987
7 สิงหาคม 2562
สสว.ร่วม SMEA ไชนีส ไทเป ดันนวัตกรรม-อัตลักษณ์ท้องถิ่นเอสเอ็มอีสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
 
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)​ จับมือ Small and Medium Enterprise Administration (SMEA)​ หน่วยงานส่งเสริมเอสเอ็มอี กระทรวงเศรษฐกิจแห่งไชนีส ไทเป จัดประชุม “APEC Local Innovation Forum: Revitalize Local Development through the Networking of Innovation Ecosystem” เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสู่การส่งเสริมนวัตกรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยได้เสนอนวัตกรรมและแผนธุรกิจเพื่อเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายระหว่างกัน
 
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในการร่วมมือกับ SMEA ในการดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้กรอบเอเปก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าความไม่สมดุลหรือช่องว่างแห่งการพัฒนาระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบทเป็นความท้าทายของภูมิภาคเอเปกที่ต้องร่วมมือกันจัดการ ทั้งนี้ มากกว่า 26% ของ GDP ของเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปกส่วนใหญ่มาจากเขตเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมดุลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองเขต การสนับสนุนนวัตกรรมท้องถิ่นเพื่อการเติบโตและพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนน่าจะเป็นหนึ่งในทางแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เป็นความท้าทายในปัจจุบัน 
 
การประชุมดังกล่าวอยู่ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักเลขาธิการเอเปก ในโครงการ “APEC Local Innovation Ecosystem Initiative : Revitalization for Inclusive Growth and Sustainable Future” ซึ่งนำเสนอร่วมกันระหว่าง สสว. ในฐานะตัวแทนประเทศไทย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสหพันธรัฐรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น สนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันในภูมิภาคเอเปก และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในท้องถิ่น ทั้งนี้ ในแต่ละเขตเศรษฐกิจที่นำเสนอโครงการจะร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในประเด็นที่สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละภูมิภาค
 
อีกทั้งการประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ต่อจากการประชุมที่กรุงไทเป ไชนีส ไทเป และที่เมือง Tomosk สหพันธรัฐรัสเซีย โดย สสว. และ SMEA ไชนีส ไทเป ภายใต้คณะทำงานเอเปกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME Working Group) ร่วมเป็นเจ้าภาพ บนพื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับความท้าทายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภูมิภาคของเอเปก เกิดเป็นช่องว่างระหว่างสังคมเมืองกับชนบท 
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและการท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นนักรบทางเศรษฐกิจที่สำคัญและเข้มแข็งของไทยมาโดยตลอด รัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญผ่านการดำเนินนโยบายและมาตรการที่หลากหลายรอบด้าน ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านหัวข้อหลักในการประชุม “Inclusive Approaches to Promote Local Innovation Ecosystem to Revitalize and Transform Thai MSMEs in Food and Tourism Industry into Thailand’s Economic Warriors” ที่ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากใน และต่างประเทศ เช่น ดร.วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ ที่ปรึกษาจากสถาบันอาหาร ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโสเมืองนวัตกรรมอาหาร นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มร.ทริสทัน ลู่ ผู้อำนวยการโครงการ, ฝ่ายการวิจัย VIII, Taiwan Institute of Economic Research (TIER) ไชนีส ไทเป และ มิสแทมมี ฮู (Tammy Hu), ผู้ก่อตั้ง DOMI Energy ไชนีส ไทเป ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
 
ด้าน ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เผยว่า ในการร่วมมือทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้ต้องร่วมมือกันให้เกิดนวัตกรรมในท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย 4.0 โดยมีทั้งนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวัตถุดิบของไทย และการจ้างงาน นอกจากนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 10 ทีมทั้งใน และต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ใช้โดรนในการปลูกป่า รัสเซีย มีวัตถุดิบจากไซบีเรียแต่สามารถทำให้เกิดการส่งออกได้เป็นอย่างดี ส่วนประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ทีม โดยเน้นนวัตกรรมที่ได้แนวคิดจากศิลปะในกลุ่มชนเผ่าอาข่ามาประยุกต์ให้เกิดการขายและการส่งออก แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็ก แก้ปัญหาการหางานพาร์ตไทม์ของกลุ่มคนว่างงาน โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับพี่เลี้ยงเด็ก และสตาร์ทอัพที่นำเอาวัตถุดิบไทยมาพัฒนาเพื่อส่งเสริมการส่งออก
 
ทั้งนี้ คาดว่าปีนี้โครงการดังกล่าวจะมีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้รวบรวมได้แล้วกว่า 100 ราย รวมทั้งประเทศมาเลเซีย รัสเซีย และชิลีที่ให้ความสนใจ ส่วนผู้ประกอบการไทยสนใจเรื่องอาหาร การท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นมาร์เกตติ้งแพลตฟอร์ม ส่วนต่างประเทศจะเน้นที่แอปพลิเคชันเป็นหลัก
 
นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้วิสาหกิจเริ่มต้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและภูมิภาคเอเปกได้ร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงนวัตกรรมแผนธุรกิจและการสนับสนุนที่ได้รับจากภาครัฐ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากประเทศไทยและไชนีส ไทเป ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,167
PLAY Q by CST bright u..
1,319
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
793
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด