บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
411
3 นาที
17 มีนาคม 2568
แฟรนไชส์ "เฟรนช์ฟรายส์" Potato Corner รถเข็นในฟิลิปปินส์ สู่สาขาทั่วโลก 
 

หากพูดถึงอาหารว่าง อาหารทานเล่น ที่หลายๆ แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดทั่วโลก รวมถึงในไทย ต้องมีประจำร้าน เสิร์ฟคู่กับเมนูอื่นๆ เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันดี นั่นคือ "เฟรนซ์ฟรายส์" 
 
แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารทานเล่นอย่าง "เฟรนซ์ฟรายส์" มีการแข่งขันในตลาดสูงมาก แทบทุกร้านทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ทำเฟรนซ์ฟรายส์ขายกันหมด ไม่ว่าจะเป็นร้านไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า คาเฟ่ จนไปร้านในตลาดทั่วไป 
 
จริงๆ แล้ว อาหารทานเล่น "เฟรนซ์ฟรายส์" เมื่อเทียบกับเมนูอื่่นๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ดส์ที่มีเมนูซิกเนเจอร์หลักๆ อยู่แล้ว แทบจะไม่สามารถทำรายได้ให้กับร้านได้เลย 
 
แต่มีอีกร้านหนึ่งที่ขาย "เฟรนซ์ฟรายส์" เป็นหลัก แต่กลับสร้างรายได้มหาศาล ไม่พอยังขยายสาขาไปทั่วโลกกว่า 2,000 แห่งใน 16 ประเทศ นั่นคือ Potato Corner แฟรนไชส์ "เฟรนซ์ฟรายส์" ปรุงรส ที่มีต้นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์  
 
เรื่องราวและกลยุทธ์ของแฟรนไชส์อาหารทานเล่น Potato Corner น่าสนใจอย่างไร ทำไมได้รับความนิยม และขยายสาขาได้ทั่วโลก
 
จุดเริ่มต้น Potato Corner
 

ภาพจาก https://bit.ly/4hbzOgw

Potato Corner เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปี 1992 โดย Jose Magsaysay (โจแม็กไซไซ) ร่วมกับพี่เขยของเขา Jr. Ricky Montelibano (ริกกี้ มอนเตลิบาโน) และหุ้นส่วนอีก 2 คน เปิดร้านรถเข็นเล็กๆ ขายเฟรนซ์ฟรายส์หลายรสชาติ ชื่อ Potato Corner ที่ห้างสรรพสินค้า SM Megamall ในเมืองแมนดาลูยอง ประเทศฟิลิปปินส์ ภายใต้บริษัท Cinco Corporation 
 
ช่วงที่ Jose Magsaysay เปิดร้านขายเฟรนซ์ฟรายส์อยู่นั้น เขายังทำงานที่ร้านอาหาร Wendy's ควบคู่ไปด้วย ก่อนจะลาออกมาบริหารธุรกิจเต็มตัวในภายหลัง โดยธุรกิจ Potato Corner ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 150,000 เปโซ หรือราวๆ 88,400 บาท ถือเป็นธุรกิจที่เกิดจากประสบการณ์ของ Jose Magsaysay ที่เคยทำงานในร้านฟาสต์ฟู้ดมาก่อน
 
Potato Corner ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วหลังจากเปิดร้านวันแรก ลูกค้าของ Potato Corner ต่างก็อยากให้ไปเปิดสาขาที่นั่นที่นู่น แต่ Jose Magsaysay รู้ดีว่าการเปิดสาขาใหม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ เขาจึงมีไอเดียขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะเขาพอรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อยู่บ้างจากการทำงานในร้านฟาสต์ฟู้ด Wendy's 
 
ที่สำคัญในช่วงนั้นตลาดธุรกิจเฟรนซ์ฟรายส์ในฟิลิปปินส์มีการแข่งขันกันสูงมาก มีราวๆ กว่า 300 แบรนด์ที่ทำธุรกิจเหมือนกัน คุณ Jose Magsaysay จึงมองว่าวิธีเดียวเท่านั้นที่จะเอาชนะคู่แข่งจำนวนมากได้ โดยไม่ต้องลงทุนมหาศาล ก็คือ การขายแฟนไชส์
 
พอถึงปี 1993 Potato Corner เริ่มขายแฟรนไชส์เป็นครั้งแรกในฟิลิปปินส์ แฟรนไส์รายแรกของ Potato Corner ไม่มีข้อตกลงที่ซับซ้อนอะไรมากนัก คุณ Jose Magsaysay ต้องการให้เป็นหุ้นส่วน หรือกิจการร่วมค้าเท่านั้น แต่ในระยะหลังๆ ถึงจะมีการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ที่เป็นสากลมากขึ้น 
 

ภาพจาก www.facebook.com/PotatoCorner
 
หลังจาก Potato Corner ติดปีกด้วยการขายแฟรนไชส์ ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จากร้านรถเข็นเล็กๆ ที่อยู่ในห้างประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็นแฟรนไชส์ร้านเฟรนซ์ฟรายส์ที่มีคนต่อคิวยาวในหลายประเทศทั่วโลก 
 
ปัจจุบันมีจำนวน 2,000 สาขาใน 16 ประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แคนาดา ปานามา ยูเออี ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา อังกฤษ เมียนมาร์ ฮ่องกง ซาอุฯ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และ จีน 
โดยประเทศแรกที่ Potato Corner ขยายตลาดไป ก็คือ อินโดนีเซีย ตามด้วยสหรัฐอเมริกา 
 
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา แฟรนไชส์ Potato Corner ได้รับรางวัลมากมาย เช่น Franchise Excellence Hall of Fame Award จาก Philippine Franchise Association และ Department of Trade and Industry ในปี 2003, รางวัล Best Franchise of the Year ติดต่อกัน 3 ปี และล่าสุดได้รับรางวัล Global Franchise Award จากหน่วยงานเดียวกัน 
 
กลยุทธ์ Potato Corner ในฟิลิปปินส์
 

ภาพจาก www.facebook.com/PotatoCorner
  1. รสชาติอร่อยไม่เหมือนใคร เครื่องปรุงรสของ Potato Corner ได้สั่งทำพิเศษเป็นการเฉพาะสำหรับ Potato Corner เท่านั้น จะแตกต่างแบรนด์เฟรนซ์ฟรายส์คู่แข่งในตลาดที่ส่วนใหญ่มีรสชาติคล้ายๆ กัน 
  2. สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ทุกสาขาของ Potato Corner จะให้ลูกค้าได้เห็นการทอดเฟรนซ์ฟรายส์แบบต่อหน้า ทอดเสร็จแล้วมีการเขย่าเฟรนซ์ฟรายส์ให้ลูกค้าได้เห็นชัดๆ เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้ลูกค้า
  3. ขายแฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์เอาชนะคู่แข่ง และสร้างการเติบโตให้กับ  Potato Corner ปัจจุบันมีจำนวน 2,000 สาขาใน 16 ประเทศ ที่สำคัญใช้งบลงทุนต่ำ จากต้นทุนการเปิดร้านและซื้ออุปกรณ์ลดลง ทางร้านใช้เครื่องทอดขนาดเล็กที่พอดีกับร้าน ช่วยดึงดูดคนมาซื้อแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น 
ซื้อแฟรนไชส์  Potato Corner ในฟิลิปปินส์ ใช้เงินเท่าไหร่?


ภาพจาก www.facebook.com/PotatoCorner
  • งบลงทุน 500,000 เปโซ หรือราวๆ 295,027 บาท
  • ค่าแฟรนไชส์ 150,000 เปโซ หรือราวๆ 88,400 บาท
  • ระยะสัญญา 3-5 ปี 
Potato Corner ในประเทศไทย
 

สำหรับในประเทศไทย แฟรนไชส์ Potato Corner เข้ามาเปิดตลาดตั้งแต่ปี 2016 ภายใต้การบริหารบริษัท ร็อคส์ พีซี จำกัด โดยมีดารานักแสดง “พีช-พชร จิราธิวัฒน์” หนึ่งในทายาทเครือเซ็นทรัล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริษัทฯ เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิล์ด ปัจจุบันมีจำนวน 131 สาขาทั่วประเทศ
 
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ Potato corner ในไทย 
  1. Potato Corner ในไทยจะมีความแตกต่างจากประเทศต้นตำรับฟิลิปปินส์ โดยจะมีความเป็นพรีเมียมมากกว่า มีโมเดลร้านหลากหลาย ตั้งแต่ร้านใหญ่ไปจนถึงบูธเล็กๆ และรถเข็น 
  2. วัตถุดิบเลือกใช้เกรดดีที่สุด นำเข้าเฟรนช์ฟรายส์จากเบลเยียม ไปจนถึงตู้ทอดที่สั่งทำพิเศษจากอเมริกา รวมไปถึงพัฒนาเมนูใหม่ๆ ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง เช่น  ไก่ซุปเปอร์ป็อป ชิกกี้นักเก็ต ข้อไก่ทอด หนังไก่ทอด เป็นต้น 
  3. รับฟังปัญหาของลูกค้า เมื่อลูกค้ามีปัญหาทางร้านจะรีบจัดการทันที เช่น หากไม่พอใจสินค้าและกินไปไม่ถึงครึ่ง สามารถเปลี่ยนฟรีได้ทันที 
  4. เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ทำเลเปิดร้าน Potato corner ในไทย ส่วนใหญ่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น ห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์ บิ๊กซี เป็นทำเลที่ทราฟฟิกดี มีคนเห็นเยอะ เข้าถึงง่าย แต่บางครั้งเปิดร้านในหางต้องรอ 3 เดือนเพื่อให้ได้ทำเลที่ดี
  5. จับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ มุ่งเน้นการตลาดออนไลน์ และจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดลูกค้า
รายได้แฟรนไชส์ Potato corner ในไทย
 
จากการตรวจสอบผลประกอบการ บริษัท ร็อคส์ พีซี จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า
  • ปี 2564 รายได้ 414 ล้านบาท กำไร 1.7 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 568 ล้านบาท กำไร 25 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 652.9 ล้านบาท กำไร 37.4 ล้านบาท  
เมื่อดูตัวเลขผลประกอบการของแฟรนไชส์ Potato corner ในไทย จะเห็นได้ว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลักร้อยล้านบาท ขณะที่กำไรเติบโตก้าวกระโดดเช่น ปี 2564 กำไร 1.7 ล้านบาท พอมาปี 2565 กำไรพุ่งถึง 25 ล้านบาท ปี 2566 กำไร 37.4 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นว่าตลาดเฟรนซ์ฟรายส์และของทานเล่นในไทยยังโตได้อีกมาก 
 
 
แม้ว่าในตลาดเมืองไทยจะมีผู้เล่นมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะเป็นร้านแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังอย่าง เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง พิซซ่าฮัท เดอะพิซซ่าคอมปะนี ไก่ทอดเชสเตอร์ และอื่นๆ แต่ธุรกิจ Potato corner ก็ยังเติบโต 
 
Potato Corner พิสูจน์ให้เห็นว่า กลยุทธ์การตลาดที่ชาญฉลาด เข้าใจลูกค้า หาทำเลทำเลดีๆ ลูกค้าเข้าถึงและเห็นได้ง่าย ที่สำคัญนำเสนอสินค้าคุณภาพระดับพรีเมียม จนสร้างความสำเร็จให้กับแฟรนไชส์ Potato Corner ในไทยได้เป็นอย่างดี 
 
แหล่งข้อมูล
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
2,478
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
535
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
451
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
446
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
423
ระวัง! แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ระเบิดเวลาที่นักลงทุนไ..
423
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด