บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.9K
1 นาที
9 ธันวาคม 2557
รายงานข่าวเศรษฐกิจของกัมพูชาของเดือนเมษายน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญได้รายงานข่าวความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๖
สรุปได้ ดังนี้

หนังสือพิมพ์ภายในประเทศหลายฉบับ รายงานการขยายตัวของสินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงพนมเปญที่เชื่อมโยงต่อไปยังเวียดนาม รวมถึงท่าเรืออื่น ๆ ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลายฝ่ายมองว่ามีสาเหตุจากการส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละร้อยในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ กอปรกับการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน อย่างเช่น น้ำมันเชื้อเพลิง และวัสดุก่อสร้าง

ภาพรวมการส่งออกของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๒๑ โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มของสินค้าเกษตร และเสื้อผ้า ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ The Phnom Penh Post รายงานการปรับตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาจากร้อยละ ๖.๗ เป็นร้อยละ ๗.๐ เนื่องจากภาคการเกษตร    การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยจะยังสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ ๓ ได้ ทั้งนี้ World Bank ยังคงกังวลต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ร้อยละ ๒๙.๒ ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะที่ผ่านมาส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกไปยังกัมพูชา โดยลดลงร้อยละ ๔ ในขณะที่กัมพูชานำเข้าเพิ่มจากไทยร้อยละ ๑๙ รวมมูลค่าการค้าระหว่างกันในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๖ อยู่ที่ ๑.๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ ๒.๕

ในด้านของเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชาและต่างประเทศนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศกัมพูชาได้อ้างอิงข่าวสารนิเทศจากกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการลงนามความตกลงระหว่างฟิลิปปินส์และกัมพูชา เพื่อเป็นการเปิดทางให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหารของฟิลิปปินส์สามารถนำเข้าข้าวจากกัมพูชาในระยะเวลา ๒ ปีข้างหน้าผ่านบริษัท Green Trade ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาและทำหน้าที่คล้ายกับองค์การคลังสินค้า

ในขณะที่ มีการหารือระหว่างกัมพูชาและลาว เกี่ยวกับความเห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้ากัมพูชา-ลาว เพื่อเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างทั้งสองประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีมูลค่าเพียง ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ กัมพูชาเพิ่งรายงานแผนการเปิดโรงงานผลิตภัณฑ์นมแห่งแรก ภายใต้ชื่อ Dairy Products ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนจากเวียดนาม คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปลายปี ๒๕๕๗

รัฐบาลชุดปัจจุบันของกัมพูชาให้ความสำคัญกับการปลูกยางพารา โดยกำหนดให้เป็นสินค้ายุทธศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของประเทศ นอกเหนือไปจากข้าว โดยเกษตรกรจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป อย่างไรก็ดี ราคายางภายในประเทศตกต่ำลงมาก ถึงแม้กัมพูชาจะสามารถส่งออกได้มากขึ้นถึงร้อยละ ๑๗ แต่กลับมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๐.๕

อ้างอิงจาก กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด