บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.2K
3 นาที
15 กรกฎาคม 2565
20 คุณสมบัติของธุรกิจที่น่าทำแฟรนไชส์
 

เจ้าของธุรกิจที่อยากรวยด้วยการขายแฟรนไชส์ ก่อนอื่นต้องทำการเช็คลิสต์ธุรกิจของตัวเองอย่างละเอียดว่ามีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งขาดตกไปหรือไม่ หากขาดต้องทำการปรุงแก้ไข เพื่อให้ธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์ไปมีการดำเนินงานที่ราบรื่น สร้างความสำเร็จให้ทั้งเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ถ้าถามว่าธุรกิจที่เหมาะสำหรับขายแฟรนไชส์ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ 
 
1.ธุรกิจยังดำเนินกิจการอยู่
 

ธุรกิจที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสินค้าและบริการ รวมถึงไม่มีที่อยู่และสถานที่ตั้งแน่นอน ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะอาจเป็นการเข้าข่ายหลอกลวง หรือแชร์ลูกโซ่ ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีหน้าร้าน มีสินค้า และดำเนินกิจการอยู่จริงๆ 
 
2.ธุรกิจมีสินค้าและบริการดี
 
สินค้าและบริการดี มีคุณภาพมาตรฐาน รสชาติอร่อย ตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง จะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เหมือนแฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาว หรือ 7-Eleven แม้จะเปิดสาขาต่างพื้นที่แต่สินค้าตอบโจทย์ จึงทำให้มีคนสนใจแฟรนไชส์
 
3.ธุรกิจมีตราสินค้าและบริการ
 

ธุรกิจที่ไม่มีโลกโก้หรือตราสินค้าไม่ควรที่จะนำมาขายแฟรนไชส์ เพราะหากสินค้าและบริการของคุณขายดี ธุรกิจมีการเติบโต อาจถูกคนอื่นลอกเลียนแบบได้ หรือนำตราสินค้าไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน ทำให้คุณเสียเปรียบได้
 
4.ธุรกิจมียอดขายและกำไร
 
ธุรกิจที่มียอดขายดี กำไรงาม ไม่ขาดทุน จะดึงดูดให้คนสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้มากขึ้น ซึ่งกำไรอย่างน้อยต้องมากกว่า 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน หากกำไรต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ธุรกิจอาจไปไม่รอด เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปอาจรู้สึกว่าไม่เจริญก้าวหน้า
 
5.ธุรกิจไม่เป็นกระแส วงจรสั้น
 

ธุรกิจที่เป็นกระแส หรือสินค้ากระแส วงจรสั้นๆ มาเร็วมักจะไปไว เหมือนเช่นกรณีของโรตีบอยถือเป็นสินค้ากระแสในช่วงแรกๆ คนอยากกินต้องต่อคิวเป็นชั่วโมง แต่เวลาผ่านไปไม่นาน ไปไม่รอด เพราะมีแบรนด์อื่นๆ ทำออกมาได้ดีกว่า
 
6.ธุรกิจดำเนินกิจการหลายปี
 
ธุรกิจที่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ต้องมีการดำเนินงานมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปี เพราะจะทำให้คุณมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและมีความแม่นยำในระบบการจัดการธุรกิจ อีกทั้งยังทำให้รู้ว่าการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
  
7.ธุรกิจมีระบบการจัดการดี
 

ไม่ว่าระบบบัญชี การชำระเงิน ระบบจัดซื้อ ระบบการขาย ระบบสต็อกสินค้า ระบบวางแผนการผลิต ระบบการขนส่ง ซึ่งระบบการทำงานเหล่านี้จะต้องไม่ซับซ้อน ล่าช้า และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด แต่ละสาขาต้องมีมาตรฐานเดียวกัน 
 
8.ธุรกิจมีสาขามากกว่า 1 แห่ง
 
ธุรกิจที่มีสาขามากกว่า 1 แห่งจะช่วยให้คุณได้รู้ว่ายอดขายและกำไรของแต่ละสาขามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งขยายสาขาเองเยอะยิ่งดี ถ้าแต่ละสาขามียอดขายและกำไรไม่ต่างกันมาก คุณก็จะการันตีกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ว่าซื้อไปแล้วสำเร็จแน่นอน 
 
9.ธุรกิจเปิดสาขาพื้นที่ต่างกัน
 

หากธุรกิจคุณมี 3 สาขา แต่ละสาขาจะต้องเปิดร้านในพื้นที่ต่างกัน เช่น สาขาแรกใต้ตึก สาขาที่สองปั้มน้ำมัน สาขาที่สามหน้าหมู่บ้าน เพื่อจะดูว่าแต่ละสาขามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจะทำให้คุณมีประสบการณ์และทักษะในการหามาตรการแก้ปัญหาและบริการจัดการร้านในแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ปฏิบัติตาม 
 
10.ธุรกิจถ่ายทอดระบบได้ง่าย
 
ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องถ่ายทอดระบบ ขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่เจ้าของแฟรนไชส์ทำเป็นแต่เพียงผู้เดียว หากคิดว่าธุรกิจสอนให้คนทำแบบตัวเองไม่ได้ก็ไม่เหมาะทำแฟรนไชส์ 
 
11.ธุรกิจไม่ได้ใช้พรสวรรค์
 

ธุรกิจที่เป็นพรสวรรค์สำหรับเจ้าของกิจการ หรือธุรกิจที่เจ้าของกิจการทำได้เพียงคนเดียว ไม่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์อย่างแน่นอน เพราะระบบแฟรนไชส์ต้องถ่ายทอดการทำงานหรือระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ 
 
12.ธุรกิจลอกเลียนแบบได้ยาก
 
แม้ว่าธุรกิจของคุณจะขายดิบขายดี ได้รับความนิยมจากลูกค้า แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกค้าที่มาซื้อจากร้านของคุณ กลับไปทำแบบเดียวกัน และมาเปิดร้านใกล้ๆ กัน หากรสชาติดีกว่าหรือไม่ต่างกัน คุณก็จะต้องมีคู่แข่ง และธุรกิจอาจอยู่ได้ไม่นาน
 
13.ธุรกิจมีจุดเด่นและแตกต่าง
 

ถ้าคุณเปิดร้านขายข้าวมันไก่อยู่ในพื้นที่ที่มีคู่แข่งอีก 2-3 ร้าน หากร้านของคุณขายดีกว่า 3 ร้านในพื้นที่เดียวกัน แสดงว่าร้านของคุณมีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งแล้ว อาจเป็นเพราะรสชาติอร่อยที่ไม่เหมือนใคร อีกทั้งราคาไม่แพง 
 
14.ธุรกิจมีรูปแบบหรือโมเดลร้าน
 
ธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ต้องมีระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะรูปแบบหรือโมเดลของร้านจะต้องเหมือนกัน ตกแต่งเหมือนกัน ขนาดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคีออส เคาน์เตอร์ รถเข็น หรือร้านเต็มรูปแบบ 
 
15.ธุรกิจมีฐานกลุ่มลูกค้าชัดเจน
 

ธุรกิจที่เหมาะทำแฟรนไชส์ควรมีฐานกลุ่มลุกค้าแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา วัยรุ่น วัยทำงาน หรือจะเป็นเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย หรือธุรกิจนั้นสามารถใช้บริการได้ทุกเพศทุกวัย หรือจะเป็นกลุ่มลูกค้าคนไทย หรือต่างชาติ 
 
16.ธุรกิจมีแบรนด์เป็นที่รู้จัก
 
นอกจากตราสินค้าจะเป็นที่รู้จักแล้ว ก่อนทำแฟรนไชส์แบรนด์ธุรกิจก็จะต้องมีความแข็งแกร่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ยิ่งแบรนด์ไหนคนรู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะขายแฟรนไชส์ เหมือนกรณี เคเอฟซี แมคโดนัลด์
 
17.ธุรกิจมีการแข่งขันไม่สูง
 

ธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อย สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์ แต่ถ้าธุรกิจของคุณมีร้านค้าประเภทเดียวกันจำนวนมาก ไม่เหมาะทำแฟรนไชส์ เพราะอาจอยู่ได้ไม่ยืนยาว ถ้าร้านของคุณไม่มีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน สังเกตหรือไม่ว่าในตอนนี้ร้านชาราคาเดียว 25 บาท แทบจะไม่มีให้เห็นเกลื่อนตาแล้ว 
 
18.ธุรกิจมีทีมงานและบุคลากร
 
ธุรกิจของคุณหากจะทำแฟรนไชส์ควรมีทีมงานหรือบุคลากรอย่างน้อย 2-3 คนในช่วงเริ่มแรก เพราะทีมงานเหล่านี้อาจจำเป็นต้องเข้าคอร์สอบรมเรื่องแฟรนไชส์พร้อมๆ กับคุณ เพื่อที่จะสามารถทำงานหรือบริการจัดการภายในร้านแทนคุณได้ รวมถึงเมื่อขายแฟรไชส์ได้แล้วอาจจะต้องใช้ทีมงานเหล่านี้ ออกไปฝึกอบรมการทำงานให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ 
 
19.ธุรกิจมีระบบจัดส่งแข็งแกร่ง
 

ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อยหากคุณคิดจะนำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะคุณจะต้องจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับสาขาแฟรนไชส์แต่ละสาขา หากธุรกิจคุณขายดีมีสาขาทั่วประเทศ ยิ่งจะต้องมีระบบการขนส่งที่แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพ สามารถจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขาทั่วประเทศได้ทันเวลา 
 
20.ธุรกิจลงทุนไม่สูงเกินไป
 
ธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ไทยแท้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดไม่เกิน 2-3 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าแฟรนไขส์แรกเข้า ค่าออกแบบตกแต่งร้าน และอื่นๆ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้จะมีระบบต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา ส่วนแฟรนไชส์ลงทุนต่ำหลักพัน หลักหมื่น คืนทุนเร็ว พอซื้อแฟรนไชส์ไปทำได้สักพักก็ไปไม่รอด เพราะได้กำไรน้อย บางครั้งสินค้าและบริการมีคู่แข่งมากมาย
 
นั่นคือ 20 คุณสมบัติของธุรกิจที่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ ใครที่อยากจะขายแฟรนไชส์ลองเช็คลิสต์ธุรกิจของตัวเองให้ดีก่อนว่า มีคุณสมบัติขาดไปข้อไหนบ้าง หากขาดต้องรีบแก้ไขจัดการ หรืออาจหาที่ปรึกษามาช่วยเหลือก็ได้ครับ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. ธุรกิจยังดำเนินกิจการอยู่
  2. ธุรกิจมีสินค้าและบริการดี
  3. ธุรกิจมีตราสินค้าและบริการ
  4. ธุรกิจมียอดขายและกำไร
  5. ธุรกิจไม่เป็นกระแส วงจรสั้น
  6. ธุรกิจดำเนินกิจการหลายปี
  7. ธุรกิจมีระบบการจัดการดี
  8. ธุรกิจมีสาขามากกว่า 1 แห่ง
  9. ธุรกิจเปิดสาขาพื้นที่ต่างกัน
  10. ธุรกิจถ่ายทอดระบบได้ง่าย
  11. ธุรกิจไม่ได้ใช้พรสวรรค์
  12. ธุรกิจลอกเลียนแบบได้ยาก
  13. ธุรกิจมีจุดเด่นและแตกต่าง
  14. ธุรกิจมีรูปแบบหรือโมเดลร้าน
  15. ธุรกิจมีฐานกลุ่มลูกค้าชัดเจน
  16. ธุรกิจมีแบรนด์เป็นที่รู้จัก
  17. ธุรกิจมีการแข่งขันไม่สูง
  18. ธุรกิจมีทีมงานและบุคลากร
  19. ธุรกิจมีระบบจัดส่งแข็งแกร่ง
  20. ธุรกิจลงทุนไม่สูงเกินไป
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
6,062
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
850
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
519
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
494
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
486
แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่..
476
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด