บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
8.8K
2 นาที
19 กรกฎาคม 2556
อยาก...เป็นเจ้าของธุรกิจ ต้อง “รู้” อะไรบ้าง 

หลายคนเมื่อเรียนสำเร็จหรือหลังจากทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนมาได้ระยะหนึ่ง คงถึงเวลาค้นหาความฝัน อยากผันตัวไปทำธุรกิจของตัวเอง แต่พวกเขาเหล่านี้อาจยังไม่รู้เลยว่าจะทำธุรกิจอะไร ควรเริ่มต้นจากจุดไหน แล้วต้องบริหารอย่างไรให้อยู่รอดและไปได้ด้วยดี โอกาสนี้ ìธนาคารกสิกรไทยî มีข้อแนะนำน่าสนใจมาฝากไว้ให้เหล่า SMEs มือใหม่...ทั้งหลาย

ความสำเร็จเริ่มต้นที่ความคิด

แบบทดสอบง่ายๆ เพื่อเป็นการประเมินตัวเองว่า คุณมีคุณสมบัติเหมาะสมมากน้อยเพียงใดกับการที่จะก้าวเข้ามาสู่ความเป็นผู้ประกอบการ
 
ข้อ 1 เวลาหลับตาฝันกลางวัน คุณมองเห็นตัวเอง
  • คำตอบ A เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ตามใจต้องการ
  • คำตอบ B ทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ ความมั่นคงสูง

ข้อ 2 เมื่อมีงานประดังเข้ามามากๆ คุณมักจะ
  • คำตอบ A ยุ่งมากแค่ไหนก็ยังสบายอยู่
  • คำตอบ B งงๆ สับสน ผิดพลาดเสมอ

ข้อ 3 ก่อนที่จะเริ่มทำงานสักอย่างหนึ่ง คุณเตรียมตัวอย่างไร
  • คำตอบ A หาข้อมูล ขบคิด วางแผน
  • คำตอบ B ทำเลย จะรออะไร คิดไปทำไปก็ได้

ข้อ 4 คุณรับมือกับมนุษย์ที่ชอบก่อปัญหาอย่างไร
  • คำตอบ A ชักแม่น้ำทั้ง 5 ตะล่อมด้วยเหตุและผล
  • คำตอบ B เลือดขึ้นหน้า พูดจาโผงผาง

ข้อ 5 ในการตัดสินใจแต่ละครั้ง คุณมักจะ
  • คำตอบ A มั่นใจ มั่นคง และเดินตามที่เลือกแล้ว
  • คำตอบ B ลังเล ลีลา อยากหาที่ปรึกษา
...ถ้าคำตอบสวนใหญ่เป็น  A แปลว่าคุณมีคุณสมบัติเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ประกอบการได้ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกคำตอบ A หรือ B เป็นส่วนใหญ่ อย่าเพิ่งดีอกดีใจหรือน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะนี่เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น เพราะหลังจากวัดใจตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาอยู่รอดและประสบความสำเร็จ ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
 
แน่ใจนะว่าคุณผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์คนซื้อ, ผลิตแล้วคุณรู้เรื่องการทำตลาดดีพอ, ลูกค้าของคุณคือใคร, แล้วคุณจะเข้าถึงลูกค้าที่ว่าของคุณด้วยช่องทางไหน, ลูกค้าของคุณยอมจ่ายเงินเพื่อสินค้าของคุณหรือเปล่า
 
คุณบริหารต้นทุนให้เหมาะสมได้ไหม, คุณมีทรัพยากรทั้งหลายที่จะทำให้กิจการนี้เกิดขึ้นได้ไหม, สินค้ามีจุดเด่นอะไรที่จะดึงดูดให้ลูกค้าซื้อ, คุณสามารถก้าวขึ้นแท่นผู้นำในธุรกิจนี้หรือไม่, แล้วจะเริ่มต้นตรงไหนดีล่ะ หากคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ทุกข้อ จะรีรออะไรอยู่ ได้เวลาลุยแล้วล่ะ!
 
เปิดประตูก้าวสู่โลกธุรกิจ
รูปแบบธุรกิจ หลักๆ แล้วมี 4 แบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเลือกรูปแบบใด จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
 
1. สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง
สามารถคิด เลือก ตัดสินใจทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ตัดสินใจและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว แต่ต้องพร้อมที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีความเสี่ยงสูง เหมาะกับคนเจ้าความคิด มีแผนธุรกิจชัดเจน และมีเงินทุนสูง
 
2. ซื้อกิจการต่อจากผู้อื่น
ไม่ต้องเปลืองเวลาเริ่มต้นนับหนึ่ง มีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องพึงระวังว่าเจ้าของเดิมอาจเปิดธุรกิจแข่ง และต้องพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาอย่างละเอียด เหมาะกับคนที่เห็นโอกาสทำกำไรในธุรกิจชัดเจน หรือต้องการต่อยอดจากธุรกิจประเภทใกล้เคียงกัน
 
3. เข้าไปรับช่วงกิจการ
ถ้าธุรกิจดีอยู่แล้ว ไม่ต้องลงแรงมาก และมีฐานลูกค้าเดิมอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการรับช่วงจากธุรกิจครอบครัวไม่น่ามีปัญหาอะไรมาก เพราะสามารถปรึกษากันในครอบครัวได้ แต่อาจต้องสะสางปัญหาเดิมที่ค้างอยู่ เหมาะกับธุรกิจครอบครัวหรือคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจมากพอควร
 
4. การซื้อแฟรนไชส์
เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์น้อยแต่มีเงินทุนพอควร หรือต้องการเปิดแฟรนไชส์เป็นอาชีพเสริม จุดเด่นของรูปแบบนี้ คือ ไม่ต้องใช้เวลาศึกษามาก และแบรนด์มักเป็นที่รู้จัก สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ง่าย แต่ก็มีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่ม เช่น Royalty fee หักเปอร์เซ็นต์ของรายได้ และต้องดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนด 
 
...เมื่อพบรูปแบบที่เหมาะกับตัวเองแล้ว ถึงเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนในการจดทะเบียนตั้งธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูรายละเอียดที่ www.dbd.go.th
 
กฎหมายควรรู้ สำหรับ SMEs
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 ในครึ่งปีแรก และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง
     
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ต้องยื่น ภ.ง.ด.51 ในครึ่งปีแรก เพื่อประเมินรายได้ และยื่น ภ.ง.ด.52 ในครึ่งปีหลัง พร้อมส่งงบดุล และมีการตรวจสอบบัญชี
     
  • การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
    ถ้าเป็นทะเบียนพาณิชย์ ที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
     
  • การออกแบบใบกำกับภาษี
    ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำขึ้นและออกให้ผู้ซื้อทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือรับเงิน หรือมีการส่งมอบสินค้า
     
  • กฎหมายประกันสังคม
    นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียน ซึ่งในแต่ละเดือน นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยนำส่ง 2 ส่วน คือ ในส่วนของลูกจ้าง (ทุกคน) หักนำส่งในอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 750 บาท) และเงินสมทบส่วนของนายจ้างเท่ากับส่วนของลูกจ้างทุกคน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของกระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
อ้างอิงจาก  เส้นทางเศรษฐี (มติชน)
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจี..
3,782
ของดี ราคาไม่แพง “ข้าวแกงนางงาม 10 บาท” คนกินอิ่..
886
จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!
815
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนู..
757
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
733
ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!
724
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด