4.0K
18 กันยายน 2555
ผุดศูนย์เอ-ลิงก์ เชื่อมแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รับกำลังซื้อย่านตะวันออกของกรุงเทพฯ


 
แอร์พอร์ตลิงก์สแควร์ผุดเอ-ลิงก์ ทุ่มกว่า 900 ล้านบาทลุยสร้าง ‘เอ-ลิงก์ สแควร์’ ชอปปิ้งมอลล์แนวใหม่ ‘มิกซ์ยูส’ เชื่อมต่อสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รามคำแหง ย้ำ! มั่นใจที่นี่ฮับใหม่ ศูนย์กลางแห่งอนาคต
 
นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ธิงค์เวิร์ค จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาโครงการเอ-ลิงก์ สแควร์ เปิดเผยถึงการเลือกลงทุนในทำเลย่านรามคำแหงเพื่อก่อสร้างโครงการ ‘เอ-ลิงก์ สแควร์’ ของบริษัท แอร์พอร์ต ลิ้งค์ สแควร์ จำกัด ว่า ‘รามคำแหง-ทองหล่อ’ มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่สุขุมวิท 71, เอกมัย, ทองหล่อ, คลองตัน, พัฒนาการ, พระราม 9, รามคำแหง และเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นชุมชนกำลังการซื้อสูง และเป็นย่านที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

อีกทั้งยังเป็นถนนสายหลักที่เชื่อมกับถนนสายต่างๆ ที่มุ่งออกไปสู่ชุมชนที่พักอาศัย และเป็นเส้นทางเชื่อมจากตัวเมืองออกไปยังฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นทำเลทองระดับเกรด A ของกรุงเทพฯ
 
 
 
นายไชยา เริงเกษตรกรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์พอร์ตลิ้งค์ สแควร์ จำกัด กล่าวว่า เราลงทุนไป 900 ล้านบาท ซึ่งตามแผนงานก่อสร้างอาคารจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเป็นทางการในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ การสร้างอาคารชอปปิ้งเซ็นเตอร์ที่ A-Link Square (เอ-ลิงก์ สแควร์) และสร้างอาคารโรงแรมหรูระดับ 6 ดาวในนาม Niras Bangkok (นิราศ บางกอก) บนพื้นที่อาคารรวม 40,000 ตารางเมตร

ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ พื้นที่ A, B, C และ D จำนวน 6 ชั้น พร้อมด้วยชั้นจอดรถใต้ดิน 2 ชั้นที่รองรับรถได้ถึง 300 คัน พื้นที่ A, B, C จะถูกจัดสรรเป็นชอปปิ้งเซ็นเตอร์ หรือเอ-ลิงก์ สแควร์ สามารถรองรับร้านค้าได้ถึง 113 ร้านค้า

สัดส่วนต่างๆ ของร้านค้าในโครงการ แบ่งเป็นร้านอาหาร 38%, แฟชั่น 18%, ไลฟ์สไตล์ 13%, ความงาม, คลินิก และสปา 10%, ธนาคารและบริการ 6%, คาเฟ่และเบเกอรี 9%, มินิชอป 3%, ซูเปอร์มาร์เกต 3%
 

 
จากการแบ่งสัดส่วนจะพบว่าร้านอาหารมีสัดส่วนมากกว่าอื่นๆ เนื่องจากปัจจุบันคนรับประทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น และคนสนใจลงทุนในธุรกิจร้านอาหารมากขึ้น เพราะไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่เปลี่ยนไป จากการสำรวจตลาดพบว่าความหลากหลายของร้านอาหารในศูนย์จะเป็นตัวช่วยดึงลูกค้าให้สามารถเข้ามาใช้บริการได้บ่อยขึ้น สามารถเลือกร้านที่แตกต่างกันได้ในแต่ละวันตลอดสัปดาห์ และสัดส่วน 35-40% ถือว่ากำลังเหมาะสม
 
นายไชยา เริงเกษตรกรณ์ เผยต่อว่า พื้นที่อาคาร D ของโครงการจะถูกจัดสรรเพื่อสร้างโรงแรมนิราศ บางกอก โรงแรมหรูระดับ 6 ดาว ขนาด 63 ห้อง ตัวอาคารถูกออกแบบตามสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลสไตล์ (Colonial Style) นอกจากนี้ยังได้วางแผนงานเพิ่มที่จอดรถไว้รองรับลูกค้าอีก 600 คัน รวมเป็นสามารถจอดรถได้ 900 คัน
 
 
 
แผนการตลาดคือ การใช้กลุยทธ์ ‘The Link to all you Style’ โดยเน้นการสร้างกิจกรรมการตลาดตอบสนองทุกเพศและทุกวัยด้วยดิจิตอลมาร์เกตติ้ง การทำโปรโมชันร่วมกับร้านค้าผู้เช่า การส่งเสริมการตลาดโดยเน้นการเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับสายการบิน บริษัทห้างร้านบริการนักท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายแก่ผู้ใช้บริการโดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีกด้วย นอกจากนี้ เรายังวางแผนรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสามารถเช็กตารางบินได้ที่นี่เลยด้วยงบการตลาด 20 ล้านบาท
 
“โครงการฯ คาดว่าจะคืนทุนภายใน 6 ปีหลังเปิดตัว ส่วนแผนรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 3-5 ปีข้างหน้า คือการสร้างโรงแรมขนาด 2,000 ห้องเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัดที่เข้ามาติดต่อธุรกิจ หรือสัมมนาในกรุงเทพมหานคร”

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
งาน กินอร่อยร้อยเมนู อร่อยแสงออก..
453
คอกาแฟไม่ควรพลาด! เทศกาลกาแฟที่ใ..
437
งาน มหกรรมรับสร้างบ้าน 2024
423
งานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่..
417
งาน THE MALL LIFESTORE THAPRA BI..
417
เซ็นทรัลพัฒนา ส่งต่อความสดจากทะเ..
409
ข่าวทำเลค้าขายมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด