บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
972
2 นาที
13 สิงหาคม 2567
หลังบ้านทรงพลัง ตั้ง FIFO แบบ 7-Eleven
 

ความสำเร็จของร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven มีหลายกลยุทธ์ที่นำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้โดยเฉพาะในแง่ของการบริหารจัดการวัตถุดิบและการจัดผังร้านที่ดูจะเป็นจุดเด่นมากที่สุด
 
สังเกตว่าเวลาเดินเข้า 7-Eleven นั่นเราหาสินค้าที่ต้องการได้ไม่ยาก
 
เป็นวิธีการจัดผังร้านแบบ “Grid” ที่มีลักษณะการจัดวางที่เป็นแบบล็อกๆ และเดินเชื่อมต่อถึงกันได้หมด และหากสังเกตให้ลึกลงไปอีกจะพบว่า 7-Eleven ทุกสาขา จะวางตู้น้ำดื่มซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง ไว้บริเวณข้างในสุด
 
ก่อนที่ลูกค้าจะเดินเข้าไปถึงด้านในก็ต้องผ่านสินค้าอื่นๆที่จัดเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ เพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นด้วย
 
 
อย่างไรก็ดีเคล็ดลับในการบริหารจัดการของ 7-Eleven ไม่ได้มีแค่นั้น อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาก คือ “First In First Out” หรือ FIFO ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ใช้จัดการด้านวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการของแนวคิดนี้ก็ง่ายๆ คือ “เข้าก่อน ออกก่อน” สินค้าล็อตไหน ที่ได้สั่งซื้อเข้ามาก่อน ให้นำออกไปจำหน่ายก่อน เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ “ตู้แช่เครื่องดื่ม” 
 
ใน 7-Eleven ทุกครั้งที่มีลูกค้าหยิบเอาสินค้าออกไป สินค้าตัวใหม่ก็จะเลื่อนมาแทนที่  โดยวิธีการนี้ออกแบบให้พนักงานคอยเติมสินค้าใหม่อยู่ด้านหลังตู้อย่างต่อเนื่อง

 
ถามว่าวิธีนี้มีข้อดีอย่างไร?
  1. ทำให้บริการจัดการสต็อคได้ง่ายรู้ว่าสินค้าชิ้นไหนมาก่อนมาหลัง ลูกค้าจะได้สินค้าที่ไม่ค้างสต็อค
  2. จัดเก็บสินค้าได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มความสะดวกในการหยิบสินค้า และเช็กสต็อกสินค้า
  3. ทราบมูลค่าของสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้น โดยสังเกตจากจำนวนเงินที่ถูกหักออกไปจากคลังสินค้า เทียบกับจำนวนที่ได้รับเข้ามา ซึ่งทั้งสองจะแปรผันตรงกัน ง่ายต่อการนำข้อมูลมาทำบัญชี
และยิ่งไปกว่านั้น FIFO ยังนำไปใช้คิด “ต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้น” ของสินค้าและวัตถุดิบ ในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ 
 
 
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าล็อตแรกสั่งมา 100 ชิ้น ต้นทุนชิ้นละ 20 บาท  สินค้าล็อตที่ 2 สั่งมา 100 ชิ้นต้นทุนชิ้นละ 50 บาท
  • ถ้าขายสินค้าล็อตที่ 1 และ 2 หมด
  • ต้นทุนคือ 100 x 20 = 2,000 บาท บวกกับ 100 x 50 = 5,000 บาท
  • จะเป็นต้นทุนรวม 7,000 บาท
  • หารด้วยจำนวนสินค้า 200 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 35 บาท
ซึ่งการคิดต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นแบบ FIFO ในแต่ละช่วงเวลา ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจำนวนการขาย ปริมาณการขายในแต่ละวัน ก็มีผลต่อการคิดคำนวณต้นทุนกำไร สามารถนำไปปรับใช้กับร้านอาหารที่มีการเข้าออกของวัตถุดิบอย่าง เนื้อหมู ,เนื้อปลา ,ไข่ไก่ , ผักสด อยู่ตลอดเวลา
 
 
และหากเป็นการค้าปลีกในชุมชนหรือร้านโชห่วยนอกจากจะเอากลยุทธ์  FIFO ไปปรับใช้ ยังมีอีกวิธีที่ควรนำไปใช้คู่กันคือ กฎ 80/20 ของ Pareto ที่ให้แบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ สินค้าขายดี  สินค้าขายได้ปานกลาง และสินค้าขายได้น้อย หลังจากแบ่งประเภทสินค้าได้แล้วให้เรียงบนชั้นวางสินค้า จากบนลงล่าง โดยให้สินค้าขายดีอยู่บนชั้นวางสินค้ามากที่สุด

ตามมาด้วยสินค้าขายได้ปานกลาง และวางสินค้าขายได้น้อยในจำนวนที่น้อยที่สุด และในที่สุดสินค้าที่ขายไม่ดี สุดท้ายก็จะถูกเอาออกไปจากชั้นวาง และทางร้านมีหน้าที่ในการหาสินค้าใหม่ที่ลูกค้าสนใจมากกว่าเข้ามาทดแทน วิธีนี้จะทำให้ มีสินค้าที่ตรงกับความต้องการผู้บริโภคได้มากที่สุด
 
ในยุคที่การแข่งขันนั้นสูง ยิ่งมีกลุ่มทุนจีนเข้ามาทำธุรกิจในไทย ก็ทำให้เราต้องยิ่งปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า การได้เรียนรู้โมเดลความสำเร็จจากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จก็เป็นอีกทางลัดที่ทำให้ธุรกิจเราพร้อมจะเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
 
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
347
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
330
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด