บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การขาย
635
2 นาที
8 สิงหาคม 2567
Triple-Code วิธีตั้งราคาทำให้ขายดีเพิ่มถึง 30%

 
การทำธุรกิจใดๆ ก็ตามย่อมคาดหวังเรื่อง “ยอดขาย” ในปัจจุบันที่ค่าครองชีพแพงทุกอย่าง สวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการก็ย่อมจะยากมากขึ้นด้วย
 
เราเห็นพ่อค้าแม่ค้าบ่นกันทุกที่ว่าตอนนี้ขายของได้น้อยลง คนไม่ค่อยจับจ่าย คนที่ลงทุนเป็นร้านขนาดใหญ่ก็บอกว่าลูกค้าน้อยลง แนะนำกันไปถึงขนาดว่าใครที่จะเริ่มสร้างธุรกิจตอนนี้ต้องคิดให้ดี เนื่องจากกำลังซื้อที่หายไปเยอะมาก หากจะทำธุรกิจจริงๆต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและควรเป็นเงินทุนของตัวเอง เผื่อไม่เป็นไปตามเป้าจะได้ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร
 
แต่เมื่อเจอปัญหาแบบนี้ก็ต้องหาวิธีแก้ไขหนักให้เป็นเบา กลยุทธ์การตลาดหลายด้านถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย ไม่ว่าจะโปรโมชันหรือการตลาดออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
 
ทีนี้ลองไปดูอีกหนึ่งทฤษฏีที่น่าสนใจเขาเรียกว่า Triple-Code Model เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่บอกว่า มนุษย์เรามีวิธีการรับรู้และประมวลผลตัวเลข อธิบายง่ายๆ คือหลักการนี้เขานำมาใช้ในการ “ตั้งราคา” ที่ทำให้คนซื้อรู้สึกว่า คุ้มค่า ราคาไม่แพง และอยากจ่ายเงินซื้อ
 
 
หลักการเบื้องต้นของ Triple-Code Model มีอยู่ 3 รูปแบบคือ
  1. Arabic Code การรับรู้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ เช่น 1, 2, 3, 4 ,5 ….
  2. Verbal Code การรับรู้ตัวเลขเป็นคำพูดเช่น หนึ่ง, สอง, สาม, สี่ , ห้า …..
  3. Analog Magnitude Code การรับรู้ตัวเลขเป็นปริมาณ เช่น “2 มากกว่า 1” หรือ “1 น้อยกว่า 2”
ความน่าสนใจของหลักการนี้คือโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้มากถึง 30% เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเป็นหลักการที่นำไปใช้ในการตั้งราคาที่เป็นเหมือนการ “หลอกสมอง” ทำให้คนซื้อพึงพอใจและรู้สึกว่าสินค้าคุ้มค่า ราคาไม่แพง ซึ่งมีการนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายวิธีเช่น

  • การจัดโปรโมชัน 1 แถม 1 (ใช้หลักการของ Analog Magnitude Code) ใช้ประโยชน์จากสมองที่รับรู้ตัวเลขเป็นปริมาณ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าดีลนี้คุ้มค่า
  • การตั้งราคาให้อ่านและคิดตามได้ง่าย (ใช้หลักการของ Verbal Code) เช่น ร้านทุกอย่าง 20 ที่คนอ่านจะเข้าใจและคิดตามได้ทันทีว่าถ้าซื้อ 2 ชิ้นก็ ราคา 40 บาท ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ ดีกว่าการตั้งราคาที่ทำให้คนอ่านคิดตามยาก การตัดสินใจก็จะยากตามไปด้วย
  • การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 (ใช้หลักการของ Arabic Code) เพราะคนเราจะประมวลผลตัวเลขจาก ซ้าย-ไป-ขวา การกำหนดราคาให้ลงท้ายด้วยเลข 9 ก็เพื่อดึงตัวเลขหน่วยข้างหน้าให้ต่ำลง เช่น กระเพราจานละ 49 บาท , ชานมไข่มุกแก้วละ 19 บาท แม้เป็นตัวเลขแค่หน่วยเดียวแต่มีผลต่อความรู้สึกของลูกค้ามาก

อย่างไรก็ดีกลยุทธ์ในการตั้งราคานั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจเป็นผู้กำหนดก็ต้องดูปัจจัยแวดล้อมหลายด้านมาประกอบกันเช่น
  • Customer Value–Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘มุมมองของลูกค้า’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก การรับรู้ถึงคุณค่าในสินค้าหรือบริการของลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญในการตั้งราคา
  • Cost-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘ต้นทุน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการขาย นำมาบวกเพิ่มกับอัตราผลตอบแทนหรือกำไรที่ต้องการในจำนวนที่สามารถครอบคลุมการทำงานและความเสี่ยงต่างๆ ของบริษัทได้
  • Competition-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘การแข่งขัน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก กลยุทธ์ ต้นทุน ราคา และข้อเสนอของคู่แข่ง

ในโลกของธุรกิจการแข่งขันมีสูง และมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่หากธุรกิจไม่คิดให้รอบคอบไม่วางแผนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะถูกแชร์ส่วนแบ่งการตลาดก็เป็นไปได้มาก ยิ่งถูกแชร์มาก รายได้ก็ยิ่งน้อย เมื่อรายได้น้อยก็ไปสัมพันธ์กับต้นทุนที่จะแบกรับไม่ไหว ดังจะเห็นได้จากการปิดตัวของหลายธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนภาพของโลกธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างชัดเจนที่สุด
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
346
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
330
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด