บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
417
2 นาที
9 เมษายน 2567
สารพัดวิธีเก็บเงิน “เอาตัวเองให้รอด”ในยุคชีวิตลำบาก
 

การเงินช่วงนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง? ลำบากกันมากไหม?
 
ถ้าใครที่ตอบว่าไม่ลำบาก ขอแสดงความยินดีด้วยเพราะคุณคือ “คนส่วนน้อย” ขนาดเศรษฐีไทยที่รวยติดอันดับโลกจากการสำรวจล่าสุดในปี 2567 ก็ยังมีรายได้ลดลง นับประสาอะไรกับพวกเราที่เป็นมนุษย์เงินเดือน หาเช้ากินค่ำ หรือบางคนหนักกว่าคือหามื้อกินมื้อด้วยซ้ำ
 
มีสูตรคำนวณว่าเงินสำรองฉุกเฉินของเราควรมีประมาณ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายเช่นถ้ามีรายจ่ายต่อเดือน 12,000 ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 36,000-72,000 บาท แต่พูดเลยว่าตัวเลขนี้มันเกิดขึ้นในชีวิตจริงตอนนี้ได้ยากมาก แค่เอาให้มีกินรอดๆไปในแต่ละเดือนได้นี่ก็เก่งมากแล้ว
 
คำว่า “ชีวิตมีค่า” ยุคนี้ดูจะไม่เกินจริง ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ ใช้จ่ายประจำวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซึ่งค่าครองชีพเหล่านี้ล้วนแต่สูงขึ้น สวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือบางคนน้อยลงอีกด้วย
 
ซึ่งคนจนอย่างเราก็พยายามทุกวิถีทางที่จะพาตัวเองไปให้รอดผลสำรวจระบุว่าส่วนใหญ่ 40% ใช้วิธีลดรายจ่าย ขณะที่ 29% พยายามหารายได้เพิ่ม และมี 13% ที่พยายามออมเงินมากขึ้น แต่คำถามที่น่าสนใจคือ ยุคนี้ยังพอจะมี “วิธีเก็บเงิน” แบบไหนที่พอจะนำมาใช้จริงได้บ้าง
 
1.ลดรายจ่ายด้วยการทำกับข้าวกินเอง
 

ภาพจาก elements.envato.com

การหันมาทำกับข้าวกินเองในครอบครัวน่าจะช่วยประหยัดได้ระดับหนึ่งเพราะของสดและวัตถุดิบที่้ซื้อมาทำกับข้าวแต่ละครั้ง สามารถทำกินได้หลายมื้อ กินได้หลายคน คุ้มค่ากว่าการซื้ออาหารนอกบ้านมากิน รวมถึงการซื้ออาหารเดลิเวอรี่แม้ว่าจะสะดวกสบาย แต่ราคาก็สูงมีผลต่อการเก็บออมได้เหมือนกัน
 
2.แบ่งเงินใช้แต่ละวันให้เหมาะสม
 

ภาพจาก elements.envato.com

ปัจจัยด้านค่าครองชีพที่ทุกอย่างมีราคาแพงขึ้นอย่างชัดเจน ถ้าหากใช้จ่ายตามใจยังไงก็ไม่พอใช้แน่ วิธีออมที่ดีคือการแบ่งเงินใช้ในแต่ละวันให้เหมาะสมเช่นจากรายได้ที่เรามีหาร 30 วันแล้ว หากต้องการมีเงินเหลือเก็บอาจต้องใช้เงินได้ไม่เกินวันละ 200 บาทเป็นต้น แม้จะเป็นวิธีที่ยากแต่หากทำได้ก็มีโอกาสเก็บออมได้เยอะขึ้น
 
3.งดเครื่องดื่มราคาแพง
 

ภาพจาก elements.envato.com

เห็นกันชัดๆก็อย่างกาแฟแก้วละ 50-60 บาท บางคนไม่ได้กินแก้วเดียวเฉลี่ยเสียเงินไปกับเครื่องดื่มบางที 100-200 บาท ลองหันมาประหยัดเรื่องนี้ ในช่วงแรกอาจจะไม่สะดวกนัก แต่ถ้าทำต่อเนื่องอาจจะมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นได้
 
4.แบ่งเงินออมทันทีเมื่อได้เงินเดือน
 

ภาพจาก elements.envato.com

เป็นวิธีหักดิบที่จะทำให้เรามีเงินออมทันที บางคนเงินเดือน 15,000 บาท แม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่สูงแถมยังมีรายจ่ายจิปาถะ แต่ถ้าคิดจะออมเงินในยุคนี้ ต้องตัดใจแบ่งเงินส่วนหนึ่งเก็บออมทันทีอาจจะเดือนละ 500 เป็นอย่างน้อย แม้จะไม่ทำให้เรามีเงินใช้หรือมีเงินมากในทันที แต่ถ้าเราทำได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นเงินสะสมที่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
 
5. ตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นเพื่อเป็นเงินออม
 

ภาพจาก elements.envato.com

เรียกว่าเป็นการรัดเข็ดขัดให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหลโดยไม่จำเป็น ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น การช็อปปิ้ง การซื้อของลดราคา การปาร์ตี้ ฯลฯ อะไรที่งดได้ควรงด เลิกได้ก็ควรเลิก เพราะยุคนี้หากไม่รัดเข็มขัดและเห็นแต่ความสบายของตัวเอง ไม่สามารถมีเงินเก็บออมได้แน่
 
6.หาวิธีเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
 

การหารายได้เพิ่มต้องเริ่มจากสำรวจตัวเองก่อนว่าเราถนัดอะไร มีความสามารถอะไร สิ่งสำคัญคือเราต้องกล้าที่จะก้าวออกจากกรอบที่เคยอยู่ ต้องขยัน ตั้งใจทำจริง เช่น รับงานฟรีแลนซ์ , ปลูกผักสวนครัวขาย หรือการทำงานแฮนด์เมดขายออนไลน์ เป็นต้น
 
7.ลดการใช้บัตรเครดิตเพราะจะยิ่งสร้างหนี้เพิ่ม
 

ภาพจาก elements.envato.com

คนส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิตรวมมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของหนี้ครัวเรือนถ้าเราไม่วางแผนการใช้เงินให้ดี เงินที่เราใช้ไปล่วงหน้าก็คือการเป็นหนี้ในอนาคต จำเป็นต้องเอารายได้ของเรามาใช้หนี้ที่ก่อขึ้น ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่มีเงินออมได้เช่นกัน
 
สำรวจอัตราเงินเดือนของคนไทยทุกวันนี้เฉลี่ยที่ 18,000 – 20,000 บาท ซึ่งบางกลุ่มอาชีพเงินเดือนก็อาจสูงกว่านี้ในขณะที่บางกลุ่มอาชีพได้เงินเดือนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเห็นว่าถ้ามีรายได้จากทางเดียว และหันไปดูรายจ่ายตัวเลขนี้ไม่เพียงพอแน่ คนส่วนใหญ่จึงมุ่งหารายได้ที่ 2 รายได้ที่ 3 แต่ปัญหาคือไม่ใช่ทุกคนที่จะทำแบบนั้นได้ วิธีที่ดีที่สุดยุคนี้คือ “บริหารจัดการตัวเอง” ให้เหมาะสม ทุกทฤษฏีหรือแนวคิดใดๆก็ตามควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเอง เพราะไม่ใช่แค่รับมือวิกฤติในวันนี้แต่เป็นการวางแผนล่วงหน้ารับมือกับอนาคตที่อาจจะวิกฤติยิ่งกว่าก็ได้

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อวสาน! โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ สาขาสุดท้าย ไม่รอด
691
ศก.โลกไม่ฟื้น - ศก.ไทยถดถอย! 11 บริษัทเลิกจ้างต่..
490
ถกไม่เถียง! ธุรกิจทำตามๆ กัน สุดท้าย...ตายเร็ว?
466
ทำไม "รับขนมจีบ-ซาลาเปา เพิ่มมั้ยคะ" ถึงหายไปจาก..
426
สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว สร้างหนี้รอบด้าน..
405
แค่โปรโมต! นายหน้า 7-Eleven รับค่าคอมฯ ได้เงินจริง
404
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด