บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
1 นาที
10 พฤษภาคม 2562
การเขียน Business Plan อย่างง่าย (สำหรับผู้เริ่มต้น)
 

ภาพจาก https://pixabay.com

บทความวันนี้อยากจะเล่าเรื่องของ Business Plan กันหน่อยนะครับ จากหน้าสารบัญ ก่อนเข้าบทที่ 1 จะเป็นหัวข้อ บทสรุปผู้บริหาร
 
แท้จริงแล้วจะต้องทำลำดับสุดท้ายเลยนะครับ เพราะชื่อบอกชัดอยู่แล้วว่า บทสรุป เราต้องตั้งหลักก่อนเขียนนะครับ ว่าใครจะอ่านบทนี้ของเรากันแน่ เสมือนเกร็งข้อสอบ อย่าแค่เขียนให้ครบ ข้อนี้สำคัญนะครับ
 
ผู้จัดการแบงค์ นักลงทุน ก็อยู่ที่โจทย์แล้วว่าเราทำ Business Plan นี้เพื่ออะไร ถ้าเพื่อกู้แบงค์ก็เขียนให้แบงค์เชื่อว่า โครงการนี้สามารถหารายได้ส่งดอกเบี้ยให้กำไรกับแบงค์ได้แน่นอน สามารถผ่านจนคบถ้วนเงินกู้ทั้งหมด
 
แต่ถ้าเขียน เพื่อนำเสนอขอทุนประมาณประกวดฯ ก็เขียนฝัน เขียนแรงบันดาลใจเยอะหน่อย เพื่อกรรมการอ่านแล้วจะได้อินกับโครงการว่ามันอาจจะทำได้หรือไม่ได้ไม่ได้มีผลผูกพันธ์กับทางกรรมการตัดสิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงการนั้นๆด้วยว่าให้ทุนประเภทไหน


ภาพจาก https://pixabay.com
 
แต่ถ้าเขียน เพื่อหานายทุน อาจจะต้องละเอียดมากหน่อยนะครับ เพราะเขาจะต้องดูทุกบทประกอบและบทที่มีความสำคัญ คือ Financial Plan และ Risk Management ในการวางกลยุทธ์จากความเสี่ยงด้านต่างๆ โดยบทสรุปผู้บริการจะต้องชี้ ความคุ้มค่าด้านการลงทุน ที่มี IRR สูง
 
เพราะนักลงทุนต้องการกำไรและขั้นตอนดำเนินธุรกิจทั้งหมดที่จะต้องสรุปถึงความเป็นไปได้ของโครงการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน และจะต้องตอบคำถามที่จะต้องมีมากมายในแผนที่เรานำเสนอทั้งหมด ก่อนที่ผู้บริหารจะตอบตกลงร่วมลงทุนกับเรา
 
การเขียนสรุปจึงควรเขียนกระซับให้เห็นถึงตลาดที่จะมีเติบโต เติบโตเท่าไรจากที่ผ่านๆมาย้อนหลังประกอบข้อมูลและโอกาสที่เราจะสามารถเข้าถึงส่วนแบ่งการตลาดได้จริง
 
สุดท้ายมันต้องตอบโจทย์ด้านกำไรและผลตอบแทนที่น่าสนใจกับเม็ดเงินที่ลงทุน รวมถึงสัดส่วนที่เป็นธรรมของทุกฝ่ายเพือป้องกันการคัดแย่งหรือผลประโยชน์ หลายองค์กรยังไม่ได้เริ่ม ก็เริ่มส่อแววว่าโครงการจะล้มก่อนจะเริ่มก็มีให้เห็นมาแล้วมากมายนะครับ
 
Business Plan ส่วนใหญ่ก็จะมีประมาณ 10 กว่าบท ในแต่ละบทก็จะมีความสำคัญๆ ตามลำดับของมันอยู่แล้ว


ภาพจาก https://pixabay.com
 
อย่างในบทที่ 1 Company Profile เป็นบทแนะนำองค์กรของเราที่จะต้องแสดงวิสัยทัศน์

Vision / Mission / Promise ขององค์กรเราก่อน รวมถึงแสดงความเชี่ยวชาญ Professional ขององค์กรเราให้ชัดให้น่าประทับ ให้น่าสนใจที่อยากจะอ่านบทต่อไปให้ได้
 
บทที่ 2 จะพูดภาพกว้างๆของตลาดที่เราสนใจ โดยการใช้เครื่องมืออย่าง PESTEL MODEL

มาวิเคราะห์จาก Outside In จะได้เห็นว่า องค์กรเราอยู่จุดไหนของตลาดที่เรากำลังจะลงไปแข่งขัน หรืออาจจะเป็นตลาดใหม่ เป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจทีาจะลงทุน บทนี้ก็มีความสำคัญประมาณนี้นะครับ
 
บทที่ 3 Market Entry คือ ภาพเริ่มชัดมากขึ้นในการนำคู่แข่งขันในตลาดมาจัดกลุ่มว่ามีขนาดมากน้อยเท่าไร
 
เรามีโอกาสจะเข้าตลาดกลุ่มไหน ด้วยกลยุทธ์อะไร การนำเสนอแต่ละบทจะสอดคล้องกันผู้เรียบเรียงต้องพยายามเขียนพรรณนาให้ไปทิศทางเดียวกันกับ Core Business ของเราด้วยนะครับ 
 
ถ้าอ่านแล้วไม่ตรงกับความรู้ความสามารถเรา เรามีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร ก็ต้องนำเสนอด้วย ไม่ต้องรอให้ถามนะครับ
 
วันนี้ทิ้งไว้ 3 บทเท่านี้ก่อนนะครับ ติดตามบทต่อไปในบทความถัดๆไปนะครับ
 
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
501
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
353
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
351
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
341
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
336
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด