บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
491
3 นาที
3 ธันวาคม 2567
แกะสูตร "ชาตรามือ" ต้นตำรับชาไทย ดังไกลในต่างแดน
 

ถ้าพูดถึง "ชาตรามือ" เชื่อว่าคนไทยน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เครื่องดื่ม "ชาไทย" ที่มีจุดเริ่มต้นแรกๆ มาจากประเทศจีน จากสินค้าที่ดูโบราณๆ อยู่ดีๆ ก็ดังเปรี้ยงปร้าง กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ  "ผัดไทย" เป็นอาหารไทยที่ดังไกลไปทั่วโลก ถ้าเป็นเครื่องดื่มก็คงต้องยกให้ "ชาตรามือ" 
 
ชาตรามือ ไม่เพียงแต่ได้รับความนิยมและโด่งดังในประเทศไทย ครองส่วนแบ่งตลาดชาชงกว่า 80% มีสาขา 170 แห่งทั่วประเทศ ยังสามารถบุกตลาดต่างประเทศได้สำเร็จ จนได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
 
ในระดับที่มีคนมาต่อแถวรอเป็นชั่วโมงก่อนร้านเปิดในหลายประเทศเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น บรูไน, กัมพูชา, จีน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เมียนมา, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
 
ในต่างประเทศ “ชาตรามือ” ถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของเครื่องดื่มชาไทย ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ลูกค้าต่อคิวยาวจนล้นออกหน้าร้านตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในเวียดนาม ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ถือเป็นเครื่องดื่มที่คนในประเทศต้องกินให้ได้
 
เครื่องดื่มชาตรามือในต่างประเทศ จะมีเมนูที่ขายดีที่สุด คือ ชาไทย รองลงมา คือ ชาเขียว ชามะนาว ในสหรัฐอเมริกาขายราคาแก้วละ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 200 บาท
 
“ชาตรามือ” ใช้กลยุทธ์ใด ทำไมครองใจผู้บริโภค และดังไกลไปถึงต่างประเทศ มาดูวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กัน 
 
มูลค่าตลาดเครื่องดื่มชาในประเทศไทย
 

ตลาดชาในประเทศไทย ปี 2566 มีมูลค่าตลาด 2,174 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 6.8 เป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น ทำให้ชาหลายประเภท เช่น ชาเขียว ชาสมุนไพร และชาออร์แกนิก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 
 
ผลิตภัณฑ์ชาในตลาดเมืองไทยมีความหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคหลายกลุ่ม แบ่งออกเป็น 
  • ชาดำ (Black Tea)
  • ชาผลไม้/ชาสมุนไพร (Fruit/Herbal Tea)
  • ชาเขียว (Green Tea)
  • ชาสำเร็จรูป (Instant Tea) 
  • ชาประเภทอื่นๆ (Other Tea) เช่น Oolong Tea (ชาอู่หลง) ซึ่งมีรสชาติที่ผสมผสานระหว่างชาเขียวและชาดำ 
จุดเริ่มต้น...ชาตรามือ
 

ย้อนกลับไปในปี 2463 “ซาแป่” หนึ่งในพี่น้อง 8 คน อพยพจากเมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย “ซาแป่” มีความเชี่ยวชาญเรื่องการผลิตชาตั้งแต่สมัยอยู่ที่ประเทศจีน ได้ตัดสินใจเปิดร้านชาจีนร้อนชื่อ “ลิมเมงกี” บนถนนเยาวราช เป็นธุรกิจกงสี มีการนำเข้าชาจีน ชาอู่หลง แลชาเขียว จากเมืองจีนมาขาย
 
พอเปิดมาได้ว่า 20 ปี ร้านชาขายดิบขายดีมาก แต่ร้านกลับถูกระเบิดทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องย้ายร้านไปอยู่ที่ซอยผดุงด้าว ถนนเยาวราช ใกล้ๆ กับร้านเดิม เน้นขายชาจีน ชาเขียว ชาอู่หลง และมีการนำชาแดงเข้ามาขายในร้านด้วย
 
เวลาผ่านไป “ชาร้อน” เริ่มขายไม่ดี คนไทยไม่ค่อยนิยม เพราะอากาศค่อนข้างร้อน ทางร้านจึงได้นำชาแดงมาชงเป็นชาไทยและชาดำ เสิร์ฟพร้อมน้ำแข็งให้เข้ากับอากาศร้อนๆ ของบ้านเรา
 
แรกๆ ชาตรามือไม่ได้ใช้ชื่อ "ตรามือ" แต่เป็นเพราะโลโก้สีแดงสดเป็นรูปกาชงชาและยกนิ้วโป้ง สื่อถึงความเป็นเลิศ ทำให้ลูกค้าติดภาพจนเรียกกันมาว่า "ชาตรามือ" ต่อมาได้เปิดหน้าร้านอย่างเป็นทางการ และได้ใช้ชื่อ "ชาตรามือ" ในช่วงปี 2488 

 
ต่อมาชาตรามือเริ่มมองเรื่องการขยายธุรกิจ จึงร่วมมือกับทายาทรุ่นที่ 3 "คุณพราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช" ต่อยอดด้วยการเปิดหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า จุดที่คนสัญจรไปมา ไปพร้อมกับการรีแบรนด์ใหม่ เพื่อให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น หนึ่งในเมนูจุดกระแสที่ทำให้ชาตรามือเป็นที่พูดถึงมากที่สุด คือ “ชากุหลาบ” ที่ทางร้านตั้งใจนำมาขายในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ แต่ด้วยสรรพคุณที่ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้เมนูนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม
 
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันหนึ่งในลูกค้าคนสำคัญของชาตรามือ คือ Cafe Amazon ที่สั่งชาจากชาตรามือ 88.5 ตันต่อเดือน
 
กลยุทธ์...ชาตรามือ
1.กลยุทธ์ Collaboration : X 
 

ปลายปี 2564 “ชาตรามือ” หันมาใช้กลยุทธ์การตลาดด้านความร่วมมือ (Collaboration : X) จับมือกับร้านกาแฟ “อินทนิล” พัฒนาเมนูเครื่องดื่มเด็ดๆ เสิร์ฟผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้นผ่านฐานแฟนของ “อินทนิล” ด้วย
 
ต่อมาในช่วงกลางๆ ปี 2566 “ชาตรามือ” เริ่มเดินหน้ากลยุทธ์ Collaboration : X ต่อเนื่อง ขยายสาขาไปอยู่ในปั้มน้ำมันเชลล์ ที่มีจำนวนมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ แต่ละสาขาของปั้มน้ำมันเชลล์ตั้งอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางธุรกิจและชุมชนที่อยู่อาศัย ทำให้ “ชาตรามือ” สามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้าคนขับรถ คนทำงานออฟฟิศ และคนที่พักอาศัยในชุมชนใกล้เคียง อีกยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่สั่งเดลิเวอรี่และจำเป็นต้องการมารับสินค้าในปั้มที่มีพื้นที่รองรับด้วย 
 
“ชาตรามือ” เปิดร้านในปั้มเชลล์ยังเปิดโอกาสให้สามารถทำการตลาดแบบ Omni-channel ให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างรอบด้าน ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ จะส่งผลให้มีลูกค้าเข้าไปใช้บริการปั้มน้ำมันและร้านชาตรามือเพิ่มขึ้นด้วย
 
ร้านชาตรามืออยู่ในปั้มเชลล์สาขาไหนบ้าง?   
 
  • ปั้มน้ำมันเชลล์ กาญนาภิเษก-บางใหญ่
  • ปั้มเชลล์ ลาดพร้าว 81
  • ปั้มเชลล์ ประเสริฐมนูกิจ
  • ปั้มเชลล์ เอกชัย ซอย 46
  • ปั้มเชลล์ บางแค
  • ปั้มเชลล์ แสมดำ พระราม 2
  • ปั้มเชลล์ ถนนข้าวหลาม (ขาเข้าบางแสน)
  • ปั้มเชลล์ ถนนข้าวหลาม (ขาออกบางแสน)
  • ปั้มเชลล์ พัทยาเหนือ
  • ปั้มเชลล์ ชลบุรี บายพาส
  • ปั้มเชลล์ กิ่งแก้ว
  • ปั้มเชลล์ ถนนหลวงแพ่ง
  • ปั้มเชลล์ บางนา-ตราด
  • ปั้มเชลล์ พระราม 9
  • ปั้มเชลล์ สุขสวัสดิ์ 49
  • ปั้มเชลล์ วังน้อย
  • ปั้มเชลล์ วังมะนาว
  • ปั้มเชลล์ บ้านลาด เพชรบุรี
ฯลฯ 
 
ยังไม่พอเมื่อต้นปี 2567 ชาตรามือร่วมมือกับ Chester’s ร้านอาหาร fast food ของไทยเปิดตัวเมนู “ไก่ & ฟรายส์ ชาไทยตรามือ” ตามกระแสชาไทยที่ฮิตอยู่ในตอนนี้ เรียกง่ายๆ ว่าถ้าสินค้าไหนต้องการชาตรามือไปสร้างปรากฎการณ์ใหม่ๆ ชาตรามือก็พร้อมจะร่วมมือผลักดันกระแสไปด้วย 

2. พัฒนาเมนูใหม่ๆ
 

“ชาตรามือ” เพิ่มมูลค่าสินค้าโดยออกเมนูใหม่ๆ ในเทศกาลสำคัญ อย่างวันวาเลนไทน์ วันแม่ เซตปีใหม่ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ ไม่เคยหยุดต่อยอดสูตร ออกสินค้าเมนูใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมถึงต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเครื่องดื่มไปเป็นไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟ ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพ จนสามารถขยายยอดขายไปถึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและคนทำงานได้
 
3. เข้าถึงง่าย ราคาคุ้มค่า
 
ชาตรามือ เน้นกลยุทธ์เลือกสถานที่เปิดร้าน ทำเลเข้าถึงง่าย มองเห็นง่าย เช่น รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า สนามบิน และล่าสุดเข้าปั้มน้ำมัน เป็นการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น ที่สำคัญราคาไม่สูงมาก มีมาตรฐานทุกสาขา
 
4. เพิ่มช่องทางการขาย
 

“ชาตรามือ” กระโดดเข้าร่วมใช้บริการแบบเดลิเวอรี่ ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อชาตรามือได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังได้เปิดสาขาในต่างประเทศผ่านการขายแฟรนไชส์ และมีการเปิดสาขาในปั้มเชลล์ง่ายต่อการเดลิเวอรี่อีกด้วย 
 
5. เข้าใจกฎระเบียบต่างประเทศ 
 
เรียกว่าเป็นข้อสงสัยที่หลายๆ คนเกิดความข้องใจกันเลยทีเดียว สำหรับชาตรามือ ที่มีคำว่า For Domestic Use Only หรือแปลไทยว่า "ใช้สำหรับในประเทศเท่านั้น" ระบุเอาไว้บนผลิตภัณฑ์ สาเหตุที่ทำให้ชาตรามือต้องระบุว่า "ใช้สำหรับในประเทศเท่านั้น" หรือ "For Domestic Use Only" เพราะว่าในตัวของชามีการใส่สีผสมอาหารที่ชื่อว่า Sunset yellow FCF ซึ่งเป็นสีที่ทำให้ชามีสีส้ม 
 
ทางด้านยุโรปและสหราชอาณาจักรมีการแบนไม่ให้ใช้สีส้ม Sunset yellow ผสมลงไปในอาหาร (และสีอื่นๆ อีก 5 สี) หากมีการผสมลงในอาหารจะต้องติดป้ายเตือนไว้บนซอง ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนวิธีการอีกหลายขั้นตอน แต่ชาตรามือที่วางจำหน่ายในต่างประเทศนั้น จะไม่มีส่วนผสมของสีผสมอาหารแต่อย่างใด
 
ชาตรามือ มีรายได้เท่าไหร่?
 

แบรนด์ “ชาตรามือ” อยู่ภายใต้การบริหารของ 3 บริษัท 
  • บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ปี 2566 มีรายได้ 2,637 ล้านบาท กำไร 43.8 ล้านบาท 
  • บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด ปี 2566 มีรายได้ 371 ล้านบาท กำไร 8.4 ล้านบาท
  • บริษัท ทิพย์ธารี จำกัด (ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มชาตรามือ) ปี 2566 มีรายได้ 1,273 ล้านบาท กำไร 195.7 ล้านบาท 
สำหรับคนที่ถามเข้ามาว่า “ชาตรามือ” ขายแฟรนไชส์มั๊ย!
 

ปัจจุบันชาตรามือยังไม่มีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ในประเทศไทย แต่ผู้สนใจสามารถนำผลิตภัณฑ์ของชาตรามือไปใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบธุรกิจในนามชื่อร้านของตัวเอง และสามารถนำบรรจุภัณฑ์ชาตรามือตั้งโชว์ที่ร้านได้   
 
สุดท้าย ความสำเร็จของ “ชาตรามือ” ที่ดังไกลไปทั่วโลก ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติไม่ต่างจาก “ผัดไทย” จนกลายเป็นของกินที่ “ห้ามพลาด” ในต่างประเทศหรือมาเที่ยวเมืองไทย บางคนถึงขั้นหิ้วใบชากลับประเทศเสียด้วยซ้ำ นับว่าเป็นตัวอย่างของธุรกิจไม่หยุดพัฒนา ทำให้แบรนด์ที่ดูโบราณๆ มีความร่วมสมัยอยู่ตลอด ช่วยยกระดับ “ชาไทย” ของคนไทยในตลาดโลก 
 
แหล่งข้อมูล
 
https://www.cha-thai.com/history 

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
498
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
335
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด