บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.3K
3 นาที
21 มีนาคม 2562
ข้อดีและข้อเสียของการขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์


อาจจะเป็นที่ใฝ่ฝันของนักธุรกิจหลายๆคน ที่อยากจะเป็นเจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ เสียเอง บางคนอาจจะเข้าใจผิดไปว่า การเป็นแฟรนไชส์ซอร์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากและจะสามารถทำให้ธุรกิจของตนเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นจริงเลยทั้งสองประการ ดังจะได้กล่าวต่อไป

สำหรับประเทศไทยแล้ว ที่กฎหมายมักจะออกมาไม่ทันการณ์ ธุรกิจหลายประเภทมีการขยายกิจการไปมากมายแล้ว อาทิเช่น ทุกกิจหอพักหรืออพาร์ตเม้นท์ให้เช่า ที่เปิดให้บริการกันเป็นยิ่งกว่าดอกเห็ดมานานแล้ว ก็เพิ่งมีกฎหมายและระเบียบออกมาควบคุม จนทำให้ผู้ประกอบการรายเดิม ๆ แม้กระทั่งผู้ที่ลงทุนใหม่ประกาศขายกิจการกันมากมาย

และแม้กระทั่งธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการขยายตัวอย่างมากในรอบสิบปีที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ (พรบ.ยังไม่ผ่านสภาฯ) มีแต่เพียงสมาคมผู้ประกอบกิจการนี้ที่มาช่วยกันดูแลและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ทำกันไปตามแต่รูปแบบที่แฟรนไชส์ซอร์แต่ละรายคิดค้นขึ้นเองและถนัด
 
ข้อดีของการขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์


ในการขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์ ไม่เพียงแต่เสมือนกับว่าได้แฟรนไชส์ซีเข้ามาช่วยลงทุนเท่านั้น ยังได้ประโยชน์ทางอ้อมอื่น ๆ อีกมาก ดังเช่น

1.ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องคนทำงานมาก

เป็นที่ยอมรับกันในนักธุรกิจไทยว่า ปัญหาสำคัญหนึ่งของการทำธุรกิจคือ การไม่สามารถจัดหาบุคคลากรที่ตรงกับความต้องการได้ทัน ยิ่งหากมีการขยายกิจการมากก็ยิ่งมีปัญหานี้มาก ดังนั้น หากขยายกิจการด้วยระบบแฟรนไชส์ ก็เท่ากับแฟรนไชส์ซีจะเป็นผู้หาคนเข้ามาทำงาน เพียงแต่ต้องอาศํยแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ฝึกอบรมให้เท่านั้น

2.ทำเลการค้าอยู่ที่ผู้ขอรับสิทธิ์ (Franchisee)

การขายแฟรนไชส์ทำให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถขยายกิจการไปยังแหล่งอื่นๆ อย่างรวดเร็ว แฟรนไชส์ซอร์เพียงแต่พิจารณาความเหมาะสมของทำเลเท่านั้น หากอยู่ในแผนงานการตลาดก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องออกไปหาทำเลหรือไปลงทุนซื้อหรือเช่าที่ดิน

3.ช่องว่างในการจัดจำหน่าย/การตลาดของธุรกิจเพิ่มขึ้น


คือได้ช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ บางครั้งก็สามารถเข้าไปในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างจากเดิมด้วย เช่น หากผู้ซื้อแฟรนไชน์อยู่ในธุรกิจรีสอร์ทหรือโรงแรม ก็เท่ากับว่าธุรกิจของเราสามารถเข้าไปขายลูกค้านักท่องเที่ยวได้ด้วย ทั้งที่ปกติแล้วจะทำแทบไม่ได้เลย

4. Program ของธุรกิจการค้าระบบสาขา

สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจในระดับประเทศได้ เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากในปัจจุบัน ได้ลงทุนในโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ เมื่อมีการขายแฟรนไชส์ก็สามารถนำโปรแกรมเหล่านี้มาทำงานเพิ่มได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพียงเล็กน้อย ทั้งที่การพัฒนาโปรแกรมในทีแรกอาจจะลงทุนไปมากมาย

5.มีการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้

เมื่อมีการขยายธุรกิจ ฝ่ายการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ก็มักจะคิดค้นสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ

6.การขยายตัวของธุรกิจทำได้รวดเร็วและมีกำไรพอควร


ธุรกิจทุกประเภทจะมีจุดคุ้มทุน (Break Even Point) ที่แตกต่างกัน บางครั้งหากขยายตัวช้าก็ไม่สามารถบรรจุถึงจุดคุ้มทุนได้ แต่พอขยายกิจการผ่านแฟรนไชส์ซีอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนและเริ่มทำกำไรได้ง่ายขึ้น

7.มีโอกาสได้ผู้บริหาร (ผู้ซื้อสิทธิ์ Franchise)

ที่ดีในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งโดยปกติแล้วแฟรนไชส์ซอร์จะไม่สามารถขยายกิจการและบริหารดูแลให้ดีได้ หากร้านค้าสาขาอยู่ห่างไกลมาก เพราะยากต่อการควบคุมดูแล การได้แฟรนไชส์ซีในท้องถิ่นห่างไกล ที่มีผู้ลงทุนและผู้บริหารที่ดี เสมือนกับว่าได้ผู้บริหารที่ดีของแฟรนไชส์ซีเหล่านั้นมาช่วยงานขยายธุรกิจฟรี ๆ

8.อาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านของระบบธุรกิจไม่มากนัก
 

เพราะจะเน้นการพัฒนา Know-How และการวางระบบ เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับการขยายกิจการเอง ทำให้มีเวลาเหลือไปใช้ในการพัฒนาความรู้ตลอดจนระบบงานของธุรกิจ งานพัฒนาจึงมีมากขึ้นแทนที่จะทำแต่งานแก้ไขปัญหาในร้านของตนเองหลาย ๆ จุด

9.ธุรกิจมีรายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการลงทุนด้วยตนเอง

คือประหยัดการลงทุน และมิหนำซ้ำยังได้รายได้จากค่าแฟรนไชส์ฟี และค่าธรรมเนียมอื่นๆอีกด้วย

10.การทุ่มเทให้กับธุรกิจจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อสิทธิ์(Franchisee)


เพราะต้องลงทุนเอง นั่นคือลดภาระไปอย่างมากให้แก่แฟรนไชส์ซอร์

11.มีกำลัง/พลังในการจัดซื้อมาก

มีกำลังในการจัดซื้อจากจำนวนการขายที่เพิ่มมากขึ้น และแฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบผ่านแฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อสูงขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยของแฟรนไชส์ซอร์ก็จะถูกลง

12.ผู้ซื้อสิทธิ์ (Franchisee) เป็นคนท้องถิ่น

รู้จักตลาดเป็นอย่างดี การที่แฟรนไชส์ซีเป็นคนท้องถิ่น ย่อมจะรู้จักลูกค้าตลอดสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในตลาดท้องถิ่นมากกว่า และมักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมหรือผู้หลักผู้ใหญ่ในท้องถิ่น ย่อมดีกว่าการที่แฟรนไชส์ซอร์ไปลงทุนเองแล้วเป็นพ่อค้าแปลกถิ่นในที่นั่น ซึ่งบางครั้งหากเข้าไปแล้วไปขัดผลประโยชน์กับพ่อค้าท้องถิ่นหรือมีข้อพิพาทที่คาดไม่ถึง ย่อมเป็นอันตรายต่อการไปลงทุนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง

ข้อเสียของการขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์

 
แม้ว่าจะมีข้อดีอยู่มากสำหรับการขยายธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์ แต่ผู้ที่คิดจะเป็น แฟรนไชส์ซอร์ก็จะต้องระวังถึงข้อเสียด้วยเช่นเดียวกัน และที่สำคัญมากก็คือ หากเริ่มมีการทำสัญญาแฟรนไชส์แม้กระทั่งเพียงหนึ่งรายแล้วก็ตาม ย่อมจะต้องปฏิบัติตามสัญญาและยอมรับในปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การจะยกเลิกสํญญาหรือหยุดการขยายแฟรนไชส์ อาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆจึงจะต้องคิดให้และตัดสินใจให้รอบคอบ

1.ไม่สามารถควบคุมเครือข่ายร้านค้าทุกอย่างได้

สัญญาอาจรัดกุมไม่เพียงพอ และถึงแม้ว่าสัญญาจะทำไว้ได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแฟรนไชส์ซอร์ก็ไม่สามารถกำกับดูแลได้ในทุกๆ เรื่องผิดกับร้านค้าสาขาของแฟรนไชส์ซอร์เอง  ที่ผู้บริหารสามารถสั่งการได้ทุกเรื่องตามนโยบายจากส่วนกลาง

2.มาตรฐานของผู้ซื้อสิทธิ์ (Franchisee) ไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน

ข้อนี้เป็นข้อควรระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเลือกแฟรนไชส์ซีได้มาตรฐานแตกต่างกันมาก การทำงานร่วมกันก็จะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไป งานที่เคยคิดว่าง่ายสำหรับแฟรนไชส์ซีหนึ่งอาจจะยุ่งยากมากสำหรับอีกรายหนึ่ง แฟรนไชส์ซอร์ที่มองการณ์ไกลจึงมักจะพยายามคัดเลือกแฟรนไชส์ซีให้ได้มาตรฐานการทำงานที่ใกล้เคียงกัน

3.หาผู้ซื้อสิทธิ์ (Franchisee) ที่ดีตามที่เราต้องการได้ไม่ง่ายทั้งหมด


รวมทั้งทำเลร้านค้าที่ต้องการ เป็นการยากที่จะโชคดีสามารถหาแฟรนไชส์ซีที่ดีทั้งหมดมาร่วมงานได้ นอกจากธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์จะมีชื่อเสียงดีมากและมีผู้สนใจลงทุนมาก

4.การขยายธุรกิจสาขาด้วยตนเองให้ผลกำไรตอบแทนมากกว่า

เป็นที่แน่นอนว่าแฟรนไชส์ซีก็ต้องแบ่งกำไรส่วนหนึ่งเป็นของตนเองไว้ด้วย ดังนั้น หากแฟรนไชส์ซอร์ต้องการกำไรทั้งหมดไว้เอง ก็จะต้องเลือกขยายธุรกิจด้วยตนเองเท่านั้น

5.ผู้ซื้อสิทธิ์ (Franchisee) อาจไม่เปิดเผยรายได้ที่แท้จริง

ในส่วนนี้ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ปัญหานี้หากระบบงานไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซอร์ขาดผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับไป

6.อาจมีความขัดแย้งกับผู้ซื้อสิทธิ์ (Franchisee)


ที่รวมตัวกันต่อรองเรื่องการจ่ายค่าสิทธิ์ (Royalty Fees) นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะพบว่า มีผู้ซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ที่ได้อาศัยเวปไซต์ต่างๆ ในการเชื้อชวนแฟรนไชส์ซีด้วยกัน ระบายปัญหาหรือรวมตัวกันเพื่อสร้างข้อต่อรองกับ แฟรนไชส์ซอร์

ตัวอย่างเช่น เวปไซต์หนึ่งที่มีการแสดงความเห็นกันมาก และประกอบด้วยผู้มีการศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าไปดูคือ www.pantip.com ที่เคยมีผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น โพสต์ความคิดเห็นในกระทู้เรื่องนี้กว่าร้อยรายในระยะเวลาเพียงสั้นๆ และมีคนเข้าไปอ่านมากมายทั่วประเทศ

7.การทำงานร่วมกันอาจเกิดความขัดแย้ง

ระหว่าง Franchisee กับ Franchisor บางครั้งผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์หรือเจ้าของแฟรนไชส์ซี กับเจ้าของแฟรนไชส์ซอร์ก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่ปรากฏว่าทีมงานบริหารหรือระดับพนักงานของทั้งสององค์กรมีความขัดแย้งกันอย่ารุนแรง จนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานมีปัญหา
  
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ตู้น้ำด่างRO SAFE ธุรกิจน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ! ติดต..
2,529
10 แฟรนไชส์ขายดี สงกรานต์ 2568
546
ไม่แก่เกิน! 60+ ลงทุนแฟรนไชส์อะไรดี?
455
จัดให้! รวม 10 แฟรนไชส์สายเครื่องดื่ม หน้าร้อนนี..
451
บุกไทยแล้ว! แฟรนไชส์ Fish With You ร้านอาหารจีนต..
429
ระวัง! แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ระเบิดเวลาที่นักลงทุนไ..
426
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด