บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.0K
2 นาที
27 กันยายน 2562
5 เคล็ดลับลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ไม่โดนหลอก


ปัจจุบันการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน คอนโด บ้าน ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย นับวันยิ่งมีนักลงทุนทั้งมือเก่าและมือใหม่เข้ามาให้ความสนใจกันมากขึ้น นั่นเป็นเพราะการลงทุนอสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ในขณะที่ใช้เงินลงทุนเพียงน้อยนิด ถ้าหากคุณเรียนรู้วิธีและเทคนิคในการลงทุน

แต่ก็มีหลายคนที่ลงทุนอสังหาริมทรัพย์แล้ว ไม่สำเร็จ โดนหลอกบ้าง สูญเสียเงินไปจำนวนมาก แล้วจะมีวิธีการไหนบ้าง หรือเคล็ดลับอะไรที่จะป้องกันการโดนหลอกจากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟัง  
 
1. ศึกษาหาความรู้เรื่องอสังหาริมทรัพย์


ภาพจาก bit.ly/2nLBvw7
 
ก่อนจะลงทุนคุณต้องรู้ก่อนว่าอสังหาริมทรัพย์ที่สนใจลงทุนนั้นคืออะไร เช่น บ้าน ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนต์ โรงแรม หรือคอนโด ถ้าสนใจลงทุนในคอนโด คุณจะต้องรู้ทุกเรื่องราวของคอนโดอย่างละเอียดว่า การลงทุนคอนโดมีการลงทุนแบบใดบ้าง ที่จะสร้างรายได้ให้กับคุณ จะเป็นการลงทุนระยะสั้นหรือยาว ต้องรู้ถึงวงจรชีวิตของการสร้างรายได้ของคอนโด ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างไปจนปล่อยเช่าว่าสามารถสร้างรายได้ช่วงใดได้บ้าง จากนั้นเลือกแนวทางที่ชอบและถนัดที่สุด
 
2. สำรวจทำเลที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมาย
 
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต้องรู้เรื่องของทำเล เพราะกฎของการลงทุนในเกือบทุกกิจการเริ่มต้นด้วย ทำเล ทำเล และทำเล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกทำเลที่ดีที่สุดในการลงทุน เลือกให้เหมาะสมกับอสังหาฯ ที่คุณจะลงทุนด้วย เช่น ถ้าลงทุนอพาร์ทเมนต์ ควรเลือกทำเลบริเวณไหน ใครคือกลุ่มเป้าหมาย เลือกลงทุนคอนโดควรเลือกทำเลบริเวณไหน และใครคือกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการสำรวจจึงสำคัญในการหาทำเลที่ตั้ง เมื่อคุณออกสำรวจจะทำให้ทราบถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในอสังหาฯ นั้นๆ ก่อนที่จะลงทุนจะต้องทราบก่อนว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่จะเช่าหรือซื้ออสังหาฯต่อจากคุณ
 
3. สำรวจราคาปล่อยเช่าในทำเลที่ต้องการลงทุน


ภาพจาก bit.ly/2nK2oAt
 
ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อเป็นข้อมูลที่โครงการต่างๆ มีให้พร้อมอยู่แล้ว แต่ที่คุณต้องทำการบ้านเองเพิ่มเติมก็คือราคาปล่อยเช่าในทำเลที่ดูไว้บางโครงการอาจจะให้ข้อมูลตรงส่วนนี้ไว้ด้วย แต่แนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดคือหาข้อมูลด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสำรวจด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีหลังนี้ถึงจะเหนื่อยกว่า ใช้เวลามากกว่า 
 
แต่ก็แน่นอนกว่า คุณจะได้รู้ทั้งราคาและได้เห็นทั้งสภาพจริงของอสังหาริมทรัพย์ในย่านนั้น ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินได้ว่า หากคุณซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า ค่าเช่าที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร
 
4. ตรวจสอบประวัติเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
 
อันดับแรกหากคิดจะลงทุนอสังหาริมทรัพย์ คุณต้องดูความน่าเชื่อถือของเจ้าของโครงการ หรือเจ้าของห้อง เจ้าของที่ดิน ที่คุณคิดจะซื้อ ว่าเคยมีประวัติเสียใดๆ หรือไม่ หรือเคยโกงใครมาหรือเปล่า ต้องสืบให้ดีก่อนคิดละลงทุน ไม่ใช่ว่าเห็นใครประกาศขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็จะซื้อเลย เพราะราคาถูก ดีไม่ดีอาจจะสูญเสียเงินเปล่า
 
5. การตรวจสอบเอกสารสัญญาซื้อขาย


ภาพจาก bit.ly/2nJWD5P
 
ถือว่ายังมีความจำเป็น แม้ว่าสัญญามาตรฐานจะมีการใช้กันมากขึ้นแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ภาษี และอื่นๆ จะต้องมีการตกลงไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และควรจะเก็บสัญญาจะซื้อจะขายเอาไว้ด้วย แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วก็ตามที เพื่อป้องกันปัญหาภายหลัง ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะมีผลทางกฎหมายในการบังคับให้เจ้าของจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญาที่เคยระบุไว้
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

SMEs Tips
  1. ศึกษาหาความรู้เรื่องอสังหาริมทรัพย์
  2. สำรวจทำเลที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมาย
  3. สำรวจราคาปล่อยเช่าในทำเลที่ต้องการลงทุน
  4. ตรวจสอบประวัติเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
  5. การตรวจสอบเอกสารสัญญาซื้อขาย
 
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
354
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด