บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
441
2 นาที
11 ธันวาคม 2567
Backward Thinking วิธีคิดสร้างแบรนด์ให้เป็น “เบอร์1”
 

วิธีคิดแบบหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์เป็นเบอร์ 1 อาจไม่ใช่คิดว่าจะทำธุรกิจให้ดีที่สุดอย่างไร ตรงกันข้ามคือการคิดแบบ Backward Thinking หรือการคิดย้อนศร โดยคิดไปว่ามีวิธีอะไรที่จะทำลายแบรนด์ของเราได้
 
หลักการนี้ฟังดูเหมือนจะรุนแรงแต่มันใช้ได้ผลดี
 
Backward Thinking คือการลองพลิกมุมมองความคิดไปอีกด้านหนึ่ง จากซ้ายไปขวา จากผู้ผลิตไปเป็นผู้บริโภค ทำให้เรามองในเห็นในมุมที่อาจไม่เคยเห็น และนั่นก็เป็นผลดีต่อแบรนด์มาก

 
มีหลายวิธีการที่นำวิธีนี้ไปใช้อย่างได้ผลเช่น
  1. ให้ลูกค้าเป็นคนพูดถึงแบรนด์ โดยเจ้าของธุรกิจไม่ต้องเป็นคนพูดเองว่าธุรกิจเราดียังไง แต่ให้ไปถามลูกค้าว่าคิดยังไงกับสินค้าของเรา รู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ของเรา มีอะไรที่เขาอยากให้เราปรับปรุง เป็นต้น 
  2. สินค้าแบบไหนที่คนไม่อยากใช้ ก่อนออกผลิตภัณฑ์ใดๆเรามักคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ถ้าลองคิดในมุมกลับหาว่าสินค้าแบบไหนที่คนไม่อยากใช้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการขายไม่ได้และทำให้เรามองเห็นช่องทางการทำสินค้าใหม่ที่คนต้องการได้จริงๆ 
  3. ไม่ต้องคิดกำไรแต่คิดประหยัดต้นทุน คือวิธีคิดย้อนกลับอีกแบบที่สวนทางกลับแนวคิดทำธุรกิจส่วนใหญ่ที่เน้นทำกำไร ในมุมของการประหยัดต้นทุนก็ไม่ได้หมายถึงการลดคุณภาพแต่มายถึงทำอย่างไรที่คุณภาพสินค้ายังคงดีเหมือนเดิมได้เช่นปรับปรุงกระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุน เป็นต้น
  4. ถามตัวเองว่าอยากได้สินค้าแบบไหน ทุกแบรนด์ถ้าอยากขายดีก็เน้นอัดการตลาด จัดโปรโมชัน ทำแคมเปญสารพัด บางทีก็ทุนหายกำไรหด หวังเพียงให้มีลูกค้า ในอีกมุมหนึ่งลองถามตัวเองย้อนกลับว่าถ้าเราเป็นลูกค้าจะอยากได้สินค้าแบบไหน สินค้าแบบไหนที่เราอยากจะเสียเงินซื้อ และจะซื้อแบบไหน ช่องทางไหน ที่จะสะดวกที่สุด บางครั้งรายละเอียดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยไขความลับ เป็นจุดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงได้
  5. ไม่ต้องทำให้คนชอบแต่อย่าทำให้คนเกลียด บางทีแบรนด์ก็คิดแค่ในมุมว่าจะทำยังไงให้คนชอบ จึงงัดออกมาทุกวิธีในการสร้างภาพลักษณ์จนถึงจุดหนึ่งที่ก็ไม่รู้ว่าจะทำวิธีไหนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น ลองคิดในมุมย้อนกลับ ว่าอะไรที่ทำแล้วคนจะไม่ชอบแน่ๆ เขียนออกมาทีละข้อ แล้วตั้งเป็นกฎว่าจะไม่ทำแบบนั้นแน่ๆ เป็นต้น
ถ้าเรายังไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ก็คงไปดูกันที่ตัวอย่างของหลายแบรนด์ที่เขาก็ใช้วิธีแบบ Backward Thinking เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Coca-Cola แทนที่จะคิดไปว่าจะสร้างยอดขายได้อย่างไร จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรให้คนสนใจ ในมุมกลับอาจคิดว่ามีเครื่องดื่มแบบไหนที่คนไม่อยากจะดื่ม หรือการทำตลาดแบบไหนที่คนอาจจะไม่ได้รักมากขึ้นแต่เขาก็จะไม่เกลียด เป็นต้น เมื่อเราคิดถึงปัญหาที่แย่ที่สุดได้ ก็จะมีวิธีการแก้ปัญหาตามมา และนั่นก็คือวิธีการที่เราจะไม่ผลิตสินค้าหรือทำการตลาดที่สุ่มเสี่ยงไปในทางนั้น 
 
 
หรือแบรนด์อย่าง Starbucks อาจคิดในมุมกลับว่าจะมีโปรโมชันไหนที่ทำให้ร้านวุ่นวาย คนต่อคิวแน่น จนคนไม่อยากเข้าร้าน หรือบาริสต้าแบบไหนที่ทำเครื่องดื่มให้ลูกค้าพากันหนี หรือบริการอะไรที่มีแล้วลูกค้าจะไม่เข้าร้านแน่ๆ ซึ่งการคิดในมุมย้อนกลับนี้ทำให้เราเห็นภาพในสิ่งที่ไม่ควรทำ ก็เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา และเป็นการสร้างแบรนด์ที่เหมือนรู้เขารู้เราทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้
 
ทั้งนี้วิธีการคิดแบบ Backward Thinking ก็ประยุกต์ใช้ได้กับในธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะคนที่อยากขายแฟรนไชส์แทนที่จะคิดว่าทำแฟรนไชส์แบบไหนคนถึงจะซื้อ ลองคิดในอีกมุมว่าแฟรนไชส์ไหนที่คนไม่ชอบ เพื่อให้เราหลีกเลี่ยงแบบนั้น แต่อย่างไรก็ดีวิธีคิดกลับหัวแบบนี้ยังเอาไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นถ้าเราเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้างาน ลองตั้งคำถามว่า ผู้จัดการที่แย่ ๆ เขาทำอะไรในแต่ละวัน? พอได้คำตอบแล้วก็อย่าทำแบบนั้น หรือเวลาลงทุน อย่าเพิ่งถามว่าจะทำกำไรอย่างไร ลองคิดกลับหัวถามตัวเองว่า จะขาดทุนได้อย่างไร เป็นต้น
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
536
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
484
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
389
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
383
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
370
ทุนจีน! รุกหนักย่านการค้า 40% เป็นของคนจีน
366
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด