บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
5.5K
3 นาที
11 สิงหาคม 2557
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)


แฟรนไชส์เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชน์ เจ้าของแฟรนไชน์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของแฟรนไชส์

เจ้าของแฟรนไชส์จะคอยให้ความช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการบริหารธุรกิจและเก็บค่าธรรมเนียมบางอย่างสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์จากผู้ซื้อแฟรนไชส์

แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจซึ่งเจ้าของแฟรนไชน์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องความซื่อสัตย์และปฏิบัติตามจริยธรรมของระบบแฟรนไชส์ เจ้าของของแฟรนไชส์จะต้องปกป้องและดูแลเอาใจใส่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของเขา เช่น การรับรองความสำเร็จของระบบ

ตามสภาแฟรนไชส์ของยุโรป แฟรนไชส์ คือ ระบบการทำการตลาดของสินค้า บริการ และ/ หรือ เทคโนโลยีซึ่งขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทั้งทางด้านการแยกส่วนทางกฏหมาย, การเงิน และความเป็นอิสระของกิจการ เจ้าของแฟรนไชส์จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชน์ใช้สิทธิประโยชน์จากธุรกิจ แต่จะกำหนดพันธกรณีเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปตามแนวคิดที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้วางไว้

ผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่ละรายจะถูกกำหนดให้ใช้ ชื่อ/ เครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายการบริการของเจ้าของแฟรนไชส์ ต้องรู้ระบบการทำงาน วิธีการทางธุรกิจและเทคนิค ระบบขั้นตอน สิทธิของอุตสาหกรรมอื่นและทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องโดยข้อกำหนดทางพาณิชย์และการช่วยเหลือทางเทคนิค อยู่ภายในกรอบและระยะเวลาของสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร การสรุปผลของคู่กรณีสำหรับเป้าประสงค์

ประเภทของแฟรนไชส์


เจ้าของแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์กับการกระจายการค้าผ่านผู้ซื้อแฟรนไชส์ตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ระหว่างพวกเขา ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีความสัมพันธ์กับการกระจายสินค้าตามข้อตกลงกับเจ้าของแฟรนไชส์ขึ้นอยู่กับห่วงโซ่อุปทาน

การออกใบอนุญาตและการลงทะเบียน

1.บริษัทในประเทศ

ธุรกิจแฟรนไชส์กับตราสารทุนต่างประเทศทั้งหมดจะต้องรวมตัวกันในประเทศภายใต้ พ.ร.บ. ของบริษัท 1965 เงื่อนไขนี้ก็จะนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจภายใต้ธุรกิจสาขาต่างประเทศ


2.การลงทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998

การจัดการแฟรนไชส์ในมาเลเซียถูกกำหนด พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 แฟรนไชส์หมายถึงข้อตกลงหรือสัญญา ชัดเจนหรือส่อแสดงถึง ด้วยวาจาหรือเขียน ระหว่างสองหรือมากกว่าสองคน พ.ร.บ นี้จะถูกปรับใช้กับการขายแฟรนไชส์ในทั่วมาเลเซีย การยินยอมโดย พ.ร.บ และความต้องการที่จะลงทะเบียนจะครอบคลุมการลงทะเบียนครั้งก่อนของบริษัทภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีหรือ MDTTCC

การขายแฟรนไชส์ในมาเลเซียจะถือว่าเกิดขึ้นที่
  • มีการเสนอซื้อและขายแฟรนไชส์
  • ทำขึ้นในมาเลเซียและได้รับการยอมรับทั้งในและนอกมาเลเซีย
  • ทำขึ้นนอกมาเลเซียและยอมรับในมาเลเซีย
  • ธุรกิจแฟรนไชส์มี/ จะมีการดำเนินการในมาเลเซีย
ภายใต้ พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 การลงทะเบียนมี 3 ประเภท


3. การยื่นคำร้องการลงทะเบียนของแฟรนไชส์

เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำการยื่นคำร้องการลงทะเบียนให้กับแฟรนไชส์ของเขากับนายทะเบียนด้านแฟรนไชส์ภายใต้ MDTCC โดนการยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารและข้อมูลต่างๆ การลงทะเบียนก็สามารถทำผ่านระบบ MyFEX ออนไลน์ ที่ www.myfex.gov.my
  1. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 6, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • เอกสารการเปิดเผยข้อมูล (แบบฟอร์ BAF1)
    • แบบฟอร์ม BAF2
    • ตัวอย่างสัญญาแฟรนไชส์ ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • สำเนาการคู่มือการดำเนินธุรกิจ ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • สำเนาคู่มือการอบรม ทั้งภาษามาเลย์และอังกฤษ
    • การตรวจสอบบัญชีของธุรกิจใน 3 ปีล่าสุด
    • การคาดการณ์กระแสเงินสดของธุรกิจภายใน 5 ปี
    • รูปถ่ายสาขาที่ทำการดำเนินการใน 6 เดือนล่าสุด
    • สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนรับรองบริษัท (แบบฟอร์ม 9/13, 24, 44 และ 49) หรือ การลงทะเบียนธุรกิจ
    • รายละเอียดของบริษัทหรือธุรกิจ จาก the Companies Commission of Malaysia (CCM)
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองของเครื่องหมายทางการค้าพร้อมการ.....
    • โบรชัวร์ของบริษัท
    • รายงานประจำปีของบริษัท
    • ค้นหาประวัติการล้มละลายของแต่ละผู้บริหารโดย Department of Insolvency, Malaysia
    • จำนวนสาขาพร้อมกับรายละเอียวันเวลาการเปิดปิด
    • ต้นทุนแรกเริ่มสำหรับแฟรนไชส์จากประเภทของสาขา (กำหนดทำเลที่ตั้งและเวลาของการเปิด)
    • การตรวจสอบบัญชี หรือรูปภาพของสาขา การจัดการบัญชีตลอดระยะเวลาการดำเนินการ (การจัดการบัญชีต้องได้รับการรับรอง)
    • รายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนแรกเริ่มต้นในธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างเช่น รายการต้นทุนองค์ประกอบ เช่น เครื่องมือ ติดตั้งและอุปกรณ์ สินค้าคงคลังเริ่มต้น เงินทุนหมุนเวียน และต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
    • การคำนวณและการให้เหตุผลสำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ค่าธรรมเนียมสำหรับแฟรนไชส์ เงินส่วนแบ่งและค่าโฆษณา และค่าอื่นๆ
  2. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 54, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • หนังสือแสดงเจตนา
      • วันที่จดทะเบียนและดำเนินการของบริษัท
      • ประวัติและแนวคิดของบริษัท
      • ประสบการณ์ด้านแฟรนไชส์
      • ผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อต้นแบบซึ่งได้รับการระบุชื่อในมาเลเซีย
    • สำเนาใบรับรองการรวมตัวของบริษัท
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
    • โบรชัวร์ของบริษัท
    • รูปถ่ายสาขา
  3. การลงทะเบียนภายใต้มาตรา 55, พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998 เอกสารที่ต้องยื่น มีดังนี้
    • แบบฟอร์ม 2
    • สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนรับรองบริษัท (แบบฟอร์ม 9/13, 24, 44 และ 49)
    • สำเนาใบรับรองเอกสาร/ ใบรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
    • โบรชัวร์ของบริษัท/ รายงานประจำปีของบริษัท * ใบรับรองฉบับจริงจะต้องทำขึ้นโดย ทนายความ/ ผู้พิพากษา/ ตุลาการ/ ผู้บัญชาการคำสาบาน/ ศาลในมาเลเซีย
  4. สัญญาสำหรับแฟรนไชส์ สัญญาจะต้องเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย (แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้)
    • ชื่อและลักษณะของสินค้าหรือธุรกิจภายใต้แฟรนไชส์
    • การอนุญาตการใช้พื้นที่สำหรับแฟรนไชส์
    • ค่าธรรมเนียมที่อาจจะเกิดขึ้น
    • ข้อผูกพันสำหรับผู้ขายแฟรนไชส์
    • ข้อผูกพันสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์
    • สิทธิสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการใช้เครื่องหมายและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ
    • เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะระบุ
    • ระยะเวลา cooling-off ของคำสั่ง
    • ลักษณะที่เกี่ยวกัยเครื่องหมายหรือทรัยย์สินทางปัญญาใดๆ เป็นเจ้าของโดย/ เกี่ยวข้องกับเจ้าของฟรนไชส์
    • หากมีสัญญาที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อต้นแบบ สถานะและสิทธิที่ผู้ซื้อต้นแบบจะได้รับจากเจ้าของแฟรนไชส์
    • ประเภทและความช่วยเหลือเฉพาะที่ผู้ขายแฟรนไชส์เตรียมการให้
    • ระยะเวลาของแฟรนไชส์และระยะเวลาการต่ออายุ
    • ผลการสิ้นสุดและหมดอายุของสัญญาแฟรนไชส์
  5. รายงานประจำปี ผู้ขายแฟรนไชส์จะส่งรายงานประจำปีให้กับนายทะเบียนภายใน 30 วัน จากวันครบรอบการลงทะเบียน รายงานประจำจะต้องถูกจัดส่งโดยใช้แบบฟอร์ม BAF6 และประกอบด้วยข้อมูลและเอกสารดังต่อไปนี้
    • เลขที่/ ชื่อ/ ที่อยู่ ของสาขาแฟรนไชส์ดังนี้
      • บริษัทซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
      • ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในประเทศซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
      • ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของสาขา
    • ผลประกอบการรายปี
    • เอกสารเปิดเผยล่าสุด
    • การตรวจสอบงบการเงินล่าสุด รายงานที่จะส่งนั้นต้องได้รับลายเซ็นและการประทับตราจากบริษัทค่าธรรมสำหรับการดำเนินการ 50 ริงกิต และค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทะเบียน 1,000 ริงกิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถทำได้ผ่านตั๋วแลกเงินไปรษณีย์หรือธนาคารในชื่อของนายทะเบียนของแฟรนไชส์หลักฐานการสมัครทั้งหมดสามารถส่งที่ MDTCC
  6. การยื่นคำร้องสำหรับใบอนุญาตภาษีบริการ ธุรกิจฟรนไชสรวมถึงสถานประกอบอาหารจะต้องมีใบอนุญาตสำหรับภาษีบริการ พ.ร.บ 1975 และกฎระเบียบภาษี 1975 โดยทั่วไป ภาษีบริการเริ่มต้นจะเจาะจงขึ้นอยู่กับผลประกอบการรายปี ซึ่งอยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 500,000 ริงกิต ซึ่งกำหนดอยู่ใน พ.ร.บ ภาษีบริการ อัตราภาษีบริการจะอยู่ที่ 6% ของมูลค่าการให้บริการ การยื่นคำร้องสำหรับการขอใบอนุญาตภาษีบริการจะต้องทำขึ้น ณ กรมศุลกากร ที่ใกล้ที่สุดกับบริษัทที่กำลังดำเนินการ
  7. เงินทุนขั้นต่ำ เงินทุนขั้นต่ำสำหรับผู้ถือหุ้น (รวมเงินทุนที่ชำระแล้วและเงินทุนสำรอง) จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ แต่ละกรณี
  8. นโยบายส่วนผู้ถือหุ้น  ไม่มีเงื่อนไขที่เจาะจงสำหรับบริษัทที่อยู่ภายใต้ธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสนับสนุนให้มีการร่วมหุ้นระหว่างนักลงทุนมาเลเซียและต่างชาติ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมภายในประเทศในธุรกิจนี้
  9. เงื่อนไขการดำเนินการ  สามารถอ้างอิงจาก พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998
  10. เงื่อนไขเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความสนใจของสาธารณะ  สามารถอ้างอิงจาก พ.ร.บ แฟรนไชส์ 1998
อ้างอิงจาก  thaibizmalay
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
2,418
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
531
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
444
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
440
ระวัง! แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ระเบิดเวลาที่นักลงทุนไ..
417
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
414
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด