บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
9.0K
2 นาที
18 เมษายน 2555
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเสมือนมิติใหม่ของการรวมกลุ่มของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซียน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย โดยเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 4 ประการ ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในปี 2558 ได้แก่
  1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม : โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน : ด้วยการสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง ฯลฯ) เป็นต้น
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค : ด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า เช่น สนับสนุนการพัฒนา SMEs
  4. การบูรณาการการเข้ากับเศรษฐกิจโลก : ด้วยการรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก เน้นการประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค
AEC มีผลกระทบกับประชาชนชาวไทยอย่างไร
 
การที่อาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในฐานะผู้ผลิต ก็จะมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายในต้นทุนที่ต่ำลง เนื่องจากภษีส่งออกและนำเข้าในอาเซียนจะเหลือ 0% หรือจะย้ายฐานการผลิตภไปยังประเทศกลุ่ม AEC ที่มีวัตถุดิบและแค่แรงถูกกว่า ทำให้ผลิตสินค้าได้ถูกลงไปอีก ขณะที่การขนส่งสินค้าก็จะสะดวกขึ้น และตลาดขายสินค้าก็ขยายใหญ่ขึ้นจากที่เคยขายในเมืองไทยซึ่งมีประชากร 60 กว่าล้านคน แต่ต่อไปเราสามารถส่งสินค้าไปยังตลาดอาเซียนที่มีประชากรมากถึง 600 ล้านคนได้อย่างเสรีและปลอดภาษี นั่นหมายถึงโอกาสในการขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันเราก็มีคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน
 
ในฐานะผู้บริโภค จะมีสินค้าและบริการให้เลือกมากขึ้นและราคาไม่แพง เพราะสินค้าที่เข้ามาขายในไทยจะไม่เสียภาษี สำหรับผู้ที่ชอบการท่องเที่ยว AEC จะทำให้เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่ม AEC ได้สะดวกและเสรีมากขึ้น
 
ในส่วนของแรงงานวิชาชีพ เช่น แทพย์ วิศวกร หรือนักบัญชี พยาบาล สถาปนิกฯลฯ แรงงานเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่จะมีขึ้น และโอกาสที่จะได้ค่าแรงสูงก็จะมากขึ้นตาม แต่แรงงานจากประเทอื่นๆก็สามารถมาทำงานในไทยได้เช่นกัน
 
AEC ไม่ได้มีแต่โอกาสอย่างเดียว อาจนำพาซึ่งการแข่งขันสูงเข้ามาด้วย
 
โอกาสและวิกฤติมักจะมาคู่กัน ขึ้นกับว่าใครปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่อย่างไร  ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องทำการประเมินตนเองว่ามีจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส วิกฤติ อย่างไร (SWOT Analysis) อะไรบ้างแล้วต้องเร่งปรับแก้จุดอ่อน แก้วิกฤติที่จะมี และหาลู่ทางการลงทุน ตลอดจนมีแผนธุรกิจที่ครอบคลุมไปถึง AEC โดยอาจเลือกตลาดเพื่อนบ้านที่มีความเหมาะสมในการแข่งขันกับธุรกิจของคุณ   และยังต้องเร่งขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ลดต้นทุน เน้นคุณภาพ และสร้างความแตกต่างฯลฯ
 
ท้ายนี้ อย่าคิดว่ายังเหลือเวลาอีกตั้ง 3 ปี (เริ่ม ม.ค. 2558) แล้วชะล่าใจ เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึงเราอาจปรับตัวไม่ทัน ผลเสียที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ธุรกิจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ยังอาจทำให้ธุรกิจนั้นถึงขั้นขาดทุนจนปิดกิจการเลยก็ได้ ฉะนั้นต้องลุกขึ้นมาเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้  ถึงแม้ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบ พร้อมหรือไม่พร้อม สุดท้ายแล้วการก้าวสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป

อ้างอิงจาก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
498
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
333
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด