บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
281
3 นาที
14 พฤษภาคม 2568
บ้านใร่กาแฟ ตำนานร้านคาเฟ่ในปั๊ม วันนี้อยู่ไหน? 
 

เชื่อว่าคนยุค Gen x (อายุ 38-53 ปี) คงไม่มีใครไม่รู้จักแบรนด์ร้านกาแฟสด "บ้านใร่กาแฟ" ที่มีโมเดลร้านรูปแบบบ้านกาแฟทรงสามเหลี่ยมหลังแรกของไทย อาจเรียกได้ว่าเป็นร้านกาแฟอันดับ 2 ในไทยรองจากสตาร์บัคส์ แต่ก่อนเคยมีถึง 110 สาขา สร้างยอดขายได้กว่า 140 ล้านบาทต่อปี
 
แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่เห็นร้านกาแฟ "บ้านใร่กาแฟ" แล้ว นับว่าเป็นแบรนด์ร้านกาแฟสดยอดนิยมของนักเดินทางและคนขับรถในยุคนั้น ด้วยรสชาติกาแฟเข้มข้น 
 
"บ้านใร่กาแฟ" หายไปไหน จากที่มีมากกว่าร้อยสาขาในปั๊มน้ำมัน แต่ปัจจุบันมีแบรนด์ร้านกาแฟสดอีกหลายแบรนด์เข้ามาเสียบแทน เช่น คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) ปั๊มน้ำมัน ปตท., พันธุ์ไทย (Punthai) ปั๊มน้ำมันพีที, อินทนิล (Intranin) ปั๊มน้ำมันบางจาก, ชาวดอย (Chao Doi) ปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ 

จุดเริ่มต้น บ้านใร่กาแฟ 
 

บ้านใร่กาแฟ ก่อตั้งขึ้นโดย "คุณสายชล เพยาว์น้อย" อดีตสถาปนิก ที่ได้ขายทาวน์เฮ้าส์ของตัวเอง 300,000 บาท แล้วนำมาเป็นทุนเปิดร้านกาแฟสาขาแรก เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2540 ในปั้๊มน้ำมัน ปตท. ถนนรังสิต-องครักษ์ คลอง 7 โดยใช้ชื่อ "ใร่กาแฟสด" เปิดร้านวันแรกขายได้ 38 แก้ว ในขณะนั้นแทบจะยังไม่ค่อยมีร้านกาแฟสดลักษณะแบบนี้เลย นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของร้านกาแฟสดในปั๊มน้ำมันของประเทศไทย
 
ต่อมาในปี 2541 ถึงจุดเปลี่ยนของบ้านใร่กาแฟ ต้องย้ายออกจากปั๊ม ปตท. ไปเปิดในปั๊ม JET ของบริษัทอเมริกาชื่อ CONOCO หลังจากมีปัญหากับปั๊ม ปตท. ซึ่งในตอนนั้มปั๊ม JET ได้รับความจากผู้ใช้รถใช้ถนนแวะใช้บริการเป็นอย่างมาก เพราะมีจุดเด่นเรื่องห้องน้ำสะอาด และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ 
 
หลังจากนั้น "บ้านใร่กาแฟ" ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาในปี 2545 ได้เปิดร้านบ้านใร่กาแฟแบบ Stand Alone บนพื้นที่ 2 ไร่ บริเวณหัวมุมสามแยกเอกมัยใจกลางกรุงเทพฯ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง จับกลุ่มลูกค้าระดับบน รวมถึงมีการเปิดร้านอาหาร "บ้านใร่ใบกระเพรา" ควบคู่ธุรกิจร้านกาแฟในพื้นที่เดียวกันไปด้วย

 
"บ้านใร่กาแฟ" ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลาเพียงแค่ 8 ปี สามารถขยายร้านกาแฟได้มากกว่า 110 สาขา ในปี 2549 บริษัทฯ มียอดขายกว่า 140 ล้านบาท 
 
ด้วยจุดอ่อนของ "บ้านใร่กาแฟ" ที่เปิดสาขาในปั๊ม JET อย่างเดียว พอถึงปี 2550 บริษัท CONOCO ประกาศขายกิจการปั๊ม JET ทั้งหมด 147 แห่งในไทยให้กลุ่ม ปตท. ด้วยมูลค่า 9,600 ล้านบาท ทำให้บ้านใร่กาแฟต้องปิดร้านกาแฟที่มีอยู่ในปั๊ม JET ทั้งหมด 70 สาขา เพื่อให้กลุ่ม ปตท. นำเอาร้านกาแฟ "คาเฟ่ อเมซอน" ที่ตัวตั้งแต่ปี 2545 เข้ามาเปิดในปั๊ม ปตท. แทน 
 
ด้วยความที่คุณสายชลรักและหวงแหนแบรนด์ "บ้านใร่กาแฟ" จึงใช้เงินลงทุนกว่า 40 ล้านบาท ยกร้านกาแฟบ้านใร่กาแฟทั้งหลังออกไปเปิดสาขานอกปั๊มน้ำมัน และในตอนนั้นยังรักษาบ้านใร่กาแฟไว้ได้ 40 สาขา ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงของตลาดกาแฟในเมืองไทย มีผู้เล่นมากหน้าหลายตาหลากหลายแบรนด์

 
ช่วงปี 2550-2552 บ้านใร่กาแฟ ได้เจอมรสุมอีกลูกหนึ่ง หลังจากที่ย้ายสาขาออกจากปั๊มแล้ว เริ่มมีการชุมประท้วงเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตลาดเปลี่ยน มีผู้เล่นหน้าใหม่มากมาย เริ่มเข้าสู่ช่วงถดถอยของบ้านใร่กาแฟ สาขาไหนขาดทุนได้ทยอยปิดตัวลงไป ในตอนนั้นคุณสายชลเริ่มที่จะเกษียณอายุตัวเอง กลับไปสร้างพิพิธภัณฑ์กาแฟที่บ้านเกิด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี 
 
จากที่เคยเป็นร้านกาแฟระดับเบอร์ต้นๆ ในประเทศไทย "บ้านใร่กาแฟ" ก็ถึงคราวลดน้อยถอยลง โดยในปี 2558 บ้านใร่กาแฟ มีรายได้รวม 33.4 ล้านบาท ขาดทุน 9.3 ล้านบาท ต่อมาในปี 2560 โรงคั่วกาแฟที่สระบุรีเกิดไฟไหม้ ทำให้ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก เพราะไม่ได้ทำประกันเอาไว้ จึงทำให้บ้านใร่กาแฟไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ 
 
ต่อมาในปี 2562 บ้านใร่กาแฟสาขา Stand Alone บริเวณสามแยกเอกมัย ก็ได้ปิดตัวลง พร้อมกับหนี้สินจำนวนมาก ซึ่งในช่วงปีนั้นบ้านใร่กาแฟน่าจะมีสาขาเหลืออยู่ราวๆ 14 สาขา จากนั้นค่อยๆ ทยอยปิดตัวและหายไปทีละสาขา
 
"บ้านใร่กาแฟ" ทุนใหม่ โฉมใหม่ ขยายตำนานบ้านกาแฟหลังแรกของคนไทย
 

ภาพจาก www.facebook.com/banraibeverage

หลังจาก "บ้านใร่กาแฟ" ที่คุณสายชลสร้างขึ้นมาทยอยปิดกิจการ ต่อมาในปี 2564 ได้มีร้านกาแฟ "บ้านใร่กาแฟ" โฉมใหม่ เปิดสาขาแรกในโครงการมิงเกิล มอลล์ หน้ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต ถนนพหลโยธิน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นโครงการคอมมูนิตีมอลล์ของบริษัท เทรเชอร์ เอ็ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ
 
"บ้านใร่กาแฟ" สาขาในปัจจุบัน จดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัท บ้านใร่ เบฟเวอเรจ จำกัด จัดตั้งเมื่อ13 ก.ค. 2563 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มีนายเอกรัตน์ จาวโกนันท์, นายอภิสิทธิ์ จาวโกนันท์ และนายธีรพงศ์ ศุภวิวัฒน์ เป็นกรรมการบริษัท ซึ่งนายเอกรัตน์และนายอภิสิทธิ์เป็นผู้ถือหุ้น 1 ใน 10 ของบริษัท แอสเซทไวส์ฯ
 

ภาพจาก www.facebook.com/banraibeverage
 
ต่อมาปี 2566 "บ้านใร่กาแฟ" ได้เปิดสาขา 2 หน้าโครงการโมดิซ ไรห์ม ตรงข้ามมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายในร้านจะมีทั้งหมด 2 ชั้น พร้อมปลั๊กไฟและที่นั่งสำหรับทำงาน เปิดตั้งแต่เวลา 07.00-19.00 น.

อีกไม่นาน "บ้านใร่กาแฟ" ก็ขยายสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา ได้แก่ สาขารามอินทรา21, สาขารามอินทรา5 และสาขามีนบุรี
 
รายได้ บริษัท บ้านใร่ เบฟเวอเรจ จำกัด

  • ปี 2565 มีรายได้ 2.1 ล้านบาท ขาดทุน 7.1 ล้านบาท 
  • ปี 2566 มีรายได้ 3.2 ล้านบาท ขาดทุน 8.6 ล้านบาท 
ปัจจัยทำให้ “บ้านใร่กาแฟ” หายไป?
 
การปิดกิจการของร้านกาแฟ "บ้านใร่กาแฟ" ของคุณสายชล เพยาว์น้อย เป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนถึงความท้าทายของธุรกิจขนาดกลางในตลาดที่มีการแข่งขันสูง โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร้านกาแฟแห่งนี้หายไปจากตลาดเมืองไทย 

1.การสูญเสียทำเลทอง
 

บ้านใร่กาแฟเริ่มต้นจากการตั้งอยู่ในปั๊มน้ำมัน JET ซึ่งเป็นทำเลที่มีลูกค้าเดินทางผ่านจำนวนมาก หลังจากที่ PTT ซื้อกิจการ JET ในปี 2550 และเริ่มเปิดร้าน "คาเฟ่ อเมซอน" ในปี 2545 ทำให้บ้านใร่กาแฟต้องย้ายออกจากปั๊มดังกล่าวเมื่อสัญญาเช่าหมดลง ส่งผลให้สูญเสียทำเลที่มีศักยภาพในการดึงดูดลูกค้า

2. แข่งขันแบรนด์ใหญ่และราคา

บ้านใร่กาแฟวางตำแหน่งตัวเองในตลาดกาแฟระดับกลางถึงไฮเอนด์ โดยมีราคาที่ใกล้เคียงกับ Starbucks แต่เมื่อเทียบกับแบรนด์ไทยอื่นๆ เช่น "คาเฟ่ อเมซอน" ของ PTT, "พันธุ์ไทย" ของ PTG และ "อินทนิล" ของบางจาก ที่มีราคาถูกกว่าและมีสาขาจำนวนมาก ผู้บริโภคจึงหันไปเลือกแบรนด์เหล่านั้นแทน 

3. ปัญหาทางการเงินและหนี้สิน
 
 ในปี 2558 บ้านใร่กาแฟมีรายได้รวมเหลือเพียง 33.4 ล้านบาท และขาดทุน 9.3 ล้านบาท ต่อมาในปี 2560 โรงคั่วกาแฟเกิดไฟไหม้ ทำให้ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก และในปี 2565 บริษัทได้จดทะเบียนเลิกกิจการ โดยมีหนี้สินสูงถึง 30 ล้านบาท 
 

4. ขาดวิสัยทัศน์และการปรับตัว
 
แม้คุณสายชลจะพยายามรักษาแบรนด์ผ่านการเปิดพิพิธภัณฑ์และตลาดโรงคั่วที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี แต่ขาดการปรับตัวในด้านการตลาดและการขยายช่องทางการจำหน่าย ทำให้แบรนด์บ้านใร่กาแฟไม่สามารถแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาดกาแฟเมืองไทย ที่มีการปรับตัว ทำการตลาด และขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง 
 
สรุป การปิดกิจการของบ้านใร่กาแฟเป็นผลมาจากการสูญเสียทำเลที่ตั้งที่สำคัญ การแข่งขันในตลาดกาแฟเมืองไทยที่รุนแรง การขาดการสนับสนุนทางการเงินและนักลงทุน รวมถึงขาดการปรับตัวในด้านกลยุทธ์การตลาดและการขยายธุรกิจ ทำให้แบรนด์ร้านกาแฟบ้านหลังแรกของไทย “บ้านใร่กาแฟ” ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดในระยะยาวได้
 
แหล่งข้อมูล 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
526
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
427
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
378
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
375
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
362
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
353
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด