บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
330
2 นาที
24 มกราคม 2568
6 วิธีเปลี่ยน "คู่แข่ง" เป็น "เครือข่าย"

 
มีมิตรดีกว่าสร้างศัตรู คือสิ่งที่ใช้ได้จริงในการทำธุรกิจยุคใหม่! มันหมดเวลาที่จะมาห้ำหั่นชิงดีชิงเด่น ชนิดแตกหักกันไปข้าง สมัยนี้การมีพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจจะเอื้อประโยชน์ได้ดีกว่า เข้าตำรารวมกันเราอยู่ และยิ่งจะแข็งแกร่งได้มากขึ้นด้วย ซึ่งการเปลี่ยน “คู่แข่ง” ให้เป็น “พาร์ทเนอร์” ในทางการตลาดเรียกว่า Collaboration Marketing หรือการเปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า 
 
ถ้าจะให้อธิบายคำว่า “คู่แข่ง” จะแบ่งได้ 4 แบบ คือ
 
  • คู่แข่งโดยตรง (Direct Competitors)
  • คู่แข่งทางอ้อม (Indirect Competitors) 
  • คู่แข่งที่มาทดแทนกันได้ (Substitute Competitors) 
  • คู่แข่งที่มีศักยภาพ (Potential Competitors) 
แต่ก็คงดีกว่าถ้าธุรกิจเราสามารถร่วมมือกับธุรกิจที่มองว่าเป็นคู่แข่ง ซึ่งคำว่า Collaboration Marketing คือการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ เพื่อผลิตสินค้าหรือแคมเปญใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน ช่วยยกระดับให้กับธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ และยังคงรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ด้วย โดยนำจุดเด่นที่เป็นข้อได้เปรียบของแต่ละแบรนด์ มาอยู่บนผลิตภัณฑ์ หรือแคมเปญใหม่ที่ร่วมกันทำเป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพราะเป็นการทำการตลาดที่ช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจได้ให้กับแบรนด์ 
 
 
แน่นอนว่าการร่วมมือกันแทนที่จะแข่งขันกัน ผลที่ได้คือประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงผลประโยชน์ที่อยู่กับฐานลูกค้าของแต่ละธุรกิจด้วยเช่น
  • สร้างความน่าสนใจและให้ประสบการณ์ใหม่ๆ กับผู้บริโภค
  • ปลุกกระแสทางการตลาดให้เป็นไวรัล และได้รับการพูดถึงในวงกว้าง
  • แลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าระหว่างแบรนด์ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ
  • ลดการแข่งขัน และเพิ่มพันธมิตรทางการค้า
  • ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่มากขึ้น
  • ใช้จุดแข็งของพาร์นเนอร์มาชดเชยจุดอ่อนของแบรนด์ตัวเอง

อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญในความร่วมมือระหว่างกัน จำเป็นต้องมีแนวทางที่สอดคล้องและมีวิธีการที่ควรนำมาใช้ดังนี้
  1. ธุรกิจจะร่วมมือกันต้องมีจุดร่วมระหว่างกัน เพราะหากไม่มีจุดร่วมเหมือนกันเลย คงยากที่จะทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ 
  2. ดูชื่อเสียงของธุรกิจที่ต้องการร่วมมือ เพราะการเกี่ยวข้องกันในมุมคนทั่วไปจะมองว่าเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้นเรื่องชื่อเสียงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญกับภาพลักษณ์มาก
  3. ธุรกิจต้องมีศักยภาพเชื่อมโยงกันได้ เพราะเป็นการแก้ไขในจุดที่เราอาจบกพร่องหรือเป็นข้อด้อย โดยอาจใช้จุดแข็งของพันธมิตรมาเชื่อมโยงได้
  4. ยิ่งฐานลูกค้าแข็งแกร่งยิ่งดี การร่วมมือกันที่จะได้ผล พันธมิตรเราต้องมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง จะสร้างประโยชน์ให้กับเราได้อย่างมาก
  5. สร้าง Business Model ที่เหมาะสมร่วมกันได้ เพื่อให้เป็นกรอบในการร่วมมือกันที่เดินหน้าได้อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
  6. สร้างระบบบริหารจัดการร่วมกันแบบมืออาชีพ เข่น การกำหนดยอดขายร่วมกันอย่างยุติธรรม , มีทีมงานที่ช่วยบริหารคู่ค้าของเราโดยเฉพาะ เป็นต้น
ตัวอย่างของความสำเร็จในเรื่องของการร่วมมือกันทางธุรกิจตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีให้เห็นเยอะมาก 
 
ยกตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น
 
- Bar B Q Plaza X Pizza Hut จัดแคมเปญและออกเมนูฟิวชั่นร่วมกัน โดยบาร์บีคิวพลาซ่าจะมีเมนูหมูที่เสิร์ฟแบบใหม่บนถาดพิซซ่า ส่วนร้านพิซซ่าฮัท ก็มีพิซซ่าหน้าหมูบาร์บิกอน เป็นการรวมจุดเด่นของทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน เกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียในช่วงนั้นได้

ภาพจาก www.facebook.com/BarBQPlazaThailand
 
- Starbucks x After You ทางแบรนด์ After You นำเมนูโทสต์ไปวางจำหน่ายในร้าน Starbucks สร้างความฮือฮาให้กับลูกค้า เพราะสามารถหาซื้อได้สะดวกขึ้น และสตาร์บัคส์เองก็ได้เพิ่มความหลากหลายของเมนูกลุ่มของหวานในร้านได้ด้วย
 
- Louis Vuitton X Supreme ซึ่งจุดเด่นของ Suprem คือแบรนด์สตรีทแฟชั่น การร่วมมือนี้ทำให้ Louis Vuitton กลายเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยและเข้าถึงง่ายในมุมมองของคนรุ่นใหม่ ส่วน Supreme ก็ได้ประโยชน์จากภาพลักษณ์ของ
แบรนด์หรูหรา จาก Louis Vuitton เช่นกัน
 
อย่างไรก็ดีต้องไม่ลืมว่าการร่วมมือกันหรือ Collaboration Marketing นั้นไม่ใช่แค่เราจะเลือกเขา แต่เขาก็เลือกเราได้เช่นกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็ต้องการคู่ค้าที่ใช่ด้วยกันทั้งนั้น และถ้าอยากทำให้คู่ค้ามั่นใจและเชื่อมั่นที่จะเป็นพาร์ตเนอร์จับมือเดินไปด้วยกัน จำเป็นที่ธุรกิจเราก็ต้องมีจุดเด่น มีความน่าสนใจ และมีความจริงใจมากพอที่ทำให้แบรนด์อื่นอยากเป็นพันธมิตรได้

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
354
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด