บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
527
2 นาที
25 ตุลาคม 2567
เปิดสูตร “M = R – C” ตั้งราคาสินค้าธุรกิจค้าปลีก
 

ธุรกิจค้าปลีกและบริการ ปี 2567 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านบาท เติบโตราว 3-7 % ซึ่งธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทย มีส่วนแบ่งการตลาดดังนี้
  1. กลุ่มห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ครองส่วนแบ่งการตลาด 0.4%
  2. กลุ่มดิสเคาท์สโตร์ เช่น โลตัส บิ๊กซี ฯลฯ ครองส่วนแบ่งการตลาด 1.9%
  3. กลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ท็อปส์ วิลล่ามาร์เก็ต ครองส่วนแบ่งการตลาด 2.4%
  4. กลุ่ม ร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven บิ๊กซีมินิ ซีเจมอร์ ครองส่วนแบ่งการตลาด 95.3%

แต่ความยากของธุรกิจค้าปลีกไม่ว่ากลุ่มไหนก็คือเรื่องกำลังซื้อที่หดหาย และการเจอคู่แข่งทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทำให้การบริหารจัดการเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการตั้งราคาที่ต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกันเช่น
  • การให้บริการ หากมีบริการเสริมเข้ามา ร้านควรเพิ่มราคาในการให้บริการด้วย เช่น การจัดส่ง การแพ็กสินค้า ฯลฯ
  • ต้นทุนสินค้า โดยคำนวณจากต้นทุนสินค้าที่รับมา และต้นทุนในการดำเนินการ 
  • การแข่งขัน เทียบราคาตลาด แล้วกำหนดให้ราคาต่ำกว่า , สูงกว่า หรือว่าเทียบเท่า ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ
ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจค้าปลีกควรตั้งราคาที่เพิ่มจากต้นทุนสินค้ามาแล้วประมาณ 20-30% (ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า) ธุรกิจค้าปลีกสามารถทำได้ทั้งแบบ
  • Markup on Cost คิดจากต้นทุนของสินค้า
  • Markup on Selling Price คิดจากราคาขายของสินค้า
  • Markup Chain บวกเพิ่มแบบลูกโซ่

ถ้าหากยังมองภาพไม่ออกลองดูสูตรการตั้งราคาสินค้าขายปลีก M = R – C ดังนี้
  • Markup (M) = ยอดที่ต้องการเพิ่ม 
  • Retail (R) = ราคาขาย
  • Cost (C) = ราคาทุน 
ราคาขายต่อชิ้น = ต้นทุนรวมต่อชิ้น + ((%กำไรที่ต้องการจากต้นทุน/100) x ต้นทุนรวมต่อชิ้น)
 
เช่น เสื้อยืดต้นทุนตัวละ 50 บาท ต้องการกำไร 20% ของต้นทุน
ราคาขายต่อชิ้น = 50 + ((20/100) x 50) = 60 บาท 
 

อย่างไรก็ดีหลักการการคำนวณต้นทุนนี้เป็นเพียงแนวทางพื้นฐานในการตั้งราคาขายที่เหมาะสมเท่านั้น การปรับราคาขายต้องคำนึงถึงต้นทุนที่อาจเปลี่ยนไป ราคาตลาด พฤติกรรมลูกค้า หรือแม้แต่กระแสความนิยมด้วย และหากจะไปดูในหลักการตั้งราคาอาจใช้ 7 หลักการต่อไปนี้ในการพิจารณาร่วมด้วย
  1. Premium Pricing การตั้งราคาสูงกว่าตลาด
  2. Penetration Pricing การตั้งราคาแบบรุกตลาด ที่ทำราคาให้ต่ำกว่าตลาดในช่วงแรก เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายได้ทดลองสินค้าก่อน
  3. Decoy Pricing การตั้งราคาแบบหลอกล่อ เป็นการตั้งราคาแบบไม่สมเหตุสมผล และตัดตัวเลือกได้ง่าย ผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความประหยัด
  4. Skimming Price การตั้งราคาสินค้าและบริการสูงในช่วงแรก และค่อยปรับลดมาอยู่ในราคาปกติ
  5. Psychological Pricing การตั้งราคาสินค้าให้น่าดึงดูดตามหลักจิตวิทยา เช่น การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 
  6. Product Set Price การตั้งราคาแบบจับคู่สินค้าเพื่อกระตุ้นการขาย
  7. Seasonal Pricing การตั้งราคาตามช่วงเวลาหรือเทศกาลให้ถูกลงกว่าช่วงปกติ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสูตรที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีกเพื่อคำนวณเรื่องกำไรและรายได้ เช่น อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) , อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expense Ratio) , อัตราการเติบโตของยอดขาย (Sales Growth) ซึ่งทุกสูตรมีเป้าหมายเพื่อให้รู้ถึงการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีก ว่ามีปัญหาตรงไหนที่แก้ไข หรือว่าธุรกิจเติบโตอยู่ในระดับใด จะได้กำหนดเป้าหมายและวางแผนในการทำตลาดได้อย่างถูกต้อง เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตมากขึ้นได้ในอนาคต

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
494
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
349
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
348
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
348
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
336
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
331
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด