บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
420
2 นาที
28 พฤศจิกายน 2567
รวมเทคนิค ออกแบบ “โลโก้” จดลิขสิทธิ์ได้แน่
 

เครื่องหมายการค้า และ โลโก้ มีข้อแตกต่าง คือ เครื่องหมายการค้า สามารถเป็นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ แต่โลโก้ มักเป็นภาพกราฟิก ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือภาพประกอบ ทั้งโลโก้และเครื่องหมายการค้า หากมีการจดลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายป้องกันการโดนลอกเลียนแบบได้ และการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายอย่างถูกต้อง ยังได้สิทธิ์ควบคุม ดูแลการใช้งาน เครื่องหมายการค้าและโลโก้ ดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว 
 
คนอื่นจะไม่สามารถนำไปดัดแปลง ก็อปปี้ใดๆ ได้อีก ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าของโลโก้เท่านั้น

3 ประเภทของโลโก้ที่ต้องจดทะเบียน


 
1. โลโก้บริษัท ที่ไม่มีของขาย มีแต่บริการ
 
ถ้าเป็นการใช้โลโก้อย่างเครื่องหมายการค้า หมายถึงใช้เพื่อสื่อให้เห็นถึงว่าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ทำอะไร ขายอะไร หวังผลทางการค้าก็ต้องจดทะเบียนโลโก้เป็นเครื่องหมายการค้า เช่นร้านซ่อมรถ , ร้านตัดผม หรือโลโก้บริษัท เป็นต้น

2. โลโก้บริษัท ที่มีของขายและใช้ชื่อตรงกัน

สินค้าบางประเภทใช้ชื่อสินค้าและโลโก้แบบเดียวกัน ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า เพราะเราใช้อย่างเครื่องหมายการค้า เช่น pepsi 

3. โลโก้บริษัท ที่มีของขายและใช้ชื่อไม่ตรงกัน
 
ในกรณีที่สินค้าและชื่อบริษัทไม่ได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนโลโก้ก็ได้เพราะเราไม่ได้ใช้อย่างเครื่องหมายการค้า แต่แนะนำให้ยื่นจดทะเบียนไว้เพื่อป้องกันคนอื่นนำไปใช้ เช่น บริษัทยูนิลิเวอร์ ที่มีสินค้าหลายอย่าง เป็นต้น
 
3 เทคนิคออกแบบโลโก้ “จดทะเบียนได้แน่”

1.มีลักษณะเป็นคำบ่งเฉพาะไม่มีความหมายใดๆ 
 

โลโก้ต้องเป็นเครื่องหมายที่ทำให้มีลักษณะพิเศษ แต่ต้องไม่สื่อความหมายโดยตรงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้าหรือบริการนี้แตกต่างจากสินค้าหรือบริการจากแบรนด์อื่น เช่น เป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม ไม่มีลายมือชื่อ หรือภาพเจ้าของโลโก้ เช่น Kodak , Google , WEDRINK , BING CHUN , Ikea เป็นต้น

2.ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
 
คำว่าลักษณะที่ผิดกฎหมายเช่น ไม่เป็นเครื่องหมายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ , ธงส่วนพระองค์ , ธงประจำชาติ , เครื่องหมายของหน่วยงาน เป็นต้น

3.ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น
 
ถ้าจะให้โลโก้ที่ออกแบบผ่านฉลุยสำคัญคือต้องไม่ไปเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว เพื่อป้องกันความสับสนที่ทำให้ผู้คนจำผิดในแหล่งกำเนิดหรือความเป็นเจ้าของสินค้าและบริการได้
 
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 

ขั้นแรกต้องตรวจค้นฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อดูว่ามีโลโก้หรือเครื่องหมายการค้าซ้ำหรือคล้ายกันหรือไม่ โดยสามารถขอตรวจค้นข้อมูลดังกล่าวได้ทางอินเทอร์เน็ต (ไม่เสียค่าธรรมเนียม) แต่หากไปที่ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญาจะมีค่าธรรมเนียมรายชั่วโมง (ประมาณ 200 บาท)

นอกจากนี้ควรมีเอกสารพร้อม เช่น หนังสือรับรองนิติบุคคล , เอกสารขอจดทะเบียนโดยภาพเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ที่ต้องการจด , เอกสารบรรยายรูปร่างเครื่องหมายการค้า , หากเป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม ต้องเตรียมบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิใช้ และเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายร่วม
 
ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมรายการสินค้าสำหรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แบบไม่เกิน 5 รายการ ยื่นจดทะเบียนชำระ 5,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 3,000 บาท แต่ถ้าเป็นแบบเกิน 5 รายการขึ้นไปไม่จำกัด (ไม่ควรเกิน 30-100 รายการ )ยื่นจดทะเบียนชำระ 9,000 บาท อนุมัติรับจดทะเบียนชำระ 5,400 บาท
 
สังเกตได้ว่าหลายๆ ธุรกิจพยายามสร้างโลโก้ของตนเองออกมาเพื่อหวังกลายเป็นภาพจำของผู้บริโภคทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม ซึ่งโลโก้เหล่านี้สามารถออกแบบได้อย่างหลากหลายทั้งการใช้ภาพถ่าย ภาพวาด ตัวอักษร ตัวเลข สีสัน ลายมือชื่อ ฯลฯ ยิ่งมีจุดเด่นหรือลูกเล่นสะดุดตา ช่วยสร้างการเติบโตและการจดจำได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่ผู้ประกอบการก็ต้องรู้จักคุ้มครองสิทธิของตัวเองตามกฏหมายด้วย

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
354
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด