บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
331
2 นาที
12 มีนาคม 2568
Unique Selling Point วิธี “หนีคู่แข่ง” ขึ้นเป็นเบอร์1
 

ในยุคที่มองไปทางไหนก็เจอแต่ร้านค้า มองทางไหนก็เจอแต่คู่แข่ง ในมุมของลูกค้าอาจเป็นเรื่องดี ที่สินค้าจะต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพและบริการ แบรนด์ไหนด้อยกว่าก็เสียเปรียบอีกแบรนด์ที่ดีกว่า วิธีการหนีคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อดันตัวเองให้อยู่สูงกว่า เป็นที่สนใจของลูกค้าได้มากกว่า บางทีต้องมี “จุดขายเฉพาะ” หรือที่เรียกว่า Unique Selling Point
 
ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง Unique Selling Point กับ จุดขายทั่วไปมีปัจจัยที่แตกต่างได้แก่
  • จุดขายทั่วไป (Selling Point) สิ่งที่แบรนด์ทำได้ดีกว่าคู่แข่ง มีได้หลายอย่าง
  • จุดขายเฉพาะ (Unique Selling Point) นอกจากเป็นสิ่งที่ทำได้ดีกว่าคู่แข่ง ยังต้องมีความโดดเด่นและคู่แข่งไม่สามารถทำตามได้ และมีเพียงอย่างเดียวก็ได้
ถ้าไปมองในธุรกิจแฟรนไชส์ปัจจุบันเราพบว่าในกลุ่มเดียวกันยกตัวอย่างร้านชานมไข่มุก
 
มีสินค้าที่แทบจะไม่ต่างกัน เป็นชานม+ไข่มุก ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างพยายามชูเรื่องรสชาติ คุณภาพ และบริการเป็นสำคัญ
 
คำถามคือถ้าต้องการ “หนีคู่แข่ง” ด้วย Unique Selling Point จะทำได้อย่างไร
 
 
ก่อนอื่นแบรนด์เองก็ต้องมองภาพรวมก่อนว่าคุณค่าข้อไหนที่เราสามารถพัฒนาเป็นจุดขายและจุดขายเฉพาะต่อไปได้ เช่น
  • ลูกค้าต้องการอะไร
  • สิ่งที่แฟรนไชส์เราทำให้ลูกค้าได้คืออะไรบ้าง
  • อะไรคือสิ่งที่แฟรนไชส์คู่แข่งกำลังทำให้กับลูกค้า
การตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อที่จะกำหนดทิศทางของ Unique Selling Point ให้ถูกต้อง เช่นถ้าลูกค้าต้องการเครื่องดื่มที่นอกจากสดชื่นแล้วยังต้องดีต่อสูขภาพ ซึ่งคู่แข่งบางแบรนด์ก็อาจมีการทำตลาดด้านนี้ไปบ้างแล้ว ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าถ้าเป็นสินค้าที่ใกล้เคียงกันแต่จะทำยังไงให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ 
 
 
ก็จะย้อนกลับมาที่เรื่องของ “คุณค่า” ที่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของเราดีแค่ไหน ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจระบุว่าคุณสมบัติของจุดขายเฉพาะที่ดีมี 4 ข้อได้แก่
  1. ต้องแตกต่าง แต่ยังมีคุณค่าต่อลูกค้าเป้าหมาย
  2. มีเหตุผลให้ลูกค้าต้องซื้อซ้ำ ๆ
  3. ต้องทำได้ไม่ง่าย คู่แข่งทำตามได้ยากในเวลาสั้น ๆ
  4. เป็นจุดขายที่ใหม่และไม่เคยมีใครทำมาก่อนเพื่อให้เป็น Top of Mind ของลูกค้าได้

แต่บางทีเรื่องของทฤษฏีพูดง่ายแต่ทำยาก ก็มีหลายเคสที่สามารถสร้าง Unique Selling Point ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น
  • สุกี้ตี๋น้อย ร้านชาบูบุฟเฟต์ที่ถูกใจใครหลาย ๆ คน ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่าย
  • Starbucks ที่ให้บริการด้วย Service Mind ที่ดีและเป็นกันเอง 
  • ร้านโอ้กะจู๋ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ใช้วัตถุดิบเป็นผักแบบออร์แกนิกที่ปลูกขึ้นเองจากจังหวัดเชียงใหม่
  • Domino’s Pizza จัดแคมเปญส่งดิลิเวอรีภายใน 30 นาที ถ้าส่งไม่ทันลูกค้าได้กินพิซซาออร์เดอร์นั้นฟรี ๆ
  • น้ำดื่มสิงห์ ที่เข้ามาเป็นแบรนด์แรกที่พูดถึง เรื่องของการเป็นน้ำดื่มสะอาด
แม้ Unique Selling Point จะเป็นวิธีสร้างจุดเด่นเพื่อเพิ่มยอดขายแต่ก็มีเรื่องที่ต้องพึงระวังหากเป็น Unique Selling Point ที่โอ้อวดเกินจริง จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ หรือการสร้างจุดขายโดดเด่นจริงแต่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย ก็อาจทำให้ Unique Selling Point ที่น่าจะดีกลายเป็น Unique Selling Point ที่ไม่มีประสิทธิภาพได้
 
อ้างอิง https://bit.ly/3DMlXPU

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
346
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
330
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด