บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การตลาดออนไลน์ SEO
1.4K
1 นาที
28 สิงหาคม 2562
ค้าขายออนไลน์จากนี้ไปต้องทำอะไรบ้าง
 

ภาพจาก  pixabay.com

นอกจากต้องเตรียมตัวรับมือกับภาษีอีคอมเมิร์ซในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นความโกลาหลกันอย่างแน่นอน เพราะเรียกว่าในทางปฏิบัติยังเป็นของใหม่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่ไปแล้วที่จะถูกนำมาใช้จริง โดยสถาบันการเงินจะรวบรวมจำนวนเงินการโอนทั้งเข้าและออกในบัญชี หรือจำนวนครั้งต่อหนึ่งธนาคาร ฯลฯ นำส่งแก่กรมสรรพากรตามกฎหมาย 
 
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือน่าจะมีคนทั้งแบบโวยวายแล้วไปปรับตัวทำให้ถูกต้อง บางคนอาจไปเปิดเป็นบริษัทซะให้สิ้นเรื่อง หรือจะมีคนที่แบบโวยวายแล้วก็หลบเลี่ยงหรือเลิกไปเลยก็น่าจะมี หากมองในแง่ดีจะได้มีการเริ่มวางแผนการจัดการภาษีที่เป็นระบบอย่างถูกต้อง เพราะหลายคนเองก็อยากจะทำให้มันดี ยิ่งทุกวันนี้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเหลือในการทำบัญชีมากมายเต็มไปหมด 
 
คนทำธุรกิจในมุมออนไลน์จากนี้ถึงถึงสิ้นปีควรต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร
 
1. พึ่งแพลตฟอร์มเดียวไม่ได้


ภาพจาก  pixabay.com
 

ข้อมูลจาก ETDA การซื้อขายอีคอมเมิร์ซไปกระจุกตัวอยู่ที่โซเชียลมีเดียถึง 40% อยู่ที่มาร์เก็ตเพลส 30% และส่วนที่เหลืออยู่ในเว็บไซต์ของตน
 
ที่ผ่านมาบางมาร์เก็ตเพลสเริ่มมีการเก็บค่าคอมมิชชั่นแล้ว จากที่เมื่อก่อนไม่มีการเก็บเงินค่าใช้จ่ายใด ๆ  ที่เห็นคือ shopee มีการเก็บค่าคอมมิชชั่นแล้ว สำหรับ Lazada เท่าที่ได้คุยมานั้น ในฝั่งมาร์เก็ตเพลสยังไม่มีนโยบายเก็บค่าคอมมิชชั่นเพราะรูปแบบที่เป็นต้นแบบในจีนคือ Taobao ทุกอย่างยังขายฟรี ไม่เก็บค่าคอมมิชชั่น 
 
แต่สำหรับ LazMall ซึ่งเป็นช้อปปิ้งมอลล์ หรือต้นแบบในเมืองจีนคือ Tmall มีการเก็บค่าคอมมิชชั่น เพราะแบรนด์ต่าง ๆ สามารถจ่ายค่าคอมมิชชั่นได้อยู่แล้ว เพราะสมัยก่อนแบรนด์ยังต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นหรือค่าวางสินค้าตามดีพาร์ทเมนต์สโตร์อย่างต่ำก็ 25-40%  แต่เมื่อมาอยู่ในออนไลน์ที่มีค่า fee ที่ต่ำกว่ามากทำให้แบรนด์มีต้นทุนที่ต่ำลงกว่าเดิม 
 
การขายในมาร์เก็ตเพลสของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่ไม่มีการเก็บคอมมิชชั่นตามโมเดล C2C ก็เพราะรายได้ของเขาจะมาจากการโฆษณาเป็นหลัก Lazada ประเทศไทยน่าจะกำลังทำในลักษณะเช่นเดียวกับ Taobao จะเห็นได้ชัดว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
 
แม้แต่การขายในโซเชียลคอมเมิร์ซก็มีการเปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน จากที่คิดว่าการไลฟ์ขายของในเฟซบุ๊กจะสามารถเข้าถึงคนได้มาก แต่กลับเป็นว่ามีอัตราการเข้าถึงคนต่ำลง นี่แหละครับความน่ากลัวของการพึ่งแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งมากเกินไป
 
2. ต้องเริ่มบาลานซ์พอร์ต


ภาพจาก  pixabay.com

ต้องวางสัดส่วนว่าจะไปช่องทางใดบ้าง แค่ช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ได้อีกแล้ว หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นมาเราไม่สามารถควบคุมได้เองทั้งหมด เป็นอันตรายต่อธุรกิจ มีความเสี่ยงสูง รายได้อาจลดลงทันที 
 
จากนี้ไปควรต้องมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเป็นของตัวเองโดยไม่พึ่งจากแพลตฟอร์มอื่น และต้องมีการทำการตลาดกับลูกค้าของเราเองโดยไม่ผ่านมาร์เก็ตเพลสหรือโซเชียลมีเดีย การมีช่องทางของตัวเอง มีข้อมูลของตัวเองคือการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กัยธุรกิจของคุณ เพราะคุณจะเป็นคนที่บริหารจัดการได้เองทั้งหมดจริง ๆ
 
ต้องเริ่มแล้วครับ ทั้งหมดที่กล่าวมา การเริ่มต้นอาจไม่ง่ายแต่เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของคุณ ถ้าเริ่มเร็วคุณก็จะรอดเร็วด้วยเช่นกัน
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด