บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
3.5K
3 นาที
5 กุมภาพันธ์ 2559
8 กฎเหล็ก SMEs ล้มยักษ์
 
ในโลกธุรกิจใครต่อใครหลายคนอาจไม่เชื่อว่าธุรกิจเล็กๆ ที่เราสร้างขึ้นมากับมือจะสามารถต่อสู้และแย่งพื้นที่มาจากธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ด้วยความเชื่อที่ว่าธุรกิจขนาดใหญ่มีความพร้อมของทรัพยากรทุกๆ อย่าง ทั้งเงินทุน บุคลากร เทคโนโลยี การตลาด แต่ถึงอย่างไรผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SMEs อย่างพึ่งท้อหรือถอดใจไป เพราะในสนามรบทางการค้าไม่แน่เสมอไปที่ผู้ชนะจะเป็นคนตัวใหญ่และมีทรัพยากรมากกว่า

เพราะวันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะมีกลยุทธ์และเคล็ดลับที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นอาวุธต่อกรกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้

อย่างถ้าใครเคยอ่านสามก๊กก็จะทราบว่า มีหลายตอนที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์หลายอย่างที่ใช้คนจำนวนน้อย สามารถเอาชนะคนจำนวนมากได้  เช่น ตอนศึกผาแดง เล่าปี่ใช้เวลาเพียงแค่ 3 วัน ในการทำลูกธนูหนึ่งแสนดอก โดยใช้คนไม่ถึง 20 คน และเอาลูกธนูเหล่านั้นมาช่วยให้ชนะสงคราม หรือสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรโจมตีเมืองคังที่ตั้งอยู่พื้นที่สูงกว่า ยังใช้กลยุทธ์คนน้อยและคล่องตัวเข้าตีโอมล้อมด้านหลังจนสามรถเอาชนะเมืองคังได้

ซึ่งข้อได้เปรียบของธุรกิจ SMEs ก็คือความคล่องตัวของผู้ประกอบการและความคิดสร้างสรรค์ ที่ไม่มีลำดับขั้นเหมือนกับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งกลยุทธ์และเทคนิคการเอาชนะองค์กรขนาดใหญ่ของ SMEs มีดังต่อไปนี้ 
 
1.รบในสมรภูมิที่ตัวเองชำนาญ

การตลาดที่ยักษ์ถนัด เราไม่ควรเข้าไปเล่นในตลาดนั้น เพราะถึงอย่างไรเราก็ไม่มีทุนพอในการต่อกรกับยักษ์ ทำได้อย่างมากก็เก็บ “เศษเนื้อข้างเขียง” ที่ยักษ์ไม่สนใจมาหล่อเลี้ยงกิจการ ถ้าเป็นเช่นนั้นให้หลีกเลี่ยงที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดียวกับยักษ์ หันมาให้ความสนใจกับกลยุทธ์ของเราที่ใช้จุดแข็งของ SMEs เป็นเครื่องมือในการแข่งขัน

เช่น ช่องทางการตลาดแบบการแสดงสินค้า หรือการตลาดแบบกองโจร ขายในตลาดนัด ยักษ์ไม่ค่อยเล่น แต่เราจะเล่น การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เช่น การสื่อสารผ่านออนไลน์พูดคุยสร้างความเป็นเพื่อน การสร้างกิจกรรมทางสังคมกับลูกค้า ซึ่ง SMEs จะทำได้ดีกว่า คล่องตัวกว่าเพราะตัดสินใจได้เร็ว หรือถ้าเราเปิดร้านกาแฟที่ขายดีในชุมชนอยู่แล้ว ก็อย่าขายไปเปิดตามห้างสรรพสินค้าต่าง เพราะเราไม่สามารถสู้แบรนด์ดังๆ ได้
 
2. บริการประทับใจมัดใจลูกค้า  

สิ่งนี้ถือเป็นไม้เด็ดของธุรกิจ SMEs เลยก็ว่าได้ เพราะว่าธุรกิจขนาดเล็กช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่า บางทีผู้ประกอบการเองก็เป็นผู้ให้บริการกับลูกค้าโดยตรง เช่น ถ้าคุณประกอบธุรกิจเสริมสวย คุณก็อาจจะใช้โอกาสในระหว่างบริการลูกค้า ในการพูดคุยสร้างความสนิทสนม หรือให้บริการที่ประทับใจเกินกว่าที่ลูกค้าคาดคิด ไม่คิดราคาแพง มีเครื่องดื่มไว้บริการฟรี หรือแม้แต่ร้านอาหารตามสั่งสามารถเอาชนะร้านอาหารหรูๆ แพงๆ ได้ เพียงแค่คุณให้บริการด้วยรอยยิ้ม ทำอาหารอร่อย หลากหลายเมนู รักษาความสะอาด บริการน้ำดื่ม น้ำสมุนไพรฟรี และถ้าบริการประทับใจลูกค้าจะเป็นบอกปากต่อปาก โดยที่เราไม่ต้องใช้เงินทุนในการโฆษณาแม้แต่บาทเดียว

3.ทำให้พอดี อย่าเยอะเกินไป หรือน้อยเกินไป

ด้วยพละกำลังแบบ SMEs จึงไม่สามารถแข่งขันในด้านการผลิตในปริมาณมากได้ ทำให้มีข้อเสียเปรียบด้านต้นทุน จึงควรคำนึงถึงจุดแข็งด้าน “คุณภาพ” ที่เราสามารถผลิตได้ตรงความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากกว่า เช่น การทำธุรกิจเครื่องสำอาง อาหารเสริม ร้านอาหาร เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีความเฉพาะเจาะจงสูงมาก เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกัน การผลิตสินค้าจำนวนมากมักไม่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ ทำได้เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่การผลิตสินค้าของ SMEs มีปริมาณน้อยกว่า สามารถผลิตได้ตามความต้องการแบบสั่งตัด สั่งทำได้ แต่อย่าให้เหลือค้างสต็อก จึงเป็นจุดแข็งที่ยักษ์ไม่สามารถเข้ามาบุกตีได้ เพียงแต่อย่าหลงประเด็นไปสู้กับยักษ์ในสิ่งที่ยักษ์ถนัด

4. ธุรกิจต้องเกิดจากแรงบันดาลใจ

SMEs คือ คนตัวเล็ก แม่ค้า พ่อขาย ที่ส่วนใหญ่เริ่มต้นค้าขายจากสิ่งที่ตัวเองถนัด หรือสิ่งที่ตัวเองรัก จุดนี้เองที่ยักษ์ไม่มี ส่วนใหญ่เริ่มจากการทำสิ่งที่ตลาดต้องการ ยักษ์จึงต้องลงทุนสูงทั้งทุนด้านเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร ทุนด้านคน ด้านบุคลากร แต่ SMEs ลงแค่ “ใจ” กับ “ทักษะ” ความถนัดของตัวเองในการเริ่มต้นธุรกิจ ใช้ทักษะความถนัดให้เต็มที่แล้วหมั่นเติมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้

5. เพิ่มแรงกดดัน สร้างพลังความสำเร็จ

คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ล้วนมีประวัติที่ยากลำบาก หรือมีความขาดแคลนในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว แรงกดดันเหล่านี้มักเป็นพลังฝังลึกอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ผลักดันตลอดเวลา ให้อึดสู้ อดทน และมุ่งมั่น ซึ่งแรงกดดันที่สร้างพลังมหาศาลเช่นนี้ จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ SMEs เอาชนะอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งมีพลังในการมุ่งมั่นต่อสู้กับยักษ์อย่างมีเป้าหมายที่ความสำเร็จ

6. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์

SMEs ควรมีกลยุทธ์การตลาดที่มีความยืดหยุ่นสูง เพราะการเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีขนาดของกิจการเล็กกว่าทำให้มีการปรับตัวได้เร็ว สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และวิธีการได้รวดเร็วทันทีทันใด โดยเฉพาะกลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบัน หลายครั้งที่ SMEs จำเป็นต้องใช้วิธีที่เป็นอุบายเข้ามาใช้มากขึ้น โดยยึดผลลัพธ์ความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายเป็นสำคัญ ตัวอย่าง การใช้ Viral Marketing ในเชิงลบเพื่อสร้างกระแสให้กับสินค้าหรือบริการบนอินเตอร์เน็ต หรือ Social Network ซึ่งตอนนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ง่าย

7. เคลื่อนกองทัพ ด้วยพลังการมีส่วนร่วม

จริงอยู่ที่ SMEs มีจำนวนผู้คนในกิจการไม่มาก ส่วนใหญ่การวางแผนเป้าหมายต่างๆ ล้วนอยู่ในมือของเจ้าของกิจการทั้งสิ้น ลูกจ้าง ลูกน้อง จึงไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน หากเราสามารถเปลี่ยนพลังเล็กๆ ของพวกเขา มาเป็นส่วนหนึ่งของพลังในการขับเคลื่อนกิจการ ความร่วมมือต่างๆ ในการทำงานจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้นอย่างมาก เพราะ SMEs จะไม่มีลำดับขั้นที่ยุ่งยากเหมือนองค์กรขนาดใหญ่ การทำงานจะคล่องตัว มีความรวดเร็ว

8. มีเครือข่ายธุรกิจและพันธมิตรที่ดี


ธุรกิจ SMEs เจ้าเดียวไม่สามารถที่จะต่อกรกับบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดได้ตามลำพัง จำเป็นที่จะต้องรวมตัวกัน สร้างเครือข่ายธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อที่จะใช้สำหรับต่อรองตลาดได้ เช่นไปซื้อสินค้าจะได้ถูกลง อีกทั้งเมื่อ SMEs เป็นพันธมิตรกันไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและผู้ขาย จะช่วยเพิ่มพลังในการกดดันบริษัทขนาดใหญ่ไม่กล้าที่จะขายสินค้าในราคาแพงได้ เพราะเครือข่าย SMEs เหล่านี้จะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าเอง

จะเห็นได้ว่าข้อได้เปรียบทางธุรกิจนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้นเล็กหรือใหญ่ แต่เป็นช่องทางที่จะทำให้คุณสร้างความแตกต่าง และมองเห็นโอกาสที่ดีๆ ที่คุณทำได้แต่อีกฝ่ายไม่สามารถทำได้ ดังนั้นถึงคุณจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ไม่ควรปล่อยให้ความกลัวเข้ามาบดบังโอกาสดีๆ ที่จะทำให้เราได้เปรียบและเอาชนะคู่แข่งได้ ค่อยๆ เรียนรู้และเดินเกมอย่างชาญฉลาดไปทีละอย่างก็จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กของเรานั้นประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

ThaiFranchiseCenter.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากลยุทธ์ธุรกิจเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณมีไอเดียในการทำธุรกิจมากขึ้น และในที่สุดธุรกิจ SMEs ของคุณจะเอาชนะยักษ์ใหญ่ได้  
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
502
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
356
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
354
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
344
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
339
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด