บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
5.3K
1 นาที
12 มิถุนายน 2555
ปัญหาแฟรนไชส์ที่พบบ่อย(จัง) 2


ทำไมไม่บอก เรื่องนี้ถ้าไม่ชี้แจงให้ดีหรือบอกกันแต่แรกถือว่า ระบบแฟรนไชส์จะขาด ตอนและติดเป็นหล่มลึกขยายตัวไม่ออก แฟรนไชส์นั้นเป็นระบบการรักษาผลประโยชน์โดยรวมของสมาชิกถ้ามีการ จัดสรรกำไรเข้าบริษัทแม่ก็ต้องมีการตกลงที่ชัดเจนและไม่เป็นการเอาเปรียบหรือหาประโยชน์จากสมาชิก

ปัญหาอีกเรื่องต่อมาคือ แฟรนไชส์ซี กลายเป็นคู่แข่ง เลี้ยงลูกจระเข้ โดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ปัญหา นี้เท่าที่สังเกตจะเกิดจากการเหินห่างของแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซีที่มีความตั้งใจที่ดีในตอนแรกเสียก่อน เมื่อมี ปัญหาแล้วไม่มีคนช่วย ไม่รู้จะติดต่อใคร ปัญหาเกิดแล้วไม่มีคนแก้ เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก บางกรณีมีการรวมตัวกันขึ้นเอง ในหมู่แฟรนไชส์ซี แล้วตกลงกันเพื่อเปลี่ยนคนรับผิดชอบกลายเป็นการสร้างกลุ่มของตนขึ้นใหม่ กลายเป็นคู่แข่ง ขึ้นมา นี่เป็นปัญหาของแฟรนไชส์ซอร์ที่ขาดกำลังทีมงานรับผิดชอบ ขยายงานในขณะที่ยังไม่พร้อม ดังนั้นเมื่อเกิด ปัญหาอย่างนี้แก้ยากครับ คงต้องมาดูพื้นฐานของธุรกิจกันก่อนว่ามีช่องว่างอะไร แล้วป้องกันอย่าให้เกิด ไม่งั้นหยุด ขยายตัวก่อนเสียดีกว่า ไม่อย่างนั้นจะมีลูกจระเข้เต็มเมืองแล้วจะหาที่อยู่ของตัวเองไม่ได้


มีปัญหาอีกด้านที่ตรงข้ามกับปัญหาแฟรนไชส์เก่งเกินคือ แฟรนไชส์ซี ลูกแหง่ ลักษณะปัญหาอาจจะไม่ รุนแรงเพียงแต่เหนื่อยหน่อยเท่านั้นเอง ก็เนื่องจากจะต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด และแฟรนไชส์ซีอย่างนี้จะเรียกร้อง มากเกินเลย รวมถึงโอกาสการพัฒนาต่อเนื่องจะเกิดได้ยาก ซ้ำการทำงานอยู่ที่เดิมไม่ไปใหนซะที อย่างนี้ก็น่าเบื่อไป ด้วย แฟรนไชส์ซีประเภทนี้ ปวดหัวตัวร้อนก็ต้องเรียกสำนักงานใหญ่แก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ อบรมก็แล้วทำให้ดูก็ แล้ว แต่ก็ยังไม่มั่นใจทำเองไม่ได้ ปัญหาลักษณะนี้ต้องแก้เสียก่อนที่เปิดรับและคัดเลือกแฟรนไชส์ซี รวมถึงการสร้างปรัชญาในการทำงานที่ต้องให้แต่ละแฟรนไชส์ซีสามารถสร้างแนวทางการทำงานให้ช่วยเหลือตนเองให้ได้ สร้าง ทีมงานให้เป็นเถ้าแก่ตัวจริง


ต่อมาคือ ปัญหาของ การปรับร้านระบบงานให้ดีขึ้นไม่รู้ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ต้องมี ต้องจ่ายเพิ่ม ปัญหาของการUp Grade นี้บางทีเราต้องการปรับรูปแบบการตกแต่งร้านใหม่ หรือการจัดโครงการด้านการส่งเสริม การขาย ปรับป้ายหน้าร้าน การโฆษณาใหม่ มีคำถามว่าใครจ่าย ใครรับผิดชอบ อย่างนี้มักจะเกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ มือใหม่ ที่เริ่มแรกๆอาจจะตั้งใจแค่ขายแฟรนไชส์ไปก่อน

เมื่อมีการพัฒนามากขึ้นแฟรนไชส์ร้านเก่าๆในระยะที่ขายไป ตอนแรกเริ่มไม่สวยงามพอที่จะปรับเข้าสู่มาตรฐาน เมื่อหันจะมาปรับปรุงเพิ่มขึ้นจากสาขาเก่า แฟรนไชศ์ซีเหล่านั้นไม่ เห็นความจำเป็น หรือเห็นความจำเป็นแต่ไม่ยอมร่วมมือ เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ถ้าชี้แจงถึงประโยชน์ที่ทุกคนจะได้ไม่ชัด เรื่องเหล่านั้นยากที่จะจบลงด้วยดี เป็นไปได้ว่าโครงการปรับปรุงเหล่านี้ต้องมีการเรียกประชุมปรึกษาสร้างความเข้าใจ กันเสียก่อน แล้วหาแนวทางร่วมกับผู้ที่ต้องการให้ความร่วมมือเป็นทีมนำร่องก่อน เมื่อมีประโยชน์และเกิดผลชัดเจน คนอื่นๆก็จะเห็นด้วยและยอมลงทุนทำตามไปเอง

ปัญหาในเรื่องการลงทุนตกแต่งเพิ่มทำนองดังกล่าวก็มักจะเกิด กับแฟรนไชส์ที่มีสัญญาระยะเวลานานด้วยเหมือนกัน ดังนั้นถ้าคาดว่าจะต้องมีการปรับปรุงร้านก็ต้องมีการกำหนดไว้ ในเงื่อนไขของสัญญาด้วย ไม่อย่างนั้นเมื่อถึงเวลา ห้าปี เจ็ดปี ที่โอกาสรูปแบบร้านก็จะเริ่มเก่าแต่พอจะปรับปรุง ใหม่แฟรนไชส์ซีไม่เห็นด้วยก็จบกัน จริงๆแล้วในธุรกิจบางอย่างเขาเองถึงกับกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใน ทุกๆสามปีด้วยซ้ำ


บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
2,554
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
554
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
461
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
455
แฟรนไชส์จีนบุกไทย ขายทุกอย่าง ตั้งรับอย่างไร
443
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
439
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด