อุปสรรค ปัญหา หรือข้อจำกัดที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสร้างความยุ่งยาก ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการดำเนินการ หรือสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ ทำให้ Pain Point คือสิ่งที่ต้องมีการแก้ไขและหาทางออกโดยเร็วที่สุด
 
ซึ่งแต่ละปีการทำธุรกิจก็มี Pain Point ที่แตกต่างกันไป การแก้ปัญหาก็ส่วนใหญ่ก็เน้นการแก้ไขไปตามสถานการณ์ ธุรกิจไหนที่มีการวางแผนบริหารจัดการที่ดี การเปลี่ยน Pain Point ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
อันที่จริงคำว่า Pain Point ถ้าให้แบ่งแยกย่อยก็มีอยู่ 5 ประเภทคือ
  • Functional Pain Points ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานจริงของสินค้า หรือบริการ เช่น ผลิตภัณฑ์ใช้งานยาก ซับซ้อน ไม่ตรงตามความต้องการ
  • Emotional Pain Points ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ของลูกค้า เช่น ความกังวลเรื่องความปลอดภัย ความไม่มั่นใจในการใช้บริการ
  • Financial Pain Points ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย หรือต้นทุน เช่น การตั้งราคาสินค้าหรือบริการแพงกว่าที่ควร ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่คุ้มค่า
  • Process Pain Points ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งอาจทำให้เสียเวลา ค่าใช้จ่าย หรือประสิทธิภาพในการทำงาน
  • Personnel Pain Points ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในบริษัท ทั้งในแง่ของทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความเป็นมืออาชีพ
แต่ถ้ามองภาพรวมในปี 2025 นี้ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ คือต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูง แต่กำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ลดลง ไหนจะปัญหาเรื่องการแข่งขันที่สูง ถ้าธุรกิจใดๆ ยังไม่เปลี่ยน Pain Point ให้สอดคล้องกับบริบทยุคใหม่ จะนำมาซึ่งปัญหา ถึงขั้นที่ทุนหายกำไรหดได้เลยทีเดียว

 
ถ้ายังมองภาพไม่ออกลองมาดูกรณีศึกษาของสินค้าแบบ “กล้วยๆ” ซึ่งแม้เป็นสินค้าแบบบ้านๆ แต่ถ้าเปลี่ยน Pain Point โอกาสขายก็มากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เรื่องนี้ชัดเจนมากจาก “กล้วยที่วางจำหน่ายใน 7- Eleven” ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยน Pain Point ของผู้ที่ทำงานให้กับสหกรการณ์เกษตร ที่มองเห็นว่ากล้วย 1 หวีมีหลายลูกขณะที่บางคนนั้นเป็นครอบครัวขนาดเล็ก หรือบางคนก็ไม่มีครอบครัว การรับประทานกล้วยไม่ทันเวลาที่สุกงอมก็ทำให้สินค้าเสียหาย และต้องทิ้งไป
 
จากจุดนี้เองที่กลายเป็นไอเดียในการนำเสนอ “กล้วย” ให้กับทาง 7- Eleven ซึ่งก็เป็นโปรเจคที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าดีเริ่มต้นจากการสั่งกล้วยเข้า 7- Eleven วันละ 1,000 ลูก และได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง ถึงปี 2563 ยอดการสั่งกล้วยมาจำหน่ายใน 7- Eleven สูงถึงวันละ 50,000 ลูก เป็นต้น
 
หรือแม้แต่ในญี่ปุ่นเรื่องของสินค้าที่ใช้ Pain Point มาเน้นทำตลาดก็มีอยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างบริษัท Suntory ที่ออกผลิตภัณฑ์ Whitebelg โดยจำลองรสและกลิ่นของเบียร์เบลเยี่ยม กลิ่นหอมผลไม้อ่อน ๆ รสชาติไม่ขมเกินไป ดื่มง่าย รสชาติแบบเบียร์คราฟต์ พร้อมข้อความสื่อสารว่า “No Bitter Life” หรือหมายถึงชีวิตไม่ต้องอดทนหรือทุกข์ยากอะไรขนาดนั้น มาใช้ชีวิตอย่างอิสระ ทำในสิ่งที่รักดีกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อขจัด Pain Point ในใจของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้ชีวิตแบบผ่อนคลายและต้องการหาสินค้าที่สร้างความสุขให้ชีวิตได้
 

ภาพจาก https://bit.ly/4aDw1Xx
 
หรือบริษัท Marukome ผลิตซุปมิโซะพร้อมทานรุ่นใหม่ ชื่อ “O miso Shiru no Uta” ที่ตั้งเป้าหมายในการขจัด Pain Point ของบรรดาแม่บ้านในญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยมีเวลาของตัวเอง ส่วนใหญ่ต้องทำงานหนัก กลับมาบ้านก็เหนื่อย ไม่ค่อยมีเวลาทำอาหาร ซึ่งสินค้าใหม่นี้ตอบโจทย์และกำจัดปัญหาดังกล่าวได้อย่างสิ้นเชิง
 
ทั้งนี้การที่แบรนด์จะเปลี่ยน Pain Point ตัวเองอย่างไรก็ต้องให้สอดคล้องกับการตลาดและกลุ่มลูกค้าของตัวเองเป็นสำคัญ ซึ่งการปรับและพัฒนาสินค้าให้ไปตอบโจทย์และเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าในยุคที่มีการแข่งขันสูงมากแบบนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราทำให้ลูกค้ารู้สึกเชื่อมั่น มั่นใจ อยากใช้บริการ ยอดขายสินค้าเราก็จะดีขึ้นและเป็นสินค้าที่อยู่ในใจลูกค้าได้มากขึ้นด้วย

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
500
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
335
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด